อำเภอลำปลายมาศ ชาวบ้านผวาซ้ำ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวถึง 5 ครั้งในห้วง 3 วัน ระบุรู้สึกสั่นสะเทือนแต่ไม่แรง ตอนแรกไม่ตื่นเต้น แต่พอรู้ว่าไหว 5 ครั้งรู้สึกไม่ปลอดภัย ขณะผู้ เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย ชี้จุดที่สั่นสะเทือนคาดว่าใต้ดินมีโพรงของเกลืออาจจะมีการเคลื่อนไหวบ้าง มั่นใจไม่รุนแรงเพราะไม่ใช่รอยเป็นรอยเลื่อนเลื่อน ไม่ใช่เป็นภัยพิบัติ มีโอกาสเกิดขึ้นอีกแต่ไม่แรงอย่างที่คิด
วันที่ 25 ก.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในเขตอำเภอลำปลายมาศ และจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะเขต ต.หินโคน และ ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ ต่างมีความรู้สึกตื่นตระหนก
หลังจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ได้พบว่ามีการสั่นสะเทือนที่ ต.หินโคน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ระดับ 2.9 ริกเตอร์เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา และมาพบว่ามีการสั่นสะเทือนที่ ต.โคกล่าม อ.ลำ ปลายมาศ ห่างจากจุดเดิมประมาณ 2 กม.เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ครั้งนี้ชาวบ้านรับรู้การสั่นสะเทือน ทำให้ชาวบ้านเริ่มแตกตื่น แต่ยังไม่หมดยังพบการสั่นสะเทือนตามมาอีกหลายครั้ง โดยสรุปมาจนถึงเช้าวันที่ 25
ก.ค. พบว่าพบมีการสั่นสะเทือนรวมแล้ว 5 ครั้งในห้วง 3 วัน ในเขตบริเวณเดียวกัน
ครั้งแรกเมื่อเวลา 14.54 น.วันที่ 22 ก.ค.พิกัด ต.หินโคน อ.ลำปลายมาศ วัดได้ 2.9 ริกเตอร์ ลึก 1 กม.พิกัด 5.073°N , 102.832°E
ครั้งที่ 2 เวลา 18.01น.วันที่ 24 ก.ค.วัดได้ 3.0 ริกเตอร์ ลึก 1 กม. พิกัด ต.โคกล่าม
อ.ลำปลายมาศ พิกัด 15.086°N , 102.831°E
ครั้งที่ 3 เวลา 18.39 น.วันที่ 24 ก.ค. พิกัด ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ วัดได้ 1.9
ริกเตอร์ ลึก 1 กม. พิกัด 5.086°N , 102.831°E
ครั้งที่ 4 เวลา 05.34 น. วันที่ 25 ก.ค. ที่ ต.หินโคน อ.ลำปลายมาศ วัดได้ 1.7
ริกเตอร์ ลึก 1 กม. พิกัด 15.054°N , 102.843°E
และครั้งที่ 5 เวลา 05.34 น. วันที่ 25 กค.67 ต.หินโคน อ.ลำปลายมาศ วัดได้ 1.7
ริกเตอร์ ลึก 1 กม. พิกัด 15.054°N , 102.843°E
นางกนก ศรีคุณ อายุ 61 ปี ชาวบ้านโนนงิ้ว หมู่ 8 ต.หินโคน อ.บ้านอยู่ใกล้พิกัดประมาณ 100 เมตร เล่าว่า ไม่รู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น หลังจากทราบข่าวจึงมาคิดย้อนหลังตอนที่ตนยืนอยู่แล้วมีการสั่นสะเทือนเหมือนรถสิ บล้อวิ่งผ่านใกล้ๆ จึงคิดว่าน่าจะเป็นอาการของแผ่นดินไหว ครั้งแรกที่ได้ยินข่าวไม่ค่อยสนใจ
แต่ตอนนี้เริ่มกลัวว่าจะรุนแรงขึ้นอีกเพราะเกิดแล้วถึง 4 ครั้ง
ด้าน ศ.ดร .สันติ ภัยหลบลี้ ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าจริงแล้วไม่ได้ตั้งใจจะมาตรวจสอบแผ่นดินไหว แต่บ้านพ่อ-แม่อยู่บริเวณนี้ จึงออกมาทำความเข้าใจให้กับชาวบ้าน
ศ.ดร.สันติ กล่าวด้วยว่า จากการที่ได้คุยกับผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ได้ข้อมูลที่มีนัยยะในทางธรณีวิทยาว่า พื้นที่แถบนี้มีลักษณะของความเค็ม คือข้างใต้น่าจะมีความเค็มอยู่บ้าง มีโอกาสที่จะเป็นโพรงอยู่บ้าง ถ้าระดับน้ำใต้ดินลดลงจนทำให้เป็นโพรง ทำให้เกิดดินทรุดตัวลงได้ ความทรุดทำให้มีโอกาสแผ่นดินไหวได้ ซึ่งแผ่นดินไหวเกิดจากการทรุดตัวของพื้นที่
สิ่งที่อยากจะย้ำต่อประชาชนว่า ถ้าเป็นแผ่นดินไหวเกิดจากการทรุดตัวของพื้นที่ไม่เป็นภัยพิบัติหรือพิบัติภัย อนาคตหลังจากนี้อาจจะเป็น 1 วันหรือเป็นอาทิตย์ก็มีโอกาสเกิดขึ้นอีกได้ แต่จะไม่แย่ขึ้นอย่างแน่นอนสบายใจได้
ทั้งนี้ชาวบ้านไม่ควรกังวนจนเกินไป ถ้ามองแล้วเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กแรงสั่นสะเทือนไม่สร้างภัยพิบัติ หรือรุนแรงกว่านี้
สำหรับจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ของภูเขาไฟ แต่เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วโอกาสที่จะเกิดจากภูเขาไฟนั้นโอกาสแทบจะกลายเป็นศูนย์ เพราะหากเกิดจากภูเขาไฟ เขาจะไม่มาเพียงเหตุการณ์เดียวคือจะมีสิ่งบ่งบอกมากกว่า 2 เหตุการณ์