สัปดาห์พระเครื่อง/ราม วัชรประดิษฐ์

"พระพุทธชินราชใบเสมา" ได้รับการยกย่องให้ บรรจุเป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคียอดขุนพล" ร่วมกับ พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน พระหูยาน และพระมเหศวร เป็นพระยอดขุนพลที่มีค่านิยมสูง และหาดู หาเช่ายากมาก  พระพุทธชินราชใบเสมา มีพุทธศิลปะเป็นแบบสุโขทัยลัทธิลังกาวงศ์ผสมผสานกับศิลปะเขมร แต่สิ่งหนึ่งที่น่าแปลกใจก็คือ พุทธลักษณะขององค์พระมีความเข้มขลังงดงาม และมีภาพรวม คล้ายองค์ "พระ พุทธชินราช" พระประธานของวัดยิ่งนัก

ชี้ตำหนิ พิมพ์ใหญ่ หน้า-หลัง

พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย

พิมพ์ใหญ่ฐานสูง

ลักษณะองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยอย่างสง่างาม บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว ผิวเนื้อ ขององค์พระจะออกสีนวลดำๆ มีคราบปรอทให้เห็นประปราย อาจพบรอยระเบิดจากภายใน ออกสู่ภายนอก สามารถแบ่งได้เป็นพิมพ์ใหญ่ฐานสูง, พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย, พิมพ์กลางฐานสูง, พิมพ์กลางฐานเตี้ย และพิมพ์ เล็กฐานสูง การแบ่งแยกเป็น "ฐานสูง" นั้น นับเนื่องจากองค์พระมีเนื้อส่วนเกินใต้ฐาน ทำให้ฐานขององค์พระ ดูสูงขึ้น พระศกแสดงอิทธิพลเขมรที่เรียกว่า "เขมรผมหวี" ชัดเจน ปลียอดพระเกศจะทะลุซุ้มในทุกองค์ พระเกศนูนเหมือนกลีบบัวสามกลีบ เมื่อใช้กล้องส่องดูจะเห็นเส้นชายจีวรพาดจากล่างพระกัประ (ข้อศอก) ไปบนพระชานุด้านซ้ายขององค์พระ  ส่วนที่ข้อพระบาทขวา จะปรากฏกำไลข้อพระบาทสองหรือสามปล้อง (แล้ว แต่ติดเต็มหรือไม่เต็ม) ดูศิลปะเฉพาะองค์ พระเป็นไปทางเดียวกับ "พระกำแพงซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร" ที่ได้รับ อิทธิพลจากลังกา นอกจากนี้ ให้ส่องดูที่ปลายพระบาทซ้ายจะเห็นนิ้วปลายพระบาทเป็นจุดใหญ่ๆ ไม่ยืดเต็ม ซึ่งอาจจะมีสอง หรือสามจุด ส่วนด้านหลังองค์พระจะเป็นหลังเรียบ มีลายผ้าละเอียดเล็กๆ เพื่อกดให้ด้าน หน้าเต็ม แม่พิมพ์ปรากฏอยู่

พิมพ์ใหญ่

พิมพ์เล็ก

พิมพ์กลาง

พระพุทธชินราชใบเสมามีการแตกกรุ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หลายต่อหลายครั้ง นอกจากนี้ ยังพบที่วัดวิหารทอง กรุลั่นทม กรุประตูชัย กรุอัฏฐารส ฯลฯ ซึ่งมีค่านิยมลดหลั่น กันตามกรุที่พบ พระเนื้อชินเงินจะพบมากที่สุด ส่วนชินเขียวและเนื้อดินเพิ่งได้รับความนิยม เล่นหากันในชั้นหลัง  อย่างไรก็ดี พระทุกพิมพ์ทุกเนื้อล้วนมีพุทธคุณเป็นเลิศครับผม