วันที่ 25 ก.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า  ที่สำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี  อ.เมือง จ.ปัตตานี มีนักจัดกิจจกรรมทั้ง9 คน ได้เดินทางมายังสำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยอับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ทนายความ, อับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อยื่นคำร้องมาขอความเป็นธรรม สั่งไม่ฟ้อง กรณีถูกรัฐดำเนินคดี 2 ข้อหา คือยุยงปลุกปั่นและข้อหาอั้งยี่ซ่องโจร มาตรา 116 ในการจัดกิจกรรมชุมนุมชุดมลายู (Melayu Raya 2022) ณ หาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งจัดขึ้นในปี 2565 โดยมีกลุ้มเยาวชน และประชาชนเดินทางมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก

โดยทั้ง9 คน ยื่นหนังสื่อในครั้งนี้ เพื่อต้องการความเป็นธรรมให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง ขอยื่นยันว่าไม่มีเจตนาที่จะกระทำ ตามที่ถูก กอ.รมน.กล่าวหา ขณะทีนักจัดกิจกรรมหลายคนก็มีความกังวล การดำเนินคดีเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง และอาจจะส่งผลต่อการพูดคุยสันติภาพหรือการพยายามสร้างสันติภาพของรัฐบาล อย่างไรก็ตามสำนวนทั้งหมดขึ้นอยู่กับอัยการต่อไปว่าจะสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง นักจัดกิจกรรมทั้ง 9 คน

ด้าน อับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ กล่าวว่า วันนี้ได้นำผู้ต้องหาทั้ง9 คน ไปรายงานตัวที่สำนักอัยการจังหวัด ซึ่งคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเป็นคดีความมั่นคงหรือไม ส่วนหนังสื่อร้องขอความเป็นธรรม เราก็ได้ทำหนังสื่อไปยังสำนักอัยการฝ่ายความมั่นคง เนื่องจากชุดที่ทำการสอบสวนคือชุดอัยการฝ่ายความมั่นคงปัตตานี หลังจากได้เข้าไปรายงานตัวแล้วก็ได้พบกับหัวหน้าฝ่ายอัยการ ซึ่งท่านรับปากว่าจะดูสำนวนให้ โดยสำนวนมีทั้งหมด 9แฟ้ม และจะให้ความเป็นธรรมผู้ต้องหาทุกคน และในครั้งต่อไปได้มีการนัดให้มาอีกครั้งที่อัยการจังหวัด ในวันที่ 28 ส.ค. 2567 เพื่อจะตรวจสอบว่าจะสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอัยการอีกครั้ง ส่วนการแจ้งขอหาเพิ่มนั้นยังไม่มี ยังคงเป็นข้อหาเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดุลพินิจของอัยการว่า หากต้องการสอบสวนเพิ่มก็อาจจะสั่งให้ไปสวนส่วนพยานเพิ่ม หรือพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ก็สั่งจะดำเนินการรวมรวมเพิ่มเติม

ทั้งนี้เชื่อมั่นกระบวนการของอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะชังน้ำหนักพยานหลักฐาน ซึ่งหวังว่าพยานหลักฐานที่เรานำมานั้นก็เพียงพอแล้วที่จะเห็นว่าเราไม่มีเจตนาที่จะกระทำตามที่ถูกกล่าวหา

ขณะที่ มูฮัมหมัดอาลาดี เด็งนิ นักกิจกรรมภาคประชาสังคม พิธีกรรายการวิเคราะห์การเมือง 1ใน9คนที่ถูกดำเนินคดี กล่าวว่า ซึ่งเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราทำนั้น เราไม่ได้มีการกระทำความผิดอย่างที่ถูกกล่าวหา ยื่นยันว่าเราทำถูกต้องตามกฎหมาย และพร้อมที่จะสู้จนถึงที่สุด ซึ่งจะขอยื่นความเป็นธรรมไปยังทุกหน่วยงานที่มีตามกระบวนการ เพราะเรามองว่าคดีนี้เป็นการกลั่นแกล้ง ไม่ใช่คดีที่ทำให้คนตาย อย่างเช่นคดีตากใบที่มีคนตายเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

 

ในทางกลับกันการชุมนุมของเราเป็นการชุมนุมอย่างสงบ และสิ่งที่เราทำเราพยายามที่จะรักษาอัตลักษณ์ความตัวตนของเรา เราไม่ได้มารวมตัวเพื่อแบ่งแยกดินแดน การชุมนุมไม่ทำให้คนตาย และคิดว่าเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมือง เป็นการช่วยรัฐด้วยซ้ำไปในการที่จะทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น แต่ในเมื่อการพยายามสร้างเงื่อนไขใหม่นี้ เราก็มีความกังวลว่าในการอนาคตความรุนแรงจะกลับมาใหม่ และเมื่อพื้นที่ทางการเมืองถูกปิดลง เรากังวลว่าแน่นอนจะมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต และไม่ทำให้พื้นที่นี้ดีขึ้นเลย ดังนั้นจึงพยายามที่จะพูดคุยตลอดในหลายๆหน่วยงาน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่มีการตอบรับจาก กอ.รนม. เราคิดว่าอัยการสูงสุดเป็นเป้าหมายของเราในการยื่นหนังสื่อต่อไป

ส่วน อัญชนา หีมมิหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชนและผู้ก่อตั้งกลุ่มด้วยใจ กล่าวว่า การแสดงออกถึงความเป็นอัตลักษณ์ การมีเสรีภาพต่างๆ การที่รัฐให้เสรีภาพกับประชาชนในหลายๆด้าน การแสดงออกความเป็นมาลายู การแสดงออกทางภาษา จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้ถูกกดทับ และจะทำให้ประชาชนเป็นมิตร มีความคิดเชิงบวนมากกว่า แต่พอมีกรณีถูกกล่าวหา ถึงแม้ว่าจะมี 2 ประเด็นที่เป็นข้อกล่าวหา เช่น ธง BRN หรือข้อความที่แถลง เพลง สิ่งเหล่านี้เรามองว่าไม่ใช่เป็นการใช้ความรุนแรง และประเทศไทยก็ลงนาม iccpr ลงนาอนุสัญญาต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติศาสนา

เพราะฉะนั้นต้องกลับไปมองว่าสิ่งที่รัฐให้คำมั่นสันญญากับประชาคมโลก รัฐได้ดำเนินการหรือเปล่า และที่สำคัญการดำเนินคดี มี 2มิติ คือความมั่นคงของรัฐ กับความปลอดภัยเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรัฐจะต้องชั่งน้ำหนักว่าส่วนไหนสำคัญ และอันนี้ส่งผลกระทบอย่างไรกับรัฐ ซึ่งจะต้องดูประโยชน์ของสาธารณะ และประโยชน์ของประชาชน และประโยชน์ของกระบวนการสันติภาพ