บริษัท เน็ตดราก้อน เว็บซอฟต์ โฮลดิ้ง จำกัด (NetDragon Websoft Holdings Limited) ผู้นำระดับโลกด้านการสร้างชุมชนอินเตอร์เน็ต (internet community) และบริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด (EDA (Thailand) Co., Ltd.) บริษัทร่วมทุน ประกาศแผนกลยุทธ์การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อการศึกษา “aom-ai” ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ AI พร้อมอวดโฉมโซลูชั่นเพื่อการศึกษาล้ำสมัยและเทคโนโลยีในการพัฒนาแพลตฟอร์มเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในงาน “อว.Fair SCI Power for Future Thailand Expo” จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ระหว่าง 22-28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ดร.ไซม่อน เหลียง รองประธาน บริษัท เน็ตดราก้อน เว็บซอฟต์ โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า เน็ตดราก้อนเป็นบริษัทชั้นนำของจีนและผู้บุกเบิกการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก บริษัทฯ ประสบความ สำเร็จอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก

“เรามุ่งมั่นสร้าง‘สังคมการเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุดของโลก’ เราใช้เวลากว่าทศวรรษในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จนกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (digital transformation) เพื่อยกระดับรูปแบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พัฒนาผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์โดยได้พัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มออนไลน์ และแหล่งเรียนรู้ในทุกระดับชั้นการศึกษา ได้แก่ การจัดอบรมออนไลน์ให้กับพนักงานบริษัท หลักสูตรประกาศนียบัตร (non-degree programs) และล่าสุด aom-ai ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Platform) ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด นั่นคือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (learning community) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน “

“ปัจจุบัน บริษัทฯ เปิดให้บริการห้องเรียนออนไลน์มากกว่า 2 ล้านห้องเรียน โดยมีผู้ใช้งานมากกว่า 150 ล้านยูสเซอร์จาก 192 ประเทศ ทั่วโลก ด้วยศักยภาพของประเทศไทย เราจึงร่วมมือ บริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมงานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อการศึกษาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสในคนไทยได้สัมผัสกับสุดยอดเทคโนโลยีดิจิทัลพลัง AI ที่เราพัฒนาขึ้น”

ดร. ไซม่อน เน้นย้ำว่าบริษัทฯมุ่งพัฒนาสุดยอดนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ส่วนบุคคล (personalized learning) โดยผสมผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะ AI สู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

“เรายกระดับการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ในวงการเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราร่วมมือกับ อว. เพื่อพัฒนา aom-ai ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาขับเคลื่อนด้วยพลัง AI โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ปลายปีนี้ เทคโนโลยีอัจฉริยะ AI สามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ส่งผลให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดผลลัพท์ที่ดีตามมา นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถใช้ AI เป็นครูผู้สอน (AI teacher) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารและสร้างครูผู้สอนส่วนตัวด้วย AI (AI-enabled teacher) เพื่อทำหน้าที่สอนในคอร์สที่ผู้เรียนเลือกได้ ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้เรียน และยกระดับการเรียนการสอนโดยรวมเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด” 

นายณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำว่า แพลตฟอร์ม aom-ai สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเรียนรู้และส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาอีกด้วย ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของเน็ตดราก้อนผนวกกับความเข้าใจความต้องการของตลาดและผู้เรียนภายในประเทศของอีดีเอ เราจึงสามารถพัฒนาโซลูชั่นเพื่อการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน รวมทั้งความต้องการของตลาดโดยรวมได้

“เรามุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาส่วนบุคคล (personalized learning) ผ่านแพลตฟอร์ม aom-ai ซึ่งถูกพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ AI จึงสามารถออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนและเนื้อหาให้เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียน สนับสนุนการเรียนรู้จนสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรซึ่งช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตก่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าแก่ผู้เรียนสูงสุด ด้านแผนการรุกตลาดในไทยนั้น บริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ อว. และสถาบันการศึกษาชั้นนำ เผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์ม aom-ai ซึ่งสนับสนุนการเรียนตลอดชีวิตให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ โดยแพลตฟอร์มนี้จะมีฟังก์ชั่นในการบันทึกประวัติการเข้าเรียนและเข้าร่วมอบรมของผู้เรียนทุกคน ทั้งยังมีคอร์สเรียนซึ่งได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐและจากหลากหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ”   

สำหรับงาน “อว.SCI Power For Future Thailand Expo” ในครั้งนี้ บริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เน็ตดราก้อน เว็บซอฟต์ โฮลดิ้ง จำกัด ได้เข้าร่วมจัดบูธแสดงผลงานสุดยอดนวัตกรรมเพื่อการศึกษาที่บริษัทฯพัฒนาขึ้น ภายในงานจะแบ่งเป็น 2 โซน ได้แก่ The Immersive Learning และ The Independent Learning โดยโซน The Independent Learning จะจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม aom-ai รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีฮอโลแกรม (hologram technology) เพื่อสร้างครูผู้สอน (AI teacher) ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยพลัง AI ส่วนโซน The Immersive Learning จัดแสดงผลงานการคิดค้นและพัฒนาโซลูชั่น เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อการศึกษา จากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก อาทิ Promethean และ Rokid AI  พิเศษสุดในโซนนี้ คุณจะได้สัมผัสกับความตื่นเต้น สนุกสนาน เมื่อได้ลองนั่งเก้าอี้เกมมิ่ง VR ที่สามารถหมุนได้ 360 องศา ซึ่งจะพาคุณเปิดโลกเสมือนจริงอย่างเต็มพิกัด

ทั้งนี้บริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล และมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในยุคดิจิทัล จึงได้จัดคอร์สเรียนและการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานคนไทยสู่การทำงานในยุคดิจิทัล ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI พัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

โดยการผนึกกำลังระหว่าง บริษัท เน็ตดราก้อน เว็บซอฟต์ โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อีดีเอ (ประเทศไทย) จำกัด และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) นับเป็นการปฏิวัติรูปแบบการเรียนการสอนในวงการศึกษาไทย สร้างปรากฎการณ์ครั้งใหม่ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม aom-ai ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ AI เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ ความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทุกฝ่ายในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการพัฒนาส่วนบุคคลเพื่อทำให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ มีทักษะจำเป็นในการใช้ชีวิตและเติบโตในยุคดิจิทัล