มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) จัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ระหว่างวันที่ 21-27 กรกฎาคม 2567 ในพื้นพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายแพทย์ยุทธ โพธารามิก เลขามูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเทิดพระเกียรติ โดยมีนายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยคณะแพทย์พยาบาล  มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ร่วมจัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

โดยร่วมปล่อยขบวนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. (ครั้งที่ 22) จะออกให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ทรุกันดารในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง สำหรับขบวนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว.ครั้งที่ 22 จะมีการจัดกิจกรรม พอ.สว.เคลื่อนที่ในระหว่างวันที่ 22-27 กรกฏาคม 2567 โดยคณะฯ จะเดินทางไปศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง"บ้านกองสุม ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง โดยใช้ระยะเวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง ระยะทาง 74 กม. ทั้งนี้คณะแพทย์ พอ สว.จะพักและให้บริการ ที่ศูนย์การเรียนชมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง"บ้านกองสุม

สำหรับวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 คณะฯ ให้บริการรักษา บ้านกองสุม ประชากร 253 ราย 48 หลังคาเรือน จนถึงเวลา12.00 น. จากนั้นเดินเท้าไปยังบ้านห้วยเฮียะ ใช้เวลาเดินทาง 2.30 น. ระยะทาง 11 กม ให้บริการและพักแรม ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง"บ้านห้วยเฮียะ ประชากร 239 ราย 43 หลังคาเรือน

วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 คณะฯ ออกเดินเท้า จากศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง"บ้านห้วยเฮียะ ไปยังบ้านเสาหิน ใช้เวลาเดินทาง 4.30 น. ชั่วโมง ระยะทาง 16 กม. พักแรม ที่โรงเรียนบ้านเสาหิน ประชากรบ้านแม่ต๊อบ และ บ้านเสาหินมารับบริการ ประชากร 371 ราย 97 หลังคาเรือน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 คณะฯ ออกเดินเท้า ไปยังบ้านสล่าเชียงตอง ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที ระยะทาง 3 กม. ให้บริการ และพักแรม ที่โรงเรียนบ้านสล่าเชียงตอง ประชากร 449 ราย 125 หลังคาเรือน
วันที่ 26 กรกฎาคม 2567คณะ ออกเดินเท้าจากโรงเรียนบ้านบ้านสล่าเชียงตอง ไปปฏิบัติงานที่ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง"บ้านแม่แพะ ระยะทาง 10 กม ใช้เวลา 2.30 น.ประชากร 409 ราย116 หลังคาเรือน ก่อนทีคณะจะเดินทางกลับในวันที 27 กรกฏาคม 2567

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. หรือเพทย์เดินเท้าได้ปฏิบัติงานครั้งแรกที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วย อาสาสมัครที่เป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล อาสาสมัครสมทบ และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขของแต่ละท้องที่เป็นหลัก

ในพื้นที่มีขาวไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่ถึงแม้จะมีถนนเข้าไปถึงหลายพื้นที่แล้วแต่ยังเป็นดินโคลน และบางหมู่บ้านไม่มีถนนมีเฉพาะ ทางเดินเท้าของชาวบ้านทุกฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูฝนยานพาหนะจะเข้าไปไม่ถึงประชาชนจะขาดการติดต่อจากภายนอกประชาชนมีการ จึงเกิดหน่วยแพทย์เดินเท้าขึ้นโดยได้รับการสนับสนุน อาสาสมัครจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และอาสาสมัครในพื้นที่ร่วมกันปฏิบัติงาน รักษาผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะฤดูฝน