รองเลขาฯ สทนช. ลงพื้นที่ติดตามการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำสระสีเสียด (เขาระกำตอนล่าง) อำเภอเมืองตราด

 เวลา 13.00 น.วันที่ 22 ก.ค. 2567 นายไพฑูรย์  เก่งการช่าง  รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยาน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่จังหวัดตราด ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย  สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด นายอำเภอเมืองตราด  โครงการชลประทานจังหวัดตราด  เทศบาลเมืองตราด เทศบาลตำบลหนองเสม็ด และองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ ในการเรื่องของการบริหารจัดการน้ำสระสีเสียด (อ่างเก็บน้ำเขาระกำตอนล่าง) ที่ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด  พร้อมกันนี้ยังได้ลงพื้นที่ประตูระบายน้ำสระสีเสียดที่อยู่ระหว่างการระบายน้ำส่วนเกินออกจากตัวอ่างเก็บน้ำ 

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยาน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า  การลงพื้นที่ในคครั้งนี้ได้เน้นย้ำให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตอนนี้จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดในประเทศไทย โดยตั้งแต่ช่วงเข้าฤดูฝนเป็นต้นมามีปริมาณน้ำฝนกว่า 2,000 มิลลิเมตร  โดยปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมามีปริมาณฝนมากที่ตกเหนือตัวอ่างเก็บน้ำเขาระกำทั้งตอนบนและตอนล่าง ที่ต้องมีการระบายน้ำผ่านตัวเมืองตราด ผ่านคลองบางพระ  

ทั้งนี้ สทนช. ได้เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งการระบายน้ำที่กระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด ตามข้อห่วงใยของรัฐบาล โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าชั่วคราวขึ้นในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ในการบูรณาการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ในด้านของการเยียวยาและชดเชยส่วนที่เสียหายทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับไปดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ในส่วนของทรัพย์สินจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจะได้มีการประสานงานให้อาชีวะศึกษาจังหวัดตราด เข้ามาช่วยเหลือในการซ่อมแซมให้กับประชาชน  ทั้งนี้ในส่วนขิองการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนทาง สทนช.จะได้ประสานหน่วยงานภาครัฐให้ดำเนินปรับการแจ้งเตือนให้เข้าถึงพี่น้องประชาชนได้มากที่สุด ล่วงหน้าอย่างน้อย 6 ชั่วโมง 

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยาน้ำแห่งชาติ กล่าวว่า  จากสภาวะการแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันโดยเฉพาะเรื่องของปริมาณฝนที่ตกลงมามีปริมาณน้ำจำนวนมากเห็นได้จากฝนที่ตกลงมา 3 -4 ชั่วโมงอาจมีปริมาณรน้ำฝนสูงถึง 300 -400 มิลลิเมตร ดังนั้นในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมประชาชนควรเตรียมการแต่เนิ่น ๆ โดยขนย้านสิ่งของและยานพาหนะไว้ในที่สูง ประกอบกับปัจจุบันการขยายตัวของเมืองดดยเฉพาะการถมพื้นที่ทำให้การระบายของน้ำทำได้ลดน้อยลง ดังนั้นการเตือนภัยประชาชนให้รวดเร็วและแม่นยำขึ้นจะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของประชาชน