เมื่อ “Soft Power” หมายถึง การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม การกิน การดื่ม วิถีชีวิต หรือความเชื่อ นำเสนอผ่านสื่อ หรือผลงานในรูปแบบต่างๆ โน้มน้าวใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้กันมากขึ้น ซึ่งทาง  เพ ลา เพลิน ที่เป็นฝั่งผู้ประกอบการได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นรูปธรรมสอดรับไปกับนโยบายภาครัฐได้เป็นอย่างดี

พื้นที่แห่งการเรียนรู้

นางสาวพรทิพย์ อัษฎาธร ประธานและผู้ก่อตั้ง บริษัท เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัด ได้กล่าวถึงในเรื่องนี้ ว่า  เพ ลา เพลิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งปีนี้เข้าสู่ปีที่ 17 ได้เปิดให้เข้าชมอุทยานไม้ดอก แปลงเกษตร มีศูนย์เรื่องรู้เรื่องสมุนไพร ศูนย์สุขภาพองค์รวม AROKAYA Wellness Sala นอกจากนั้นยังมีที่พัก ศูนย์สินค้าชุมชน ร้านอาหาร และคาเฟ่ ด้วยเป้าหมายของการทำ เพ ลา เพลิน ขึ้นมาตั้งใจให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของคนทุกเพศ ทุกวัย ให้หลายๆ องค์ความรู้ด้วยกัน ผ่านประสบการณ์และรูปแบบของการท่องเที่ยว เราจึงใช้ Concept ว่า เที่ยวอย่างมีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ นอกจากนั้นเรายังเน้นการเชื่อมโยงกับชุมชนรอบข้าง เพื่อช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างโอกาสในพื้นที่

ดังนั้นเมื่อภาครัฐมีการผลักดันด้าน Soft Power จึงทำให้  เพ ลา เพลิน  ที่พยายามผลักดันในแง่มุมของการท่องเที่ยว แต่มีเป้าหมายมาตลอดคือการถ่ายทอดองค์ความรู้ และการส่งต่อด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างในพื้นที่บุรีรัมย์ มีปราชญ์ชุมชน มีวิถีต่างๆ มากมาย จึงอยากเผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้ผ่านกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวไปยังคนไทยด้วยกันเองที่เป็นคนรุ่นหลัง และชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่

นำท้องถิ่นสู่ระดับสากล

ทั้งนี้ นางสาวพรทิพย์  กล่าวว่า อยากทำเรื่องราวของ Local ให้อยู่ในระดับสากล เช่น เรื่องราวของวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการนำสมุนไพรมาต่อยอด และยกระดับและมาใช้จริงในพื้นที่เพื่อให้เกิดการสร้างงาน เกิดอาชีพและเสริมรายได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น น้องลิซ่า คนบุรีรัมย์ ที่ถือกระปุกยาดมสมุนไพรของคนไทย ก็กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกได้ ก็น่าจะถือเป็น Soft Power ได้ นอกจากน้องลิซ่าแล้ว เวลานี้วัยรุ่นก็ถือยาดมกันแทบทุกคน ซึ่งทางเพ ลา เพลินได้สนับสนุนเรื่องสมุนไพรไทยมานานแล้ว และมีเป้าหมายที่อยากผลักดันสมุนไพรอีกหลายตัวของประเทศไปสู่ระดับนานาชาติ

ส่วน เรื่องอาหาร สามารถเข้าไปช่วยเหลือชุมชนได้อย่างยั่งยืน ด้วยเมืองไทยในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ามีอาหารอร่อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง เพ ลา เพลินเองก็พยายามให้ทีมเชฟช่วยกันนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นเมนูต่างๆ เช่น กุ้งจ่อม ขาหมูบุรีรัมย์อีกด้านหนึ่งคือเรื่องราวของข้าวอีสาน ในกลุ่มเมืองท่องเที่ยว นครชัยบุรินทร์ มาร่วมกันผลักดันสร้างอัตลักษณ์สินค้าชุมชน เป็นโอสถรสอร่อย

ตอบโจทย์ในหลายด้าน

ทั้งนี้ นางสาวพรทิพย์  ยังกล่าวต่อว่า เพ ลา เพลิน น่าจะตอบโจทย์ในหลายด้านด้วยกันใน 11 Soft Power ที่รัฐบาลผลักดัน เช่น 1ใด้านเฟสติวัล (เทศกาล) 2. ด้านอาหาร 3. ด้านการท่องเที่ยว 4. ด้านศิลปะ 5. ด้านการออกแบบ และ 6.ด้านแฟชั่น ที่เป็น Model ต้นแบบ ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไอเดียไปต่อยอดได้อย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งแนวทางที่ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องจะเน้นการศึกษาจุดเด่นในพื้นที่ และมุ่งเน้นการต่อยอด ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเช่น กลุ่มเยาวชน หรือผู้ใหญ่ ที่เข้ามาท่องเที่ยวเรียนรู้ในพื้นที่ซึ่งได้จัดทำเป็น  Play La Ploen Academy ใน 5 ด้าน 1.ด้านสมุนไพร สอนเรื่องสมุนไพร 2.ด้านวิถีชุมชน เป็นวิถีหมู่เฮา เล่าเรื่องข้าวเรื่องการเกษตร 3.ด้าน Green Skill ทักษะสีเขียว โดยเฉพาะช่วงนี้มีเทศกาลปทุมมาดอกกระเจียวมา  และปลายปีนี้เราก็จะมีการจัดแสดงลาเวนเดอร์ ร่วมกับบ้านไร่ในพระราชดำริ ที่จะต่อยอดในเชิง Sustainability นำมาใช้ทุกส่วน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในบริการของ เพ ลา เพลิน ทั้ง workshop อาหาร ที่พักเป็นต้น 4. ด้าน STEM Education จากธรรมชาติ และเรื่องราวใกล้ตัว 5. ด้านกิจกรรม และศิลปะ โดยได้เชื่อมโยงชุมชน และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือกัน