เมื่อวันที่ 18 ก.ค.67 ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ฯ พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิด โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระดับประเทศ โดยมี นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน นายปกรณ์ จีนาคำ สส.แม่ฮ่องสอน หน่วยงานราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจัดทำโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ กราบบังคมทูลถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมพรรษา 50 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2545 และทรงรับโครงการไว้ในพระราชานุเคราะห์ และพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อไว้ในเครื่องหมายตราสัญลักษณ์โครงการ โดยเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2545 ณ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี และได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มาเป็นเวลากว่า 20 ปี โดยเป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติงานในเชิงรุกที่ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้ารับบริการ และได้รับการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกด้านในคราวเดียวกัน เช่น การวิเคราะห์ดิน การวินิจฉัยโรคพืช โรคสัตว์ โรคสัตว์น้ำ และการให้วัคซีนป้องกันโรค รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกอบรมความรู้ด้านการเกษตรเสริมเพิ่มเติมควบคู่กันไปด้วย
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับประเทศ ใน 6 จังหวัด โดยจุดหลัก ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจุดรอง จำนวน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น และจังหวัดสงขลา ซึ่งกำหนดจัดงาน ในวันที่ 18กรกฎาคม 2567 พร้อมกัน และการจัดงานในระดับจังหวัดอีก 71 จังหวัด กำหนดจัดงานในห้วงระหว่างวันที่ 1 – 31 กรกฎาคม 2567
สำหรับการจัดงานจุดหลัก ณ ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย กิจกรรมลงนามถวายพระพร พิธีถวายพระพรชัยมงคล นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การให้บริการคลินิกเกษตรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ กิจกรรมการเสวนาด้านการเกษตร เรื่อง การขับเคลื่อนงานตามแนวทางแม่ฮ่องสอนโมเดล เพื่อรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคการเมือง ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กิจกรรมการฝึกอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ กิจกรรมการให้บริการของศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช และจัดแสดง/จำหน่ายสินค้า “โปรดักแชมเปียนส์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน” โดยคาดว่าจะมีเกษตรกรมาร่วมงานและเข้ารับบริการคลินิกเกษตร ประมาณ 720 คนการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่วนราชการในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดใกล้เคียง บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว กระผมขอเรียนเชิญท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธี กล่าวเปิดงาน และเยี่ยมชมคลินิกเกษตรต่างๆ ที่มาให้บริการเกษตรกร และกิจกรรมอื่นๆ ภายในงาน
จากนั้น รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดย โครงการ"แม่ฮ่องสอนโมเดล ณ อาคารฝึกอาชีพภายในศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ(ท่าโป่งแดง) ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ภายหลังเปิดโครงการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำการปล่อยพันธุ์ปลาตะเพียน ปลาแก้มช้ำ ลงแม่น้ำปาย
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า โครงการ"แม่ฮ่องสอนโมเดล มีเป้าหมาย การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจสร้างสรรคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน" ซึ่งต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำการเกษตรแบบเดิมสู่เกษตรมูลค่าสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีเกษตรแม่ยำ เพื่อให้ "เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายในปี 2570" มีความมั่นคงด้านอาหาร และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนอกจากนี้ยังคาดหวังว่าแม่ฮ่องสอนโมเดลจะทำให้พื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟู และมีการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะนำไปพัฒนาแผนปฏิบัติการแม่ฮ่องสอนโมเดล
หลังจากการ Kick of ในวันนี้ผมจะลงนามเห็นชอบแผนปฏิบัติการแม่ฮ่องสอนโมเดล และมอบหมายปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำไปขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายต่อไป ซึ่งความสำคัญจะอยู่ที่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ต้องมี Action Plan ที่ชัดเจนในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายร่วมกันและจัดระบบในการทำงานร่วมกัน การขับเคลื่อนแม่ฮ่องสอนโมเดลจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วน ขอให้ทุกท่านมาร่วมกันพัฒนาและสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับพี่น้องชาวแม่ฮ่องสอน ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานและจะเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการเกษตรให้จังหวัดอื่นต่อไป