กรณี "ปลาหมอคางดำ" เอเลี่ยนสปีชีส์ ข้ามถิ่นมาอยู่เมืองไทย สุดท้ายมาก่อความเสียหายใหญ่หลวง เพราะปลาหมอคางดำ มีความแข็งแกร่งเป็นนักล่า อยู่ในน้ำก็กินทุกอย่าง และอยู่ได้หลายน้ำมาก น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำจืด น้ำเน่าก็อยู่ได้ ตัวเมียตัวนึงคลอดลูกเป็นไข่ประมาณ 150-300 แล้ว 90 เปอร์เซ็นต์คือรอด วันนี้จะหาคำตอบและหาวิธีกำจัด เพราะหากยังอยู่ประเทศไทยไปเรื่อยๆ มันจะกินสัตว์เศรษฐกิจหายไปหมด ต่อไปประเทศไทยก็จะเหลือแต่ปลาหมอคางดำ
รายการโหนกระแส ออกอากาศวันที่ 17 ก.ค. 67 ดำเนินรายการโดย “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดหมายเลข 33 สัมภาษณ์ บัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง , กมล ไกรวัตนุสสรณ์ ประธานชมรมเรืออวนลาก จ.สมุทรสาคร ต้น คนหว่านแห ล่าปลา, ปัญญา โตกทอง เครือข่ายประชาคม คนรักแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม,นิวัติ ธัญญะชาติ คณะทำงานแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ระดับชาติ / เครือข่ายคนรักอ่าวไทย, บรรเจิด อุดมสมุทรหิรัญ เครือข่ายคนรักอ่าวไทย จ.สมุทรปราการ, สุเทพ ประธานชมรมธนาคารปูม้า จ.จันทบุรี และ วรพล ดวงล้อมจันทร์ เครือข่ายรักษ์อ่าวไทย จ.สมุทรสาคร มาพูดคุยและหาวิธีกำจัด
หนักใจมั้ย?
บัญชา : หนักใจพอๆ กับพี่น้องชาวประมงและเครือข่าย สิ่งที่หนักใจก็ได้หลอมรวมเป็นคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหานี้ บนความหนักใจ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ตั้งแต่ลงพื้นที่และได้รับข้อร้องเรียน ก็เอาความหนักใจนั้นมาสู่แผนปฏิบัติการแก้ปัญหา
พี่กมล เป็นประธานชมรมเรือลากอวนจังหวัดสมุทรสาคร ผลกระทบจากคางดำเป็นยังไง?
กมล : พวกนี้กินลูกกุ้ง ลูกหอย ลูกปลาชายฝั่งหมด แล้วประมงพื้นบ้านที่ทำมาหากินอยู่ชายฝั่งก็ได้รับผลกระทบ ลูกกุ้งลูกปลาไม่โตเราก็จับไม่ได้ แต่ดีช่วงเดือนก.พ. ทางเราได้รณรงค์กับท่านธรรมนัส และท่านอธิบดี
พี่เจอเมื่อไหร่คางดำ?
กมล : เจอปีที่แล้ว เจอในคลองที่วัดธรรมโชติ คางดำนี่รู้จักมาก่อน แต่ไม่คิดว่ามันจะออกมาได้มากมายขนาดนี้ พอดีผมเองเป็นคณะกรรมการจังหวัดสมุทรสาคร ในคณะก็มีทั้งประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน ผู้เพาะเลี้ยง ก็ทราบปัญหาอยู่ ก็ทำโครงการกับอดีตประมงจังหวัด แข่งขันกันจับปลาหมอคางคำ โดยการทอดแห แล้วทำปลาแดดเดียว ใครกินมากก็มีรางวัลให้ วันนั้นได้ไม่เยอะ
ชิลๆ คิดว่าเดี๋ยวก็หมดไป?
กมล : เราทำดีกว่าเราไม่ทำ
พี่มาจากสมุทรสงคราม เป็นไง?
ปัญญา : ปลาหมอคางดำระบาดบ้านผม เราพบต้นปี 55 เราไม่รู้ว่าปลาอะไร เราก็เริ่มศึกษา จนตอนหลังมันระบาด 4 อำเภอ คืออำเภออัมพวา สมุทรสงคราม อ.เมือง สมุทรสงคราม อ.เขาย้อย อ.บ้านแหลม สมัยนั้นเราไปร้องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปลายปี 59 60 หนังสือออกมา 61 เราบอกว่าควรล้างชาม 4 ใบ หมายถึงให้กำจัดให้เต็มที่เลย
พี่เจอตั้งแต่ 55 เยอะขึ้นเรื่อยๆ?
ปัญญา : เยอะขึ้น ปลาหมอเทศที่เราเคยกินตั้งแต่เด็ก มันก็เริ่มหายหมด ที่ผ่านมากรมประมงก็ใช้กะพงปล่อย กระพงถ้าแก้ได้ 10 กว่าปีคงหมดไปแล้วที่สมุทรสงคราม
จะมีคนบอกว่าเอากะพงลงไปลุย เอาไปกัดไปกินมัน จัดการได้แน่นอน ลองแล้ว?
ปัญญา : นี่ไงครับ 10 กว่าปีที่ประมงทำมา จริงๆ เราเสนอให้กรมประมงรับซื้อปลาคางดำ 20 บาท แต่ไม่ถึง 3 เดือน ชาวบ้านที่แม่กลองเขามองว่าเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน เมื่อละเมิดสิทธิเอามา ก็ควรเอากลับไป ทั้งกรมประมงและคนที่เอามา ใครก็ไม่รู้ ต้องรับกลับไป เราเสนอให้ซื้อ 20 บาท และกำจัดอย่างบ้าคลั่ง กำจัดบางแล้วก็ปล่อยกะพง อีกง ก็ต้องใช้ความหลากหลาย แต่ถ้าจับไป กำจัดไปด้วย เรามองว่าเสียเปล่า เราอยากให้มาคุยกัน แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ผมก็ทำงานภาคประชาชน เราเสนอทั้งกรมประมง เสนอทุกทาง พูดไม่ฟังเราก็เสนอผ่านคณะกรรมการสิทธิ
ก็กริบจนวันนี้กลายเป็นระบาดไปหลายจังหวัด?
ปัญญา : ใช่ เราบอกให้ล้างชาม 4 ใบ เราพูดด้วยซ้ำ ถ้าไม่ล้างชาม 4 ใบนี้ คุณจะต้องล้างชามเป็นร้อยเป็นพันใบ
จะบอกว่าปลาหมอคางดำ เริ่มจากอัมพา เขาย้อย เมือง บ้านแหลมก่อนเหรอ?
ปัญญา : ใช่ครับ เราค้นพบปลายปี 54 เริ่มเจอประปราย
ทำไมคิดว่าเกิดตรงจังหวัดพี่ก่อน?
ปัญญา : ก็ที่อื่นไม่มีระบาด มันมาระบาดที่ผม แล้วมันไม่สวย มีหนังสือคณะกรรมการสิทธิ ผมไม่ได้พูดส่งเดช ทางเจ้าหน้าที่ประมง ข้าราชการมีน้อย ไม่มีเครื่องมือ มีแต่วิชาการ ชาวบ้านจับเก่งกว่า ต้องสร้างแรงจูงใจ พอเราเสนอไป 20 บาท ทางหน่วยงานเกรงเราจะเลี้ยง แต่เลี้ยงไม่ได้ครับ มีกฎหมายห้ามนำเข้าเพาะเลี้ยง
ยืนยันว่าแรกเริ่มมาจากตรงนั้น?
ปัญญา : ก็บ้านผมอยู่ตรงนั้น ทั้งสองสามตำบล ตำบาลยี่สาร แพรกหนามแดง ยืนยันได้ ว่าเจอปีไหน
ทำไมเรียกคางดำ?
ปัญญา : ก็คางมันดำ ผมโตมากับปลาหมอเทศ ปลาหมอเทศอร่อยที่สุด รองลงมาคือปลานิล แล้วก็คางดำ คางดำโตช้า แล้วมีลำไส้ ปลาหมอเทศมา 2493 ปลานิลมาปี 2508 คางดำมาปี 53 ที่เรารู้จากกรมประมง มันเกิดง่าย โตช้า เพราะแม่มันฟอร์มไข่ทุก 22 วัน พอออกมาพ่อมันอมไข่อีก เพราะสร้างเนื้อและปกป้องได้ดีกว่าแม่ การดูแล ดูแลได้ดีกว่า
แล้วกินยังไงเวลามันอม?
ปัญญา : ช่วงอมจะกินไม่ได้ แล้วมันฝึกลูกให้พ่นดูดๆ เขาถึงจะกินได้เมื่อลูกออกไปแล้ว เขาจะหยุดกินระยะนึง ไม่งั้นจะพลาดกินลูก
มันทนมากมั้ย?
ปัญญา : อยู่ได้ทุกน้ำ อยู่ได้หมด คนบอกว่าปลาคางดำ มีข่าวช่วงปี 59 60 คนบอกว่ามันหายไป จริงๆ มันไม่ได้หายไป มันค่อยๆ คืบคลานไป คนคิดว่าเป็นปลานิล ปลาหมอเทศ ชาวบ้านเขารู้และพยายามสื่อสาร ไม่ได้เงียบ ไม่ได้หาย แต่ค่อยๆ ขยาย ตอนนี้ระบาดไปหลายจังหวัดแล้ว
ไปกี่จังหวัดแล้ว?
บัญชา : ล่าสุด 16 จังหวัด
พี่นิวัติ จันทบุรี อยู่ห่างจากสมุทรสงคราม เดือดร้อนยังไง?
นิวัติ : พื้นที่ที่ผมอยู่เป็นโครงการพระราชดำริ เรามีการทำโครงการสัตว์น้ำ ย้อนไปเมื่อปี 54 ท่านบัญชา ระหว่างนั้นดำรงตำแหน่งเป็นประมงจังหวัด ก็มีการผลักดันให้ทำธนาคารปูม้า ก่อนหน้านี้ปูม้าหายจากอ่าวคุ้งกระเบน มีการจับโดยไม่ได้อนุรักษ์ ใช้ปูม้าเป็นไข่นอกกระดองเอาไปต้มกินหมด พอชาวบ้านไม่ได้จับมันก็กลับมาโดยธรรมชาติ ตอนนั้นมีการรวมกลุ่มกัน ก็ทำกันทุกปี จนปี 57-60 เป็นมติรัฐมนตรี ให้ทำธนาคารทั่วประเทศ แต่อยู่ๆ ปูม้าหาย ช่วงโควิดชาวบ้านจับปูม้าไม่ได้เลย พอปี 60 ไปเจอร่องรอยคางดำอยู่ที่แม่น้ำพระแส
ตอนเห็นรู้มั้ยเป็นคางดำ?
นิวัติ : รู้แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญ เวลาเราเห็นปลาธรรมชาติชุกชุม มนุษย์หนึ่งเราจะจับ
ส่วนใหญ่คางดำไม่น่ามีคนเห็นในช่วงนั้น?
นิวัติ : ถ้าอยู่โครงการประมงจะมีข่าวออกมาจากกรมประมง แต่ข่าวไม่แรงเหมือนตอนนี้ พอประมาณ 60 แม่น้ำพระแส ช่วงโควิดระบาด ปี 63 เรามีความคิดกับพี่โต ถามว่าทำไมปล่อยลูกปูไปเยอะแยะมากมาย แต่ปูม้าไม่เพิ่มเลย ในอ่าวคุ้งกระเบนก็ไม่มี ชาวบ้านก็จับไม่ได้ ไปหาต้นตอ ปรากฏว่าบริเวณศาลาคุ้งกระเบน ตรงที่เราปล่อยลูกปูไป ปลาหมอคางดำมีเป็นล้านตัว รอกินอยู่ ในลำคลองต่างๆ ที่มีภาพกำลังทอดแห ครั้งนึงได้ 10-20 กิโล ที่อ่าวคุ้งกระเบน ที่จันทบุรี จากธนาคารสัตว์น้ำที่เราทำเพื่อความยั่งยืนของอาชีพ กลายเป็นปูม้าหมด พอมันกินลูกไข่ปูหมดเราทำไม่ได้แล้ว วันนี้ชาวบ้านที่ใช้มืองมกุ้ง จับกุ้งตัวเล็กๆ วันนึงได้ 4-5 กิโลไปเลี้ยงชีพคนแก่ๆ วันนี้ไม่ต้องไปหา มีคางดำแทน ปูน้อยลงแล้ว ตอนนี้ผมเองก็ผลักดันธนาคารปูม้าหรือสัตว์น้ำต่างๆ ไปปล่อยห่างจากทะเล
คำว่าปลาหมอสีคางดำมาจากไหน?
บรรเจิด : ก่อนเป็นคางดำ เป็นอิเลฟเวน ไทเกอร์ ปี 55 ปลาท้องถิ่นหาย เราผิดสังเกต ไปจับมา ไล่ล่าเลย ไปกับรองผู้ว่าฯ เพื่อทำประเด็นนี้ให้เข้ากรมประมง ไม่อยากเอ่ยว่าบริษัทไหนปล่อยมา แต่มันได้รับผลกระทบ ถ้าลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ฉิบหายเลย เราต้องประกาศ แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สนใจ เลยเป็นต้นตอกลายพันธุ์มาเป็นคางดำ ทนแม้กระทั่งน้ำเสียนะ เอาเครื่องอ็อกใส่นะ มันกระโดดมาเลย แรงมันดี ผมเสนอแบบนี้การทำเมนูอาหารทำได้ ถ้าเอาไปแปรรูป แต่ไม่ให้ส่งเสริมให้ออกตลาดเดี๋ยวจะกลายเป็นธุรกิจ เราต้องกำจัดให้หมด
มันอันตรายขนาดนั้น?
บรรเจิด : หายนะจะมาเยือนน่ะสิ อย่างปูม้าออกลูกเหมือนไยแมงมุม เป็นลูกปู ออกมาต้องเอากล้องส่องนะ พวกนี้กินหมดแล้ว วัฎจักรปูม้าจะทำได้ยังไง เคยทำกะปิ อีกหน่อยกิโลละ 500 เพราะพวกนี้กินหมด
ตอนนี้ปูม้าโลเท่าไหร่?
บรรเจิด : 200 กว่าบาท 300
ต่อไปปูม้าในเมืองไทยหายไป จะหายาก จากโล 200 300 จะกลายเป็นโลละ 2 พัน?
ปัญญา : แล้วเราจะมีปลาคางดำกินอย่างเดียว ถ้าไม่กำจัด
มันมาจากไหน?
ปัญญา : ตอบว่าอยู่กาน่า แอฟริกา มันจะมีปิรันย่า จระเข้า มีปลาดุร้ายควบคุมวงจรมัน แต่พอมาบ้านเรา ไม่มี มันเลยยึดบ้านปลาอื่น ทุกวันนี้ยึดหมดแล้ว ตั้งแต่ก้นอ่าวไทย
พี่ต้นชอบหว่านแห ทำยูทูป เป็นไง?
ต้น : ผมเจอ 2-3 ปีที่แล้ว หว่านแหทีนึงก็เยอะขึ้นตลอด ทุกวันนี้หว่านแหที 30 40 กิโล มันเยอะมาก ล่าสุดที่พระรามสอง หว่านทีนึง 30 40 กิโล หนึ่งครั้งได้หนึ่งกะละมัง ได้คางดำล้วนๆ
ขนาดปลาโตเต็มวัยหรือยัง?
ปัญญา : ยัง ถ้าเต็มวัยต้องใช้เวลา แต่นิ้วสองนิ้วก็ออกลูกแล้ว แล้ว 22 วันออก ปลาคู่นึง ปีนึงออก 6 ล้านตัว คนกินไม่ทัน อย่างหัวเชอรี่คนกินทันเพราะเกิดช้า ตั๊กแตนก็เกิดช้า แต่นี้เกิดไว และรอดเยอะด้วย เพราะพ่อดูแล เพราะพ่อดุกว่า เป็นนักล่ามากกว่า พอยึดบ้านได้แล้วก็จะเกิดไว จะรอดมาก
จะบอกว่าคนไทยไม่อดอยากคิดแบบนี้ไม่ได้นะ?
ปัญญา : ไม่ได้ครับ เพราะไม่งั้นเราจะมีปลาคางดำกินอย่างเดียว อยากินปลาอื่นต้องซื้อครับ
นิวัติ : โปรตีนต่ำกว่าปลาชนิดอื่น
สุดท้ายจะกินปลาในระบบนิเวศหมด อย่างปลานิลจากโล 40-50 บาท ต่อไปต้องหาปลานิลเข้ามาจะกลายเป็น 400 500 บาทต่อโล ซึ่งเป็นปลาหาได้ง่ายๆ แต่คางดำกินหมด ปูม้าก็ไม่มี กุ้งกุลาก็หมด กุ้งแช่บ๊วยชอบมาก?
นิวัติ : กระบวนการพอโตเป็นพ่อแม่จะกินสัตว์น้ำวัยอ่อน แต่ลูกของมันที่พ่นไปแต่ละครั้ง จะกินแพลงตอน ไข่ปลา ไข่หอย แล้วที่เราปล่อยปูม้าไป ก็เหมือนเป็นอาหารให้มันโตเร็ว
ปัญญา : มันออกลูกทุก 22 วัน
นิวัติ : แล้วกินเก่งเพราะลำไส้ยาวกว่าลำตัว 4 เท่า
ปัญญา : กินไปถ่ายไป ก้างแข็งมาก ถ้าตัวใหญ่มีก้างแทรกเนื้ออีก
อยากให้ทำยังไง?
กมล : ตอนนี้ช่วยกันรณรงค์ทำลายได้เยอะสุดคือทำปลาป่นเป็นอาหารสัตว์ แต่กรมประมงต้องสนับสนุนราคา ปัจจุบันนี้สนับสนุนโลละ 2 บาท แพซื้อ 8 บาท โรงงานซื้อ 10 บาท
จากเดิม 8 บาท ปรับเป็น 15 บาท?
กมล : เมื่อวานรัฐมนตรีเพิ่งพูด แต่ราคาโรงงานอยู่ที่ 10 บาท ณ ปัจจุบัน โรงงาน 15 หรือมากกว่านี้ก็เป็นแรงจูงใจให้ชาวประมงจับ
นิวัติ : มันมีต้นทุนในการจับ ค่าแรง ต้องถามพี่สุเทพ
สุเทพ : ผมเป็นประธานชมรมธนาคารปูม้า จ.จันทบุรี ที่บอกว่าปล่อยปูม้าลงไปแล้วคางดำกิน มันคือเรื่องจริง ทุกวันนี้ผมต้องยุติธนาคารปูม้าทั้ง 22 แห่งของจ.จันทบุรี เพราะปล่อยไปแล้วคางดำมารอกินหมดเลย ต้องยุติการเพาะปูม้า แต่อาชีพเราคือการเพาะปูม้า เราเลี้ยงพื้นที่ปิดไม่ได้ ต้องปล่อยไปธรรมชาติ เราชาวบ้าน ไม่มีทุน ถึงมีทุนทางการช่วยเหลือมาก็ต้องปล่อยไปตามธรรมชาติ
แสดงว่าถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ มันไปกินปลา ปู กุ้งกุลา นายทุนที่มีเงิน เปิดฟาร์มของเขาเอง ราคาก็ถูกถีบขึ้นสิ นายทุนถีบราคาได้ ก็ไม่แฟร์เหมือนกัน?
สุเทพ : ใช่ครับ ไม่แฟร์ แล้วที่บอก 15 บาท 10 บาท พูดตรงๆ ผมชาวประมงทอดแหมาขายนี่แหละ สองวันที่แล้วเขารณรงค์ให้ชาวบ้านช่วยกันจับปลาหมอคางดำมาขายให้ทางการ ให้กิโลละ 10 บาท ถามสิว่าชุมชนของผม มีเรือ 40 กว่าลำที่ทำประมงแบบนี้ ต้องยุติทำเพราะปลาหมอคางดำอาละวาด ขายไม่ได้ 10 บาทไม่คุ้มค่าทุนที่เราจะจับขายให้เขาได้ เพราะจะไปซื้อเครื่องมือมารอปลาหมอคางดำ เราไม่สามารถทำได้ เพราะเครื่องมือที่ซื้อมาแต่ละชิ้นมันเกินมูลค่า มัน 200 กว่าบาท แต่ปลาหมอคางดำกิโลละ 10 บาท ต้องจับ 10 20 โลได้แค่ค่าเครื่องมือ แล้ว 2-3 วันถ้าเครื่องมือชำรุดแล้วไปซื้อมาอีก จับเวียนแบบนี้เราจะได้อะไร
คางดำก็มีคนเอาไปกิน มาเจอพี่ไทยก็ซัดเรียบ แต่กินไม่ทัน มีคนเสนอให้เอาชะโดลงไปได้มั้ย?
ปัญญา : ชะโดอยู่น้ำเค็มไม่ได้ ฉะนั้นอยู่พื้นที่น้ำเค็ม ต้องใช้ปลานักล่าน้ำเค็ม อยู่พื้นที่น้ำจืดก็ต้องใช้ปลานักล่าน้ำจืด แล้วพื้นที่ระบาดมากต้องจับอย่างบ้าคลั่งไปทำปลาป่น ที่บอกว่าซื้อ 20 บาท ตั้งแต่ปี 60 เราตั้งกองทุน 1 ล้าน เท่ากับต้องใช้เงิน 2 ล้าน เราซื้อโลละ 20 ขาย 10 บาทไปทำปลาป่น ซื้อ 18 บาทก็ได้ ประมงบริหารจัดการ 2 บาท เงินก็กลับมา เท่ากับเราใช้เงิน 1 ล้านบาทกับปลา หมด 1 ล้านได้มา 5 แสน มันจะสร้างแรงจูงใจ
ชะโดได้มั้ย?
ปัญญา : ชะโด ปลาช่อนได้ แต่ต้องพื้นที่น้ำจืด และพื้นที่ระบาดน้อย ชะโดก็เป็นนักล่าเหมือนกัน มันไปล่าปลาอื่นอีก ชะโดถ้าล่าบางแล้ว ก็ต้องใช้คนเป็นนักล่าไปตกขึ้น เพราะมันร้ายกว่าปลาช่อนเยอะ
ถ้าปล่อยชะโดกินคางดำ พอกินเสร็จก็ต้องตกขึ้นมา เพราะมันไปกินปลาอื่นอีก?
วรพล : ชะโดกินทุกอย่างที่ขวางหน้า อะไรผ่านหน้ามันกินหมด ลูกกุ้งก้ามกราม ลูกปลานิล อันตรายกว่า
กะพง ทำไมถึงไม่สำเร็จ ในเมื่อเขาแนะนำว่ากะพงก็ทำได้?
ปัญญา : มันกินพวกนี้ไม่ทัน อีกอย่างคนก็ล่ากะพงอีก กะพงแพงกว่า อย่างที่บอกมาตลอด กำจัดให้บาง พื้นที่ระบาดน้อยใช้ปลานักล่า พื้นที่ระบาดหนักต้องระดมจับอย่างบ้าคลั่ง เราเสนอเรื่องทำหมันเหมือนกัน ทำหมันปลาให้หมันได้ ปลานิลยังทำได้เลย ทีนี้ปลาหมันเราไปเร่งเรากลัวเป็นซูเปอร์เอเลียนสปีชีส์อีก
นิวัติ : เราต้องดูปลากะพงก่อน แม้แต่เอาเนื้อไปดักล่อปู ปูยังไม่กินเลย ลองถามพี่น้องเป็นประมงที่จันทบุรีได้ เอาไปเลี้ยงปลากะพง ไปสับ ปลากะพงก็ไม่กิน ผมถามว่านักวิชาการที่เสนอให้ใช้ปลากะพง จะมีวิธีอย่างไรให้ปลากะพงกินแต่ปลาหมอคางดำ แล้วลูกมันแข็งแรง ว่ายน้ำได้เร็ว แต่กุ้งโดยธรรมชาติตัวเล็กๆ ก็อ่อนแอกว่า นี่คือปัญหาของสัตว์นักล่า
จะบอกว่าอย่าบอกว่าเอากะพงไปล่าเลย เพราะกะพงไม่กินหรอก กะพงกินกุ้ง?
นิวัติ : มนุษย์นี่แหละล่าได้เร็วที่สุด
บรรเจิด : ผมเห็นด้วย ที่จะใช้คนล่า
ปัญญา : ถ้าเราปล่อยพันธุ์ปลาต้องสร้างกระบวนการรับรู้ ต้องพูดคุยกับคนในชุมชน
นิวัติ : มาตรการล่า เราทำโดยกรมประมงไม่ได้ เราไม่ได้ทำแต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เราต้องเอากระทรวงมหาดไทยเข้ามา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล อบต. ทุกคนต้องระดมกัน
ฟังปัญหาแล้วเครียดมั้ย?
บัญชา : ปัญหาเกิดมาแล้ว ย้ำอีกครั้ง ท่านรมต.เห็นปัญหานี้เมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา ท่านลงพื้นที่ก็ได้สั่งการอย่างเคร่งครัด ตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดนึง ท่านที่อยู่ในนี้ทั้งหมดเป็นคณะทำงาน เราประชุมกันครั้งแรกเราบอกว่าปัญหานี้แก้โดยส่วนกลางไม่ได้หรอก เราต้องเอาพี่น้องกลุ่มกระทบในพื้นที่ ตอนนั้น 14 จังหวัด ตอนนี้ระบาด 16 จังหวัด ก็เอาตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบ ก็เป็นที่มาที่ได้ทำแผนปฏิบัติการขึ้นมา ก็ทำควบคู่กันไป เช่น สมุทรสาคร เราพบการรุกรานที่มาก เราก็ไปประชุมร่วม ต้องใช้เครื่องมือในการเอาขึ้นได้เร็ว คือเครื่องมืออวนรุน ท่านรมต.สั่งการเลย ท่านออกประกาศภายใน 15 วัน เดิมเครื่องมืออวนรุมเขาห้ามใช้ในชายฝั่งและแม่น้ำลำคลอง พอท่านออกประกาศก็ได้มา 23 ลำ จับได้หลายร้อยตัน
กมล : ณ ปัจจุบัน ไปทำปลาบ่น 400 กว่าตัน เพื่อทำอาหารสัตว์
บัญชา : แล้วกำลังประสานกับการยางเอาไปทำปุ๋ย มาตรการที่ลงด่วนก็ทำไป มาตรการที่สองคือใช้ปลานักล่า ต้องมีหลัก ถามว่าทำไมบางปะกง เรายังไม่พบ เพราะในระบบนิเวศเขายังมีห่วงโซ่อยู่ คือเป็นแหล่งหลักของปลากะพง ปลาอีกง คล้ายๆ ปลากด
ปัญญา : แต่ตอนนี้บางคล้าเจอคางดำแล้วนะ
พี่อึดอัดหัวใจ?
บรรเจิด : วันนี้ต้องทิ้งมรดกที่ดีให้ลูกหลาน ไม่ใช่ทิ้งมรดกเฮงซวยให้ลูกหลาน
จริงๆ ทำเมนูได้หลากหลาย?
ปัญญา : ปลานิลทำอะไรได้ คางดำทำได้หมด แต่ปัญหาคือจะมีมันกินอย่างเดียว ก้างแข็งกว่าปลาอื่น
จะแก้ไขยังไง?
บัญชา : มี 6 แนวทางสั้นๆ หนึ่ง ที่ต้องเร่ง จำเป็นเร่งด่วน ต้องกำจัดเขาออกจากแหล่งน้ำให้เร็วที่สุด เพราะตัวเขาเอง เป็นปลากินทั้งพืชและสัตว์ ลำไส้ยาว เขาไม่กินกันเองแต่จะตัดตอนวงจรห่วงซ่าอาหาร จะมีแพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์ ถ้าเขาครองพื้นที่ เขาจะยึด ตัวอื่นไปหาอาหารเหมือนกันก็เข้าไม่ถึง นี่ถึงเป็นปัญหา ว่าทำไมลูกปูถึงน้อยลง ก็ต้องเอาออกให้เร็วที่สุด ขอเรียนว่าการเอาออก ขอให้พี่น้อง 16 จังหวัดคิดมาได้เลย ท่านจะใช้เครื่องมืออะไรที่มีประสิทธิภาพที่สุด กรมประมงจะแก้กฎเกณฑ์ให้ท่านได้ใช้ตามความต้องการ สองเมื่อเขาเบาบางลง เราต้องเอาปลานักล่า แต่การปล่อยต้องปล่อยในพื้นที่เบาบาง สองที่อ.ระโนดยังไม่เข้าทะเลสาบ ต้องกันตรงนี้ไว้ จันทบุรียังไม่เข้าไปตราด เราก็กลัวจะเข้าไปทางเขมร เพราะอยู่ติดกัน เราก็ต้องปล่อยปลานักล่า ซึ่งมีหลายชนิด ปลากะพงก็กินระดับนึง ปลาอีกงก็เข้ามาหน่อย ปลาช่อนก็อยู่ในน้ำจืด หรือต้องใช้ปลากราย หรือปลาม้า ปลาเหล่านี้ล้วนเป็นปลานักล่า แต่ปลาชะโด คงต้องสงวนไว้ก่อน หนี่งดุร้าย สองออกลูกเยอะ เพิ่งจับไปที่กว้านพะเยา จับได้ 500 กว่าโล สามต้องนำมาทำอาหารใช้ประโยชน์ ได้หลากหลาย เอาเขาใช้ประโยชน์ได้
ที่ขึ้นที่มักกะสัน น้ำมันเน่า มันอยู่ได้ คนเอามากินได้มั้ย?
ปัญญา : ได้ แต่ต้องทำให้สะอาดก่อน ทอดให้ร้อนให้สุกก่อน ถ้าปลาแข็งแรงก็ไม่เป็นไร ถ้าป่วยจะเป็นแผล เป็นโรค แต่เรากินแหล่งน้ำสะอาด เพราะมันมีอยู่เยอะแยะ
ในบางปะกงยังมีเจ้าถิ่น ก็มีกะพง ปลาอีกง ฉะนั้นปลาพวกนี้ไปก็กินหมดเหมือนกัน?
ปัญญา : ก็ไม่แน่ ถ้านานวันเข้า จำนวนเขามากขึ้น เขาก็ยึดได้
บัญชา : อย่าให้เขาไปยึดครอง เมื่อวานดร.ชวลิต ก็พูดถึงระบบนี้เป็นทางรอด หลังปล่อยปลานักล่ามากินแล้ว ต้องสกัดกั้นเฝ้าระวัง อันนี้เรื่องใหญ่เลย อย่างระโนดเรอย่าให้ข้ามไปสงขลา ในทะเลสาบ ให้เข้ามาบีบให้น้อยลงให้ได้ โดยการควบคุม
ปัญญา : ถ้าบางปะกงหลากหลายจริง แต่วันนี้มันเข้าบางคล้าแล้ว ถ้าไม่ทำอะไรเลยจะเข้าลึกไปอีก
บัญชา : ต้องร่วมกันทำ วันนี้มาถูกทางแล้ว เรื่องทำหมันคือปลาที่เห็น ทั้งตัวผู้ตัวเมีย ธรรมชาติปลาไม่ว่าปลานิลหรือคางดำ ตัวยีนส์เขามีชุดโครโมโซมทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวเขามีพันธุกรรมสองเอ็นหรือสองชุด ฉะนั้นสองชุดนี้เมื่อเขาผสมระหวางเชื้อตัวผู้กับไข่ตัวเมีย ลูกเขาออกมาก็เป็นสองเอ็น เป็นสองชุด เป็นธรรมชาติการสืบพันธุ์ เป็นพันธุกรรมของเขา ขณะนี้เองนักวิชาการโดยศูนย์พันธุกรรมกรมประมง จะเอาไข่เพศเมีย ซึ่งกว่าจะเป็นตัวใช้เวลา 10 วัน เอาไข่ของเขาที่มีอายุไม่เกิน 120 นาที ไม่เกิน 2 ชม. ระยะนี้เขาแบ่งเซลล์ พาไปช็อกที่อุณหภูมิสูง แบ่งเซลล์เป็น 4 ชุด ก็จะเป็นปลา 4 เอ็น เรามาผสมกัน แต่ก็ยังไม่เป็นหมัน ต้องเอาตัวนี้ไปปล่อยในธรรมชาติ เพื่อผสมกับปลา 2 เอ็นแม่พันธุ์
วรพล : ในขั้นตอนที่เราคุยกันว่า ขั้นตอนที่ 1 การทำลาย เราติดปัญหาเรื่องนึง คือเรื่องทำลายแม่น้ำลำคลองที่ปลาพวกนี้อาศัยอยู่ แต่มีบางส่วนเช่นเขตอภัยทานหน้าวัด เราเข้าไปทำอะไรไม่ได้เลย อย่างสมุทรสาคร วัดเยอะมากเลย แต่เรือที่เข้าไปรุนพอถึงหน้าวัด ปลาคางดำก็อยู่หน้าวัดตลอด ทำไรไม่ได้ ตรงนี้เราจะทำยังไง ต้องประกาศมั้ย หรือคุยกับสำนักพุทธมั้ย
ปัญญา : ที่บอกว่าเลี้ยงผิดกฎหมายคือหน้าวัดนั่นแหละ
ฉะนั้นต้องฆ่าปลาคางดำหน้าวัดด้วย?
ปัญญา : ถ้าวัดนั้นมีชนิดเดียวก็เอาเลย
บัญชา : เขตหน้าวัดที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ กฎหมายให้อำนาจอธิบดี ให้ดำเนินการเอาเขาออก
ชาวพุทธเขาก็จะมีเรื่องรักความโลกสวย ปลาหน้าวัดเดี๋ยวจะบาป?
ปัญญา : โลกสวยไม่ได้
บัญชา : เรารณรงค์กันอย่างหนักเลยเรื่องนี้ มีหนังสือไปถึงสำนักพุทธศาสนา ให้ช่วยสร้างความเข้าใจและมีไปถึงวัดว่าท่านต้องไม่ปล่อยปลานักล่า ขอความร่วมมือ เรื่องนี้เราทำมาเป็นระยะแล้ว เขตรักษาพันธุ์ผมรับไปดูให้ กรณีใช้เครื่องมือและมีความจำเป็น ก็ยินดีให้นำออก เพื่อป้องกันปัญหานี้
ใจดีไม่ได้ อย่าไปโลกสวย ไม่งั้นปลาที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจประเทศไทยหายหมดแน่นอน คู่นึงคลอดลูกได้ 6 ล้านตัวต่อปี?
ปัญญา : ไม่ตัดตอนมาตั้งแต่แรก
มีกฎหมายควบคุมหรือยัง ว่าห้ามเอาปลาแบบนี้เข้ามา?
บัญชา : ปี 53 ที่มีปัญหา สมัยนั้นไม่ได้มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะ แต่มีห้ามไม่ให้ผู้ใดนำเข้าสัตว์น้ำเข้ามาในประเทศเว้นแต่ได้รับอนุญาต แต่เจตนากฎหมายสมัยนั้นเพื่อคุ้มครองโรคกับสุขอนามัย กินแล้วไม่มีสารตกค้าง จนกฎหมายปี 58 กฎหมายใหม่ เป็นพระราชกำหนดการประมง กำหนดเอาไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าสัตว์น้ำที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ผมในฐานะเป็นกรรมาธิการก็นำไปใส่เพิ่มในบทลงโทษ กรณีนำมาแล้วผิดเงื่อนไข ข้อกำหนด ทำให้เกิดผลกระทบ ท่านต้องรับโทษทางอาญาและปกครอง ต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ตอนนี้นำเสนอแล้วเพื่อป้องกันในอนาคต เรานำบทเรียนไม่ใช่วัวหายแล้วล้อมคอก ตอนร่างกฎหมายเข้าสภาเรื่องนี้ที่รับหลักการ ตอนนั้นไม่มีมาตรานี้ เราไม่รู้จะมีปลาอะไรเข้ามาอีก ไม่รู้ผู้นำเข้าจะผิดพลาดอะไรหรือเปล่า ก็เอาใส่กฎหมายไว้ให้ชัด ไม่ใช่ฝ่ายบริหารนึกจะทำก็ทำ นึกจะไม่ทำก็ไม่ทำ
ปัญญา : ปลาหมอเทศ มาจากต่างประเทศ มันเป็นเอเลียนสปีชีส์แต่มันก็ไม่รุกราน ปลานิลก็เหมือนกัน ไม่รุกราน ถ้ารุกรานต้องศึกษาก่อน ถ้ารุกรานต้องห้ามเลย ไม่รุกรานยังโอเค มันสร้างความหลากหลายให้เรา ต้องศึกษาไม่ใช่อยู่ๆ เอามาเลยแล้วเป็นปัญหา