วันที่ 17 ก.ค.2567 เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนร่างพ.ร.บ.ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี2567 วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท วาระแรก
จากนั้นน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า เป็นการเสนอร่างพ.ร.บ.ที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ หลายมาตรา อาทิ มาตรา 21 ซึ่งกำหนดว่าการจัดทำงบรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อใช้ในระหว่างปีงบประมาณ ไม่ใช่ใช้ข้ามปี และไม่สามารถรอใช้ในปีต่อไปได้ แต่การเสนอของบเพิ่มเติม จะทำให้มีเงินออกไปใช้หลังจากที่ พ.ร.บ.งบฯ67 สิ้นสุดลง ในวันที่ 30 ก.ย.นี้ มาตรา 43 ว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันที่กำหนดให้ทำไว้ก่อนสิ้นปี หากรัฐบาลจะชี้แจงว่า การลงทะเบียนคือการก่อหนี้ผูกพัน ตนมองว่าไม่ใช่ เพราะการก่อหนี้ผูกพันต้องมีสัญญา 2 ฝ่าย แต่การลงทะเบียนคือ การทำสัญญาฝ่ายเดียว หากรัฐบาลคิดว่าเป็นการก่อหนี้ จะทำให้เกิดบรรทัดฐานที่ผิด และมีหน่วยงานรัฐเอาอย่าง เมื่อใช้งบไม่ทัน จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน
“ถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ขนาดนั้น ทำไมรัฐบาลไม่แก้ไขกฎหมายวินัยการเงินการคลังให้เรียบร้อย เพราะฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา ที่สามารถขอ แก้ไขมาตรา 21 เพิ่มวรรคท้าย คือ เว้นมีเหตุให้เป็นอย่างอื่น โดยได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เพื่อให้เป็นความรับผิชอบของฝ่ายการเมืองหรือกำหนดว่า ได้รับความเห็นชอบของนายกฯ แต่ตอนนี้พบว่าเป็นการเดินหน้าลุยไฟทำผิดกฎหาย คนที่เดือดร้อน คือ ข้าราชการประจำที่ลงนามเรื่องต่างๆ โดยฝ่ายการเมือง ไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในการตัดสินใจที่เสี่ยงผิดกฎหมาย” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า งบกลาง เงินสำรองจ่ายไม่พอสามารถเบิกจ่ายทุนสำรองจ่ายได้ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 45 ใช้ได้เมื่องลกลางสำรองจ่ายไม่เพียงพอ จึงกล้าลดวงเงิน 4.5 แสนล้านบาท เพราะวงเงินทุนสำรองจ่าย 5 หมื่นล้านบาท ใช้ได้เมื่อจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ราชการแผ่นดิน จะเร่งด่วนจริงหรือไม่ เพระต้องใช้ในไตรมาสสี่ ทั้งนี้มีคำถามคือ จะมีความจำเป็นเร่งด่วนจริงหรือไม่ ซึ่งมองว่ามีเพียงอย่างเดียวคือ รักษาหน้าของรัฐบาล ทั้งนี้งบส่วนดังกล่าวหากเบิกจ่ายจริง ต้องใช้คืน ในปี 2569 ถือว่าเป็นการยืมเงินข้ามปี
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า ในประเด็นที่เสี่ยงผิดกฎหมาย ยังมีคือ การตีความว่าโครงการเติมเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ตเป็นงบรายจ่ายลงทุนหรือไม่ ทั้งนี้นิยาม คือซื้อสิ่งของ สร้างสิ่งปลูกสร้าง อายุเกิน 1 ปี หรือค่าจ่ายสิ่งปลูกสร้าง แต่ของดิจิทัลวอลเล็ต ใช้เพื่ออุปโภคบริโภค แต่กลับตีความว่าเป็นรายจ่ายลงทุนสูง 80% แต่หากไม่นับเป็นรายจ่ายลงทุน จะผิดต่อพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 20 คือ รายจ่ายลงทุนจะมีไม่ถึง 20% และเป็นตัวเลขที่มากกว่าการขาดดุลงบประมาณ หากบอกว่างบเพิ่มเติมไม่ใช้เกณฑ์เดียวกันกับงบประจำปี ถือว่าฟังไม่ขึ้น และรัฐบาลจ้องแก้ไขทำให้ถูกต้อง ทั้งนี้ทำไมรัฐบาลไม่เลือกแก้กฎหมายเพราะอยู่ในวิสัยที่ทำได้แต่เลือกทางเสี่ยง ทางลุยไฟ ตนมองว่าเพราะรัฐบาลไม่พร้อม เนื่องจากอีก 15 วัน จะเปิดให้ลงทะเบียน ขณะที่ตอนนี้ยังหาเจ้าภาพไม่ได้ เพราะในเอกสารที่เสนอของบเพิ่มยังระบุเป็นภาพรวม
“โครงการนี้บอกได้คำเดียวว่าการลงทุนไม่รู้เท่าไร ตีไว้ 5 แสนล้านบาท ที่ลงทุนไปได้รักษาหน้า ว่าได้ทำตามที่หาเสียง แม้หน้าตานโยบายไม่เหมือนที่หาเสียงตั้งแต่ต้น เพิ่มจีดีพี เต็มที่ 1.8% หรือได้คืน 3.5แสนล้านบาท การได้คืนเท่านี้ เรียกว่าคุ้มหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้คือเพิ่มความเสี่ยงของประเทศไม่มีปัญญารับมือปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต และต้องทำผิดกฎหมายหลายข้อ หากทำต่อไปจะสร้างบรรทัดฐานที่ผิดต่องบประมาณ นอกจากนั้นยังเอื้อค้าปลีกรายใหญ่ กีดกันรายย่อยไม่รู้ตัว รวมถึงเสียโอกาสการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ประชาชนเพราะต้องใช้เงินปลายปี
อีกทั้งยังเสียอีกหลายโอกาส ที่จะเกิดในงบประมาณปี 69 และ 70 ทำให้งบที่ใช้พัฒนาประเทศที่จะมีศักยภาพลดลง ทั้งนี้ถือเป็นกระสุนนัดใหญ่ นัดสุดท้ายของรัฐบาลนัดเดียวที่จะเป็นปัญหา ทั้งนี้ขอส่งสัญญาณไปยังพรรคร่วมรัฐบาลจะกลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดที่สุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมาย และทำให้เกิดปัญหาในอนาคต ขอให้ สส.รัฐบาลคว่ำร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว