สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์

พระพุทธศตวรรษมีพระนามอย่างเป็นทางการว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานมณฑลสุทรรศน์”  พระ 25 พุทธศตวรรษ นับเป็นวัตถุมงคลที่เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสและเป็นที่นิยมสะสมทั้งในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาและพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง  ด้วยคุณค่าแห่งมูลเหตุการจัดสร้างในโอกาสกึ่งพุทธกาล  การจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ กับทั้งอภินิหารขององค์พระที่ปรากฏประจักษ์

 “พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ” มีการจัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อชิน และเนื้อผง (ดิน) ผสมเกสร (มีปรากฏเนื้อนาก ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก) เพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึกแก่ข้าราชการทั่วประเทศ พ่อค้า และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล

มีการจัด "พิธีมหาพุทธาภิเษก" ถึง  2 ครั้ง คือ ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ละครั้งทำพิธีกัน 3 วัน 3 คืน โดยมีพระราชาคณะร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถึง 25 รูป พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกอีก 108 รูป และที่สำคัญก็คือ ในระหว่างการทำพิธีก็จะเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ต่างๆ จนทำให้ผู้ร่วมพิธีเกิดความปีติกับงานมหามงคลในครั้งนั้นอย่างมากมาย

เนื้อทองคำ

พระเนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบนูน กว้าง 1.8 ซม. สูง 4.7 ซม. หนา 2 มม. รูปทรงใบข้าว ด้านหน้าจำลองพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ปางลีลา ประทับยืนบนฐานบัวชั้นเดียว ภายในกรอบซุ้มเส้นลวด ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของขอบมีรอยหยักทั้ง 2 ข้าง  พิมพ์ด้านหลัง เป็นหลังเรียบ ไม่มีเส้นขอบซุ้ม ตรงกลางเป็น “ยันต์รูปใบพัด” เป็นยันต์ประทับหลัง ด้านบนของยันต์มี “อุณาโลม” 3 ตัว ด้านล่างใต้รูปยันต์มีรอยปั๊มลึกลงไปลักษณะคล้ายเมล็ดงา 1 แห่ง วัสดุที่สร้างเป็นทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง ผสมด้วย “นวโลหะ” ซึ่งสร้างตามตำราการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ สร้างจำนวน 2,500 องค์

พระเนื้อชิน พุทธลักษณะเหมือนเนื้อทองคำทุกประการ เนื้อหามวลสารเป็นการผสมโลหะต่างๆ อาทิ พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, พลวงบริสุทธิ์ ฯลฯ ให้เป็นเนื้อชิน นอกจากนี้ยังมี นวโลหะ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ตะกั่ว ที่พระเกจิอาจารย์ทั่วราชอาณาจักรลงเวทมนตร์ เลขยันต์คาถา พร้อมด้วยเศษชนวนหล่อพระในพิธีต่างๆ ผสมลงไปด้วย สร้างจำนวน 2,421,250 องค์

พระเนื้อดิน

ส่วน พระเนื้อผง (ดิน) ผสมเกสร เป็นพระพุทธรูปแบบนูน รูปทรงรียาว  เนื้อหามวลสารประกอบด้วย ดินที่ขุดจากฝั่งทะเลสาบสงขลา เป็นดินที่มีลายเป็นพรายน้ำในตัว มีสีเหลืองนวล ละเอียด คล้ายเนื้อพระเครื่องโบราณที่เรียกว่า "พระเครื่องบึงสามพัน" ผสมกับผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด ว่านใบไม้ต่างๆ รวมทั้งดินหน้าพระอุโบสถจากวัดทั่วประเทศ ดินจากบริเวณที่จะสร้างพระพุทธรูปยืนที่พุทธมณฑล ดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากอินเดีย ผงวิเศษจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของโบราณที่ชำรุด เช่น พระสมเด็จฯ พระนางพญา พระขุนแผน และพระรอด เป็นต้น สร้างจำนวน 2,421,250 องค์

  นอกจากนี้ยังจัดสร้าง “เหรียญเสมา” หรือ “เสมาพระพุทธรูป” ลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา หูในตัว ด้านบนมีห่วง พิมพ์ด้านหน้าเป็นรูปจำลองพระประธานพุทธมณฑล พิมพ์ด้านหลังเป็นพระคาถา “เย ธัมมา เหตุปปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต เตสัญจ โย นิโรโธ จ เอวัง วาที มหาสมโณติ” ซึ่งแปลว่า “พระมหาสมณทรงมีพระวาทะอย่างนี้ คือ ตรัสซึ่งธรรมที่มีเหตุเป็นแดนเกิด อนึ่งตรัสเหตุของ

เนื้อชิน ธรรมเหล่านั้น คงความดับของธรรมเหล่านั้น และอุบายเป็นเหตุดับของธรรมเหล่านั้น” ด้านบนพระคาถาเป็น “อุณาโลม” ใต้พระคาถาจารึก “งานฉลอง ๒๕ พ.ศ.ว.”

เนื้อทองคำ” นั้นจะมีแม่พิมพ์เดียวแล้วบล็อกไม่แตก จึงไม่มีเข็มใต้ฐานบัวปรากฏอยู่ ส่วน “เนื้อชิน” นั้น แม้ราคาจะยังไม่แพงแต่กลับมีปลอมกันทั่วไป ให้สังเกตรอยเส้นที่แล่นผ่านยันต์ด้านหลังขององค์พระเป็นสำคัญ และอีกอย่างให้ดูเนื้อ เล่นเนื้อมันๆ วาวๆ เพราะดีบุกผสมตะกั่ว ดีกว่าเล่นเนื้อดำ แล้วขอบข้างองค์พระเนื้อโลหะ ทั้งหมดจะไม่บางมากนะครับ เพราะเป็นพระที่ใช้เทคโนโลยีการปั๊มสมัยใหม่ช่วงปี 2500 ซึ่งสามารถกระแทก ตัดโลหะได้แล้ว สำหรับ “พระผง” นั้น เนื่องจากทำเป็นจำนวนมากและสมัยก่อนเหลือเป็นจำนวนมาก จึงมีการนำบางส่วนไปบรรจุกรุ ส่งผลให้เมื่อมีการเปิดพบบางกรุในปัจจุบันจะพบเห็นองค์พระ ที่มีคราบไคลจาก การอยู่ในกรุ และองค์พระจะหดตัวลงเล็กน้อยถ้าเทียบกับที่ไม่ได้เข้ากรุ

สำหรับแนวในการพิจารณา“พระ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ” มีจุดสังเกตดังนี้

l พื้นของเหรียญมีเส้นรัศมีและเป็นแอ่งกระทะ

l  ปลายหูทางด้านซ้ายมือขององค์พระแตกเป็น 3 เส้น

l  ใต้ฝ่ามือประทานพรมือซ้ายขององค์พระ แตกเป็นแนวนอน 4 เส้น

l  บริเวณสะโพกด้านขวาขององค์พระมีเส้นคู่  2 เส้น

l  ด้านข้างปั๊มตัดเต็มใบมีด

เนื้อชินตะกั่ว

ส่วนด้านหลังเหรียญ 25 พุทธศตวรรษทุกเหรียญจะปรากฏเสี้ยนอยู่ในร่องยันต์ เนื้อจะออกสีทองจำปา (เหลืองอมแดง)พื้นผิวบริเวณขอบข้างทั้งสองด้าน จะมีเส้นรัศมี ตัวตัดขอบเหรียญมีเพียงตัวเดียวเท่านั้น

พระ 25 พุทธศตวรรษ นับเป็นวัตถุมงคลที่เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสและเป็นที่นิยมสะสม ด้วยการจัดสร้างในโอกาสกึ่งพุทธกาล  และพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ครับผม