วันที่ 9 ก.ค.67 ที่ห้องประชุมมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา มอบหมายให้ นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืนระดับจังหวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมด้วย พระครูปริยัติธรรมกิจ ผู้แทนเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ฝ่ายมหานิกาย พระครูพิศาลธรรมโชติ ผู้แทนเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ฝ่ายธรรมยุต และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิธีฯ

จังหวัดฉะเชิงเทรา เล็งเห็นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและด้านการช่วยเหลือสังคม ซึ่งที่ผ่านมา จังหวัดฉะเชิงเทราได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับคณะสงฆ์ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมในทุกมิติ และตอบสนองต่อนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่มุ่งเน้นการ เกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชน ให้มีความสุขอย่างยั่งยืน อันเป็นการหนุนเสริม "เสาหลักของประเทศชาติ" คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เพื่อให้การดำเนินการตามโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์อย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และคณะสงฆ์ เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืนให้บรรลุตัวชี้วัด 8เรื่อง คือ ที่อยู่อาศัย โดยต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ความมั่นคงทางอาหารโดยใช้ประโยชน์ ของพื้นที่สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ตามโครงการ"บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง" หรือ "ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน"

ความสะอาด โดยบ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน สะอาด มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการคัด แยกขยะต้นทาง (aR) และมีการจัดการขยะหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น ตลาดนัดขยะ ธนาคารขยะ จุดทิ้งขยะ อันตราย เป็นต้น

ความสามัคคี โดยมีการรวมตัวกันเป็นคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ฯลฯ เพื่อดูแลช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน ความร่วมมือ โดยมีการประชุม พบปะกันเป็นประจำในระดับคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน

ในลักษณะ "ร่วมคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์" การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการจัด กิจกรรมทางศาสนาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นประจำตามความศรัทธา ความเชื่อประเพณี และวัฒนธรรม ของคนในหมู่บ้าน ความมั่นคงปลอดภัย หมู่บ้าน/ชุมชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีการ ช่วยเหลือคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ให้ติดยาเสพติดลดความเสี่ยงด้านกายภาพ (ไฟฟ้า, ถนน, ภัยพิบัติ, อุบัติเหตุ) และปลอดอาชญากรรม

การมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี โดยมีภาชนะกักเก็บน้ำรูปแบบต่างๆ มีการบำรุงรักษาฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำเดิมหรือจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำใหม่