วันที่ 7 ก.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ที่พบปลาหมอคางสีดำ สัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิตที่อันตราย (หรือปลาเอเลี่ยนสปีชี่ส์) ในแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย เช่นเดียวกับที่ จ.สมุทรสาคร โดยล่าสุดทางประมงจังหวัดฯยังพบว่า มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางนั้น เพื่อเป็นการช่วยกันตัดวงจรชีวิต “ปลาหมอสีคางดำ” ในแหล่งน้ำต่างๆซึ่งแพร่จำนวนออกมาทำลายวงจรสัตว์และธรรมชาติอย่างหนัก

โดยเผดิม รอดอินท์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เผยว่าจากสภาพของปัญหาปลาหมอสีคางดำ จึงได้กำหนดทำโครงการแบบร่วมมือมือร่วมใจในฐานะกลุ่มพันธมิตรชาวบ้านและชาวเรือเรือประมง ร่วมในกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 9 ก.ค.67 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ คลองท่าแร้ง (บริเวณวัดยกกระบัตร ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว ร่วมออกไล่ล่ากำจัดปลาหมอสีคางดำ ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในจังหวัดสมุทรสาคร จึงฝากร่วมสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน ถึงสถานการณ์ปัญหาของการแพร่ระบาดปลาหมอสีในทุกพื้นที่เป็นต้นไป

ด้านชมรมเรืออวนลาก โดยนายกมล ไกรวัตนุสสรณ์ ปธ.ชมรมเรืออวนลากจ.สมุทรสาคร กล่าวว่า สถานการณ์การะบาดในขณะนี้ถือเป็นขั้นวิกฤติหนักแล้ว หากไม่รีบกำจัดหรือทำลายมันให้ปริมาณลดลงนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ทั้งลูกสัตว์น้ำตัวอ่อนแน่นอน และพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติและบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน นั้นจะต้องถูกกินไปจนหมดรวมทั้งปลาอีกประเภทได้อย่างเร็ว ดังนั้นจะต้องรีบเร่งกำจัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอสีชนิดนี้ ทั้งนี้ ก็จะช่วยลดปัญหาปลาคางดีที่อันตราย อย่างน้อยก็ช่วยทำให้มันการแพร่ระบาดลดน้อยลงได้ต่อไป 

“ซึ่งในปีที่ผ่านมาทางรัฐบาลก็ได้การสนับสนุนด้านงบประมาณมาเงินอุดหนุนมาช่วย (ซื้อปลาหมอสีนี้) จำนวน 500,000 กิโลกรัม ซึ่งล่าสุดนี้ยังคงเหลือวงเงิน ที่รับซื้อได้ อีกประมาณ 30,000 กิโลกรัม โดยสนับสนุนให้กับแพปลา 3 แห่งในเขต อ.เมืองสมุทรสาคร ส่วนอีก 2 แห่งที่อำเภอบ้านแพ้ว ในฐานะเป็นผู้รับซื้อเพื่อส่งจำหน่ายให้กับโรงงานปลาป่น ทั้งนี้ทางแพปลากำหนดราคารับซื้อไว้กิโลกรัมละ 5 บาท โดยทางแพปลาจะได้รับค่าดำเนินการเพิ่มอีก 2 บาท”