เมื่อวันที่ 6 ก.ค.67 ที่ศาลาเมตตาธรรม วัดป่าสัก (ธ) ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท นางสาวชไมพร อำไพจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช เนื่องในอภิลักขิตสมัย 200 ปี นับแต่ทรงผนวช ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีพระราชวชิรกิจจาทร เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท เจ้าอาวาสวัดพระบรม วรวิหาร พระวิสุทธินายก เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท (ธ) เจ้าอาวาสวัดดอนตูมกมลาวาส เป็นประธานสงฆ์ พร้อมด้วย คณะสงฆ์จังหวัดชัยนาท ส่วนราชการ ประชาขน เข้าร่วมพิธีฯ

โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท  ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  จุดเทียนส่องธรรม  จุดเครื่องทองน้อยหน้าพระประธานบูชาธรรม  เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล  พระสงฆ์ถวายศีล  เจ้าหน้าที่อาราธนาธรรม พระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนาจบ  พระสงฆ์อนุโมทนาบนธรรมมาสน์  ประธานในพิธีถวายเครื่องกัณฑ์เทศน์  เจ้าหน้าที่ลาดพระภูษาโยง และรองโยง  ประธานในพิธี ทอดผ้าไตร จำนวน 1 ไตร  เจ้าหน้าที่เชื่อมพระภูษาโยง  พระสงฆ์ สดับปกรณ์ พระสงฆ์ ถวายอดิเรก พระสงฆ์ จำนวน 10 รูป ขึ้นนั่งประจำอาสน์สงฆ์  เจ้าหน้าที่อาราธนาพระปริตร  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว  ประธานในพิธี พร้อมคณะ ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ จำนวน 10 รูป เจ้าหน้าที่ลาดพระภูษาโยง และรองโยง ประธานในพิธีทอดผ้าไตร จำนวน 10 ไตร เจ้าหน้าที่เชื่อมพระภูษาโยง พระสงฆ์ สดับปกรณ์ พระสงฆ์อนุโมทนา ถวายอดิเรก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นราชโอรสองค์ที่ 43 ของ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาศ และเป็นบุตรองค์ที่ 2 ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2348 พระนามเดิมว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2399 เมื่อพระชนมายุได้ 47 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 18 ปี เสด็จสวรรคต พ.ศ. 2411 เมื่อพระชนมายุ 65 พรรษาทรงเลื่อมใสในการศาสนามาแต่ยังทรงพระเยาว์ และยังทรงผนวชตลอดรัชกาลที่ 3 ด้วยความเลื่อมใสอย่างแท้จริงจนมีความรู้แตกฉานในภาษามคธ และการพระศาสนา ทั้งได้เรียนภาษาอังกฤษจากมิชชันนารีที่เข้ามาสอนศาสนาคริสต์อีกด้วย แต่ในครั้งนั้นการศาสนาหย่อนมาก จนเป็นเหตุให้ประชาชนไม่เลื่อมใสพระองค์ ทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นที่วัด ราชาวาส ซึ่งเป็นวัดที่ทรงผนวช พ.ศ. 2372  และสงฆ์ธรรมยุติกนิกายได้เจริญเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้