สุรินทร์ สมาคมครู ผู้บริหารการศึกษาเมืองช้างถกสนั่น หลัง ผอ.เขต มีหนังสือหารือ สพฐ.พิจารณา ยุบ เลิก หน่วยงานย่อย

เมื่อวานนี้(วันที่  3  ก.ค. 67 ) นายประยงค์  เสาวลักษณ์จรรยา   ผอ.สพป.สุรินทร์  เขต  2  ได้เป็นประธานเปิดการประชุม หารือถึงการยุบ เลิก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  สุรินทร์ เขต 2 (เดิม) สาขาย่อยท่าตูม -ชุมพลบุรี  หรือที่เรียกว่า ซับสเตชั่นท่าตูม -ชุมพลบุรี  ที่ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  สุรินทร์  เขต  2  โดยมี ตัวแทนคณะครู  ผู้บริหาร นายกสมาคมครู อำเภอรัตนบุรี  อำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี  อำเภอสนม อำเภอโนนารายณ์ ตลอดทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมประชุมในครั้งนี้

จากเรื่องดังกล่าวนายประสิทธิ์  สุขชีพ  อดีต ผอ.โรงเรียนบ้านท่าศิลา อ.ท่าตูม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าตนได้รับหนังสือ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  สุรินทร์ เขต 2  เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการบริหารจัดการของศูนย์บริหารจัดการศูนย์ ท่าตูม-ชุมพลบุรี หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ซับสเตชั่น  ซึ่งขณะนี้ทางคณะผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบมาว่า  ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์  เขต 2 ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ว่าการบริหารซับสเตลั่นที่อำเภอท่าตูมมีปัญหา  มีอุปสรรคหลายสิ่งหลายอย่าง ซึ่งทราบว่าจะมีการขอยุบศูนย์ย่อย


ทั้งนี้นายประสิทธิ   สุขชีพ  ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอรัตนบุรี ซึ่งมีเขตพื้นที่ให้บริการกับสถานศึกษารวม 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอรัตนบุรี  อำเภอท่าตูม  อำเภอชุมพลบุรี  อำเภอสนม และอำเภอโนนนารายณ์ จากการตั้งสำนักงานเขตพื้นที่ดังกล่าว ทำให้พี่น้องเพื่อนครู ผู้บริหารอำเภอท่าตูม และชุมพลบุรี เห็นว่า สำนักงานเขตอยู่ไกลยากต่อการเดินทางมาติดต่อราชการ จึงได้เรียกร้องให้มีการการตั้งหน่วยงานย่อยท่าตูม-ชุมพลบุรี ซึ่งเรื่องนี้ได้เป็นนวัตกรรมสำคัญของ สพฐ.ไปแล้ว ซึ่งครั้งนั้นก็ได้รับความเห็นชอบเห็นดีเห็นงาม จาก ผู้ใหญ่ใน สพฐ.ว่าควรจะมีหน่วยงานย่อยหรือเรียกว่า ซับสเตชั่นท่าตูม ชุมพลบุรี เพื่อให้บริการกับเพื่อนครูที่อยู่ห่างไกล ครั้นจะมีการหารือถึงการจะยุบหน่วยงานย่อยจึงต้องมาร่วมชี้แจงให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงความจำเป็นดังกล่าวต่อไป


จะอย่างไรก็ตามสำหรับบรรยากาศการประชุม ก็มีการพูดถึงข้อดีข้อเสียของการมีหน่วยงานย่อย หรือซับสเตชั่นกันพอสมควร เช่น ควรลดบทบาทของศูนย์ซับสเตชั่นลง เนื่องจากที่ผ่านมาทางคณะครูอำเภอชุมพลบุรีก็ไม่ได้เข้าไปใช้บริการ  เนื่องจากศูนย์ย่อยยังไม่มีความครอบคลุมด้านการดำเนินงาน แต่หากต้องการให้ศูนย์ยังคงอยู่ สำนักงานเขตฯต้องจัดหาบุคลากรเข้าประจำยังศูนย์ดังกล่าว


ขณะที่นายกสมาคมผู้บริหารอำเภอท่าตูม ได้กล่าวถึงประโยชน์ของศูนย์ว่า ยังมีความจำเป็นด้านการจัดส่งหนังสือ และการกระจายหนังสือจากสำนักงานเขตถึงโรงเรียน และการส่งหนังสือจากโรงเรียนสู่เขต จึงอยากให้คงหน่วยศูนย์หน่วยงานย่อยนี้ไว้ และหาแนวทางในการบริหารจัดการใหดีขึ้น  ซึ่งทางสมาคมผู้บริหาร อ.ท่าตูมก็ยินดีที่จะเข้าไปช่วยดูแลและหางบปะมาณสนับสนุน  การประชุมดำเนินการไปจวบจนเวลา 11.40  น.จึงสามารถได้ข้อสรุป


โดยนายประยงค์  เสาวลักษณ์จรรยา   ผอ.สพป.สุรินทร์  เขต  2  ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า จากการร่วมประชุมเพื่อหารือถึงการยุบ เลิกศูนย์ซับสเตชั่นท่าตูม-ชุมพลบุรี มติที่ประชุมยังคงศูนย์ย่อยซับสเตชั่นสุรินทร์ เขต 2 อยู่ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้โรงเรียนอนุบาลท่าตูมสนิทราษฎร์ ดูแลสถานที่ตั้งของศูนย์ ส่วนการใช้ประโยชน์ ตลอดทั้งการดูแลก็จะได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล และพิจารณาว่าจะใช้ประโยชน์ให้เกิดสูงสุดอย่างไร  ซึ่งทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  สุรินทร์ เขต 2 ก็ยังคงจัดสรรงบประมาณค่าน้ำ  ค่าไฟ  และค่าโทรศัพท์ให้กับศูนย์เช่นเดิม   จากมติที่ประชุมได้สร้างความพึงพอใจกับคณะครู ผู้บริหารอำเภอท่าตูม ชุมพลบุรี ต่างมีความพึงพอใจที่ไม่มรการยุบสำนักงานย่อยดังกล่าว ก่อนที่จะแยกย้ายและกรจายข่าวให้คณะคูได้รับทราบโดยทั่วกันต่อไป