"การรถไฟฯ-เศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต" เปิด "ร้านอีโคซอน" สร้างโอกาสคนฐานราก ปูพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศให้แข็งแกร่ง แนะรัฐบาลห้ามมองข้ามการใช้จ่ายประชาชน เพราะสร้างจีดีพี 58% ของประเทศ

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยถึงการจัดตั้งร้านอีโคซอนว่า กระทรวงอุดมศึกษาฯ ให้ทุนมหาวิทยาลัยรังสิตอมรบความรู้เศรษฐกิจให้กับประชาชน ทางคณะฯได้เลือกคนฐานรากมาอบรม คืน คนที่เป็นคนงาน และเกษตรกร จำนวน 2 รุ่นๆ 80 คน ซึ่งได้คนที่มีความรู้ทางด้านหลักการเศรษฐกิจ และนำความรู้ที่ได้มาไปปฏิบัติให้เป็นจริง โดยแนวทางที่จะให้เกิดได้จริงนั้น ควรที่จะสร้างตลาดขี้นมา เพราะเกษตรส่วนมากขาดตลาดในการนำสินค้ามาขาย อีกทั้งต้องหาพื้นที่ในการจัดตั้งตลาดที่เป็นอิสระ เนื่องจากพื้นที่มีราคาแพง ทั้งนี้จึงได้ปรึกษากับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย และสหภาพฯการรถไฟ โดยการรถไฟฯได้มอบพื้นที่อาคารที่อยู่ในบริเวณสวนรถไฟในการจัดตั้งตลาดสำหรับเศรษฐกิจคนฐานราก

ทั้งนี้เหตุผลการตั้งตลาดเศรษฐกิจคนฐานรากนั้นในระบบเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ถ้าได้ฟังนักธุรกิจ รัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์ จะมองว่าเศรษฐกิจอยู่ที่การลงทุนในต่างประเทศ หรือในประเทศไทย แต่ตัวเลขทางวิชาการ ตัวที่สร้างจีดีพีเป็นหลักไม่ใช่ธุรกิจ ไม่ใช้การลงทุนรัฐบาล แต่เป็นการใช้จ่ายของประชาชน เช่น ประชาชนจ่ายคนละ1,000 – 2,000 บาท ทั้งประเทศจะช่วยสร้างเศรษฐกิจประเทศได้ 58% ของรายได้ทั้งหมด ถ้าเทียบกับนักลงทุนได้เพียง 22% รัฐบาลได้ 15% การค้าระหว่างประเทศ 15%  ดังนั้นการที่เศรษฐกิจไทยจะโตไปได้การจับจ่ายใช้สอยฐานรากต้องแข็งแรง

"การที่เศษฐกิจไทยจะเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจฐานรากต้องแข็งแรง เมื่อแข็งแรงประชาชนก็จะมีเงินใช้จ่าย ธุรกิจก็อยู่ได้เพราะมีกำลังซื้อ อีกทั้งการศึกษาในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาจจะมองข้ามเศรษฐกิจภาคประชาชน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรังสิตให้ความสนใจในส่วยของภาคประชาชน จึงได้ทดลองทำตลาดคนฐานรากมาระยะเวลา 1 ปี ซึ่งในระยะเริ่มต้นขายได้วันละ 1,000 – 2,000 บาท มาถึงวันนี้ขายได้วันละ 20,000 – 30,000 บาท และมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอยากให้ไปจัดตั้งตลาดคนฐานรากในพื้นที่รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือพนักงานรัฐวิสาหกิจของเค้า รวมทั้งในพื้นที่ของภาคเอกชน และพื้นที่นิคมอมตะนคร เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถขยายตลาดคนฐานเศรษฐศาสตร์รากได้ทั่วประเทศในระยะเวลา 5 ปี" รศ.ดร.ณรงค์ กล่าว และว่าเป็นการเตือนไปยังรัฐบาลทุกรัฐบาลว่าถ้าเราจะพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งจะต้องพัฒนาคู่เคียงกันไป โดยรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุนลงทุนในรูปแบบบริษัท แต่เศรษฐกิจของภาคประชาชนที่ทำอย่างไรให้ประชาชนมีอาชีพ และทำให้อาชีพมีรายได้ ทั้ง 2 อย่างนี้จะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อ และทำให้ฐานรากเข้มแข็ง ซึ่งเป็นตัวหลักของการสร้างจีดีพีถึง 58% ของประเทศ

นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าฯรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรถไฟฯมีนโนบายในการสนับสนุนเศรษกิจฐานราก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ขาดโอกาสที่จะได้มีช่องทางในการนำสิ่งต่าง ๆมาหาประโยชน์ และสร้างรายได้ให้กับตนเอง รวมทั้งสร้างโอกาสทางสังคมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเบื้องต้นสหภาพฯการรถไฟฯได้เริ่มต้นในการเปิดโอกาสให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ในการให้พื้นที่จัดตั้งตลาดคนฐานราก

ส่วนในอนาคตจะมีการขยายพื้นที่ในการจัดตั้งตลาดคนฐานรากนั้น เบื้องต้นเวลานี้เป็นการนำร่องโครงการฯซึ่งต้องพิจารณาต่อไปว่า ถ้าได้รับการตอบรับที่ดี ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และมีกลุ่มอื่นๆ ประสานมาเพื่อขอเข้าร่วมโครงการฯ ก็จะมีการพิจารณาขยายพื้นที่ให้กับผู้ที่ขาดโอกาสได้มีพื้นที่ในการทำมาหากินมากขึ้น

นายกตธรรม ศรีสอาด รองประธานสโมสรนักศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การเข้าร่วมร้านอีโคซอนถือเป็น "การเปรียบภาระอย่างพวกเราเป็นพลัง" เพราะทุกคนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้เปรียบเสมือนฝึกงานในการทำธุกิจจริงๆ เช่น การนวด และการขายสินค้า ทำให้ทราบถึงหลักการการตลาด และการลงทุนต่างๆ ทำให้มีมุมมองที่กว้างมากขึ้น และทำให้ทุกคนทราบว่าเรามีความสามารถด้านต่างๆมากขึ้น ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีเกียรติ

#การรถไฟ #เศรษฐศาสตร์ #ร้านอีโคซอน #ข่าววันนี้ #มหาวิทยาลัยรังสิต