สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์                        

"พระร่วงหลังรางปืน" สุดยอดหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล" กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระปรางค์ โบราณสถานที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีพุทธศิลปะแบบขอม หรือ ลพบุรี เอกลักษณ์ คือด้านหลังมีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาวตลอดองค์พระเป็นรอยรางคล้าย "รางปืน ใหญ่โบราณ" บางองค์พบเม็ดกลมใหญ่คล้ายลูกปืนด้วย ซึ่งนักนิยมสะสม พระเครื่องในสมัยก่อนมักเรียก กันว่า "หลังกาบหมาก" หรือ "หลังร่องกาบหมาก" ต่อมาได้ปรากฏพุทธคุณทางแคล้วคลาดในเรื่อง "ปืน" อีกทั้งร่องกาบหมากด้านหลังนั้นมีลักษณะคล้าย "ร่องปืนแก๊ป" จึงขนานนามใหม่ว่า "พระร่วงหลัง รางปืน" มาจนถึงปัจจุบันจริงๆ แล้วเป็นการนำไม้มากดก่อนโลหะแข็งตัว เพื่อให้ด้านหน้าติดเต็ม จึงเป็น เอกลักษณ์คือ ให้ดูรอยเสี้ยนไม้ทางด้านหลัง อีกอย่างหนึ่ง

ชี้ตำหนิพระร่วงหลังรางปืน

พระร่วงหลังรางปืน มีความสูงประมาณ 8 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระ ประธานประทับยืน แสดงปางประทานพรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นลายกระหนกแบบ "ซุ้มกระจังเรือน แก้ว" ปรากฏทั้งชินตะกั่ว ถ้าแก่ตะกั่วจะเรียกตะกั่วสนิมแดง ซึ่งหากมีรอยระเบิดจะปะทุจากในเนื้อออก ด้านนอก ถ้าเป็นของปลอมมักใช้น้ำกรดกัดทำให้ปริจากนอกเข้าด้านใน และเนื่องจากเป็นพระที่ผ่านกาล เวลายาวนาน เมื่อส่องดูจะมีทั้ง "สนิมแดง" และ "สนิมมันปู" มีไขขาวแทรกจับ เกาะแน่นแกะไม่ออก ส่วนของปลอมใช้ของแหลม ทิ่มเบาๆ จะหลุดออก

พระร่วงหลังกาบหมาก

พระร่วงหลังรางปืนมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับ "พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี" ด้านหลังพระร่วงหลัง ลายผ้าเป็นผ้ากระสอบกดแทนที่จะใช้แท่งไม้ เท่าที่พบมีพิมพ์ใหญ่ฐานสูง และตัดฐาน ส่วนพิมพ์เล็ก พบ น้อยมาก ส่วนใหญ่จะสร้างล้อขึ้นภายหลัง วิธีการดูพระร่วงหลังรางปืนนั้น ควรมีความรู้เรื่องศิลปะขอม หรือ เขมร เพราะองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องตามหลัก "เทวราชา" พื้นผนังมีการ จำหลักลวดลายงดงาม มาก เพราะเป็นพระชั้นสูงเยี่ยงกษัตริย์ ฝ่าพระหัตถ์ขวา ยกขึ้นแสดงปางประทานพรอยู่ในระดับเหนือ พระอุระ ในองค์ที่สมบูรณ์เมื่อใช้กล้องส่องดูจะเห็นติ่งแซม บริเวณโคนพระอนามิกา (นิ้วนาง) แต่บางองค์ สนิม เกาะอาจมองไม่ถนัด

พระร่วงหลังรางตื้น

ส่วนพระกรด้านซ้ายปล่อยทิ้งยาวแนบลำพระองค์ สิ่งสำคัญคือ เส้นนิ้ว พระหัตถ์จะทาบลงเป็น เส้นตรงทับชายจีวรจนมองดูเป็นเส้นเดียวกัน ส่วนสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ฝ่าพระบาทด้านขวาขององค์ พระจะกางออกและแผ่กว้าง ส่วนฝ่าพระบาทด้านซ้าย จะงุ้มงอและจิกลง บางทีเวลาพบจะเห็นฝ่าพระบาท ชำรุดหรือมีรอยซ่อม ให้สำเหนียกไว้ว่า "อาจปลอม" เพราะเคล็ดลับสำคัญของการดูพระแท้คือ ถ้าจุด สำคัญที่เป็นเอกลักษณ์มีรอยซ่อม ต้องระวังไว้ให้ดีครับ

พระร่วงหลังรางปืน

ถ้าเป็นพระกรุเก่าที่แท้จริงแล้ว วรรณะของสนิมที่ฝังตัวติดอยู่ในเนื้อตะกั่วนั้น จะมีสีสันที่แตกต่างกัน มีทั้ง สีแดงอ่อน สีแดงเข้ม แดงอมม่วง สีแดงส้ม รวมถึงสนิมแดงที่เรียกว่า “สนิมมันปู” ขึ้นอยู่กับแร่โลหะต่างชนิดที่ผสม เนื้อพระที่แท้จริงของตะกั่วได้เปลี่ยนสภาพปรากฏเป็นเนื้อตะกั่วผสมสนิมสีแดง ตั้งแต่ผิวชั้นบนสุดฝังลึกถึงแกนกลางของเนื้อชั้นในสุด เรียกว่า ‘ยิ่งลึกสนิมยิ่งแดง’ ก็ว่าได้ ไม่ใช่เกาะเพียงแค่พื้นผิวภายนอกเท่านั้น และที่สำคัญ พื้นผิวสนิมมักจะแตกระแหงเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายใยแมงมุม คือจะแตกไปในทิศทางต่างๆ กัน สลับซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสนิมแดงตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาและจากสภาวะอากาศภายในกรุ ลักษณะพิเศษอีกประการ คือ พระร่วงหลังรางปืน จะมีไขมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ

พระร่วงหลังรางปืน

ส่วนด้านพุทธคุณพระร่วงหลังรางปืน มีพุทธคุณสูงส่งครบครัน ทั้ง อำนาจบารมี แคล้วคลาด โภคทรัพย์ เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี อีกทั้งป้องกันไฟไหม้ได้ด้วย จนมีคำกล่าวกันว่า “ถ้าแขวนพระร่วงหลังรางปืน จะไม่มีการตายโหงอย่างเด็ดขาด”ครับผม