วันที่ 20 มิ.ย.67 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" ระบุว่า...
สิ่งที่เป็นความเข้าใจผิด คือ คนทั่วไปคิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่รุนแรง แต่ในความเป็นจริง เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ส่งผลกระทบรุนแรงต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย และนำไปสู่การเสียชีวิต”
มนุษย์ต่างวัย ชวนฟังประสบการณ์จริงของ “คุณวิบูลย์ ตีรทรานนท์” วัย 58 ปี ที่ต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อคุณแม่ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จากที่เคยมีร่างกายแข็งแรง กลับต้องกลายเป็นผู้ป่วยที่นอนรักษาอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤติมานานกว่า 5 เดือน จนทำให้คุณแม่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คุณวิบูลย์ตระหนักว่า ไข้หวัดใหญ่กับผู้สูงวัยนั้นรุนแรงมากกว่าที่คิด
“มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สูงสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ปอด การป้องกันที่จำเป็นและคุ้มค่ามากที่สุดสำหรับผู้สูงอายุก็คือการฉีดวัคซีน”
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ
ปัจจุบัน นอกจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดมาตรฐานแล้ว อาจพิจารณาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง ซึ่งมีแอนติเจนมากกว่าขนาดมาตรฐาน 4 เท่า เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เพราะผู้สูงอายุมีระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมสภาพจากการที่อายุมาก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูงช่วยลดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่แบบมีอาการได้ดีกว่าวัคซีนขนาดมาตรฐานได้ถึงร้อยละ 24 ลดการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ได้มากกว่าวัคซีนขนาดมาตรฐาน และมีข้อมูลจากการศึกษาแบบย้อนหลังว่า สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้
*คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566
ดังนั้น การป้องกันด้วยวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือการลงทุนทางสุขภาพที่คุ้มค่ามากที่สุด ก่อนจะมีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง