เมื่อเวลาประมาณ 19.35 น. วันที่ 17 มิ.ย.67 เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำ ได้นำเรือน้ำมันเถื่อน 3 ลำ ทยอยเข้าเทียบท่า ที่ท่าเทียบกองกับกำการ 7 กองบังคับการตำรวจน้ำ จ.สงขลา โดยเรือลำแรกเป็นเรือกำไรเงิน ซึ่งมีการพยายามแปลงสภาพทาสีพื้นเรือเรือใหม่จากสีแดง เป็นสีเขียว แต่ยังทาไม่เสร็จทั้งหมด เนื่องจากถูกกดดันหนีเสียก่อน ก่อนถูกตามจับได้ ส่วนถัดมาเป็นเรือเจพี และเรือลำสุดท้ายเป็นเรือ ดาวรุ่ง ซึ่งเครื่องยนต์เสียเจ้าหน้าที่ลากประกบมาจนถึงท่าเทียบเรือ

เมื่อมาถึง พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมด้วย พล.ต.ต.พฤทธิพงศ์ นุชนารถ ผู้บังคับการตำรวจน้ำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้มีคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 8 ราย ซึ่งเป็นคนไทยทั้งหมด โดยได้เข้าสอบประวัติ อัตลักษณ์บุคคล ก่อนจะมีการตรวจสอบบริเวณรอบลำเรือ และปริมาณน้ำมัน ส่วนผู้ต้องหาทั้งหมคืนนี้ จะฝากขังไว้ที่ สภ.เมืองสงขลา เพื่อเตรียมตัวนำไปที่กองบังคับการปราบปราม กรุงเทพฯ เพื่อสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน หลังมีการตรวจสอบเบื้องต้น ว่า จากข้อมูลที่ตรวจยึดตั้งแต่ทีแรกก็ทราบว่า มีการนำน้ำมันในเรือออกไปจำหน่ายแล้ว และมีการพยายามแปลงสภาพของเรือ โดยการทาสี ไม่ให้เจ้าหน้าที่ตามจับได้ แต่พอมีการกดดันจากหลายฝ่ายจากกัมพูชา จึงรีบหนี แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามสกัดจับไว้ได้ ขณะที่ปริมาณน้ำมัน มีเหลือไม่มาก อยู่ในปริมาณที่จะใช้เดินเรือได้เท่านั้น หลังจากนี้จะมีการวัดปริมาณให้แน่ชัดว่า แต่ละลำเหลือปริมาณเท่าไหร่ และขอชี้แจงให้ประชาชนได้ทราบว่า เรือของกลาง จำนวน 3 นี้ มีมูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันถ้านำไปขายในท้องทะเล อยู่ที่ลิตรละประมาณ 10 – 15 บาท รวมมูลค่าทั้งหมดประมาณ 4-5 ล้านบาท แต่เรือต้องถูกยึด สร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการมากกว่า

ส่วนเรื่องน้ำมันที่หายเป็นก็จะต้องดำเนินคดีต่อไป ซึ่งศาลได้อนุมัติหมายจับ ตามมาตรา 142 การนำพาของกลาง การลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ขณะเดียวกัน ผู้ต้องหาที่หนีหายไปอีก 7 ราย จะต้องมีการติดตามจับกุมต่อไป จึงฝากบอกไปยังผู้ที่กำลังหลบหนีอยู่ ขอให้เข้ามอบตัวดีกว่า ซึ่งยังสามารถให้การได้ว่าเจ้าของเรือได้ส่งสัญญาณอะไรในการนำพาเรือหนี หรือหลอกล่อด้วยสิ่งใดที่จะช่วยเหลือให้รอดพ้นได้หรืออย่างไร แต่ทั้งนี้ขอให้เข้ามาให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี หรือมีประโยชน์ของตัวลูกเรือเองที่จะไปสู้คดีในชั้นศาล

ขณะที่การทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งดำเนินการบกพร่องที่มีอยู่ประมาณ 3-4 ราย ทำให้เกิดความเสียหายอาจจะถูกฟ้อง ถือว่าทำหน้าที่ไม่เต็มที่ ก็ต้องรับผิดชอบ โดนทั้งคดีอาญา โดนทั้งวินัย และละเมิดด้วย โดยให้เวลาผู้ที่ทำการตรวจสอบเรื่องนี้ ภายใน 7 วัน ว่ามีความบกพร่องในหน้าที่ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เรือหนีหายออกไป หรือไม่ ซึ่งจะดำเนินการอย่างที่สุด โดยไม่ละเว้น

ญาติของหนึ่งในผู้ต้องหาที่อยู่บนเรือ JP ซึ่ง ชื่อจำปี เปิดเผยทั้งน้ำตา ว่า พ่อบุญธรรม ได้ออกเรือไป ตั้งแต่ 4 เดือนก่อนโดยมีเพื่อนมาชวนว่าให้ออกเรือ ซึ่งก่อนนี้หน้านั้น พ่อบุญธรรม เป็นยามที่กงสุล ในจังหวัดสงขลาก่อนที่ตกงานและมีเพื่อนชักชวนออกเรือหายเป็น 4 เดือนจนมาทราบข่าวว่าโดนจับซึ่งครั้งล่าสุดที่ได้คุยกันตอนนั้นถูกจับอยู่ที่สัตหีบ ก่อนที่ญาติจะทราบว่า วันนี้ ว่าจะมีเรือเข้ามาเทียบท่าที่ตำรวจน้ำสงขลา