วันที่ 15 มิ.ย.67 ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โพสต์ภาพและข้อความระบุว่า "สุสานจูล่ง - จูล่ง"

พี่โชติ-ทองแถม นาถจำนงเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อเกือบ30ปีที่แล้วพาคณะเพื่อนมิตรคนไทยกลุ่มหนึ่งมาเที่ยวตามรอยสามก๊ก สมัยนั้นมายากลำบากและหนทางยาวไกล การคมนาคมไม่สะดวกสบายอย่างทุกวันนี้ได้ มาถึง"สุสานจูล่ง" มีเพื่อนร่วมคณะท่านหนึ่งถึงกับร้องไห้ด้วยความดีใจเป็นล้นพ้นเมื่อมาถึงที่แห่งนี้เพราะเขาประทับใจในตัวจูล่งเป็นอย่างมาก

พี่โชติบอกว่านั่นเพราะอำนาจของวรรณกรรม.. ผมก็เชื่อเช่นนั้น

บ่ายกว่าๆ ตามเวลาท้องถิ่นหลังมื้อเที่ยงนั่งรถไปถึงสิบนาทีในเขตอำเภอต้ายี่มาถึงถนนจือหลง เขตต้าอี้(大邑) เนิยภูเขาหยินผิงซาน(银屏山) อยู่ในนครเฉิงตูเป็นที่ตั้งสุสานฝั่งร่างเตียว-จูล่ง เป็นความตั้งใจไว้แต่ก่อนโควิดว่าถ้ามีโอกาสมาเฉิงตูเส้นทางสามก๊กจะต้องมาคารวะสุสานวีรบุรุษแห่งเสียงสานให้จงได้

ภูเขาหยินผิงซานผู้คนจะนิยมมาก็เมื่อถึงฤดูหนาวหิมะลงคนมาเล่นสกีหลังจากนี้ก็เงียบๆ. จึงไม่คึกคักเท่าที่ควรอ ยู่ห่างจากนครเฉิงตู50กว่ากิโลเห็นจะได้ที่แห่งนีเมีเรื่องราวเล่าขานมากมายผ่านรอดพ้นการปล้นไล่รื้อสุสานมาหลายคราวจนถึงทุกวันนี้

ถึงแม้มาแล้วบริเวณทั้งหมดถูกปิดรั้วซ่อมทำใหม่ทั้งบริเวณตอนค้นหาข้อมูลที่มีคนไทยได้เดินทางมายังที่แห่งนี้หลายปีก่อนตั้งแต่พ.ศ.2559/๕.ศ.2016เป็นให้มีความคิดอยากพาผู้ที่สนใจมาด้วยกัน

ตัวสุสานอิงกับเนินเขาหยินผิงซานด้านหน้าเป็นถนนไม่กว้างขนาบกับลำธารไหลผ่านแม้ครั้งจะได้เห็นเพียงโครงสร้างการปรับพื้นที่ของหน่วยงานอนุรักษ์โบราณสถานของมณฑลเสฉวนที่กำลังปลูกสร้างให้สมเกียรติจูล่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสามก๊กก็คงต้องอีกสักปีไม่ถึงสองปีน่าจะเปิดอย่างเป็นทางการแล้วค่อยมาใหม่... แค่นี้ก็ใจเหลือ

เมื่อมาถึงแล้วมองลอดผ่านกำแพงแนวสังกะสีโชคดีเฮียบ้านอยู่ข้างสุสานเมตตายอกให้ขึ้นไปขั้นบนบ้านเก่าเป็นตึก6ชั้นด้านบนมีดาดฟ้าจะเห็นเนินสุสานที่อิงอยู่เนินเขาหยินผิงซานเลยเดินเลียบและขึ้นไปบ้านเก่ากำแพงติดสุสานไปจนถึงชั้นบนสุดไปทำการเคารพขุนพลคู่บารทีเล่าปีและอาเต๊า

สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)​ทำไมถึงไม่เอาแซ่จูล่งนำหน้าว่า"เตียวจูล่งหรือเตียวหยุนเพราะชื่อแต่จริงๆ คือ เตียวหยุน

เพราะถ้าเรียงชื่อกวนอู, เตียวหุย, เตียวหยุน เสียงจะใกล้เคียงกันเกิน ท่านจึงออกเสียงจีนแมนดารินที่ออกเสียงว่า" จ้าวอวิ๋น"บ้างก็เรียก" จือหลง"เป็น" จูล่ง"เพื่อเลี่ยงเสียงถือว่าเป็นศิลปของการแปลอย่างหนึ่ง

จูล่งนับเป็นตัวละครที่มีชีวิตจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนศึกคนเดียวที่ได้อยู่จนชราผมหงอกขาวเดิมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของกองซุนจ้านขุนศึกภาคเหนือ ภายหลังไปรับใช้เล่าปี่ที่เป็นขุนศึกอีกคนหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ติดตามเล่าปี่ร่วมรบในการศึกโดยมาก ตั้งแต่ยุทธการที่เตียงปัน (ค.ศ. 208) ถึงยุทธการที่ฮันต๋ง (ค.ศ. 217-219) เตียวจูล่งรับราชการต่อมาในรัฐจ๊กก๊กซึ่งก่อตั้งโดยเล่าปี่ในปี ค.ศ. 221 ในยุคสามก๊ก และเข้าร่วมในการบุกขึ้นเหนือครั้งแรก จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 อย่างสงบ

เมื่อถึงแก่มรณกรรม พระเจ้าเล่าเสี้ยน หรือ อาเต๊า ทรงเสียพระทัยเป็นอย่างมากและตั้งให้เป็น โถงซุ่นผิงโหว บรรดาศักดิ์จีนที่อวยย้อนหลังจากเสียชีวิต หรือ พระยาภักดีพิทักษ์สันติ โดยมีสุสานฝั่งร่างไว้ที่ 赵云墓 สุสานจ้าวอวิ๋น(จูล่ง) ถนนจือหลง เขตต้าอี้(大邑) หยินผิงซาน(银屏山) ขานนครเฉิงตู

ผมเลยขอเอาภาพจากคณะที่เคยมาที่แห่งนี้เมื่อพ.ศ.2559/ค.ศ.2016เมื่อสภาพยังทรุดโทรมถึงแม้จะมีการบูรณะมาหลายครั้งแต่ไม่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี วันนี้ได้มาเห็นสภาพการซ่อมแซมตกแต่งใหม่ทั้งบริเวณสุสานให้ชมด้วยขอขอบคุณแหล่งที่มาด้วยนะครับ

ทองแถม นาถจำนง

ขอบคุณ เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต

#ชินวัฒน์ตั้งสุทธิจิต #มหาสุรารินทร์