ผู้ว่าฯนำส่วนราชการ เปิดโครงการสร้างสุข สร้างรอยยิ้ม พร้อมโครงการ เหล่ากาชาดห่วงใยสร้างบ้านผู้ยากไร้ ชาวบ้านดีใจที่ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือ ที่ อ.ศีขรภูมิ

 เมื่อวานนี้(มิ.ย.67) ที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลยางอำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์นายพิจิตร บุญทันผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสุรินทร์พร้อมคณะได้นำหน่วยบริการเคลื่อนที่ของส่วนราชการต่างๆมาให้บริการประชาชนตามโครงการจังหวัดสุรินทร์"สร้างสุขสร้างรอยยิ้ม"ประจำปีงบประมาณ2567และโครงการเหล่ากาชาดห่วงใยสร้างบ้านผู้ยากไร้และด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ68พรรษาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีประจำปีงบประมาณ2566

นายพิศาล เค้ากล้านายอำเภอศีขรภุมิได้กล่าวรายงานว่าอำเภอศีขรภูมิมีพื้นที่ประมาณ634.5ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ396,562ไร่แบ่งการปกครองออกเป็น15ตำบล228หมู่บ้านมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน16แห่งประกอบไปด้วยเทศบาลตำบลจำนวน2แห่งองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน4แห่งประชากรทั้งสิ้นจำนวน133,489คน27,352ครัวเรือนประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม(ทำนา)และมีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่คือการทอผ้าไหมและการปลูกผักอินทรีย์

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอศีขรภูมิได้แก่ปราสาทศีขรภูมิและปราสาทช่างปี่ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่17และ18ตามลำดับและมีงานประจำปีของอำเภอที่สำคัญคืองานแสดงแสงสีเสียงสืบสานตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิซึ่งจะแสดงในห้วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปีณบริเวณปราสาทศีขรภูมิ

จากข้อมูลจปฐ.ในปีพ.ศ.2566ประชาชนในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิมีรายได้เฉลี่ย69,380บาท/คน/ปีและมีรายจ่ายเฉลี่ย38,880บาท/คน/ปีสำหรับในเขตพื้นที่ตำบลยางประชาชนมีรายได้เฉลี่ย64,528บาท/คน/ปีและมีรายจ่ายเฉลี่ย35,313บาท/คน/ปี

นายศักดินันท์ สุภัครวรางกูร นายกอบต.ยางได้นำรายงานสรุปข้อมูลทั่วไปและสภาพปัญหาความต้องการของพี่น้องประชาชนในยางต่อนายพิจิตรบุญทันผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลยางมีพื้นที่ประมาณ42ตารางกิโลเมตรแบ่งเขตการปกครองออกเป็น18หมู่บ้านมีประชากรทั้งสิ้นจำนวน9,441คน2,607ครัวเรือนมีสถานศึกษา5แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก3แห่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล1แห่งวัด7แห่งสำนักสงฆ์5แห่งและศูนย์ปฏิบัติธรรม1แห่ง

มีสถานที่ท่องเที่ยวคือปราสาทบ้านอนันต์ตั้งอยู่ในวัดโพธิญาณบ้านอนันต์หมู่ที่2มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หลักๆจำนวน3กลุ่มคือเขมร กูย และลาวประชาชนประกอบอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาปีและนาปรังในบางส่วนมีแหล่งน้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้ปริมาณมากคืออ่างเก็บน้ำห้วยลำพอกมีพื้นที่จำนวน7,000ไร่และมีห้วยลำพอกซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลผ่านในพื้นที่หลายหมู่บ้านไปเชื่อมต่อกับลำห้วยทับทัน
ปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่

 โครงการขุดลอกแก้มลิงบ้านโนนแดงหมู่ที่7งบประมาณ8,292,000บาทเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรและเป้นแหล่งน้ำดิบสำหรับใช้ทำประปาหมู่บ้านเพื่อการอุปโภค-บริโภคประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการใช้แหล่งน้ำจำนวน5หมู่บ้าน602ครัวเรือน

โครงการขุดลอกคลองบ้านทุ่งมนต์หมู่ที่13งบประมาณ462,000บาทเพื่อเป้นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรและระบายน้ำที่ท่วมขังในฤดูน้ำหลากประชาชนจะได้รับประโยชน์จาการใช้แหล่งน้ำจำนวน2หมู่บ้าน225ครัวเรือน

โครงการประบปรุงถนนลาดยางปูผิวทางAsphaltic Concrete และก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างบ้านโนนแดงหมู่ที่7และบ้านทุ่งมนต์หมู่ที่13และบ้านหนองเหล็กหมู่ที่5งบประมาณ9,906,000บาทเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมาแก่ประชาชนและการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรประชาชนจะได้รับผลประโยชน์จำนวน3หมู่บ้าน358ครัวเรือน นายศักดินันท์กล่าว