สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์

อาทิตย์นี้เราจะมาพูดคุยถึงแนวทางในการพิจารณาเอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของ พระเปิม จ.ลำพูนอันเลื่องลือ พระเปิม นับเป็นพระสกุลลำพูนที่ได้รับความนิยมสูงอีกพิมพ์หนึ่ง ที่เรียกขานกันว่า “เปิม” นั้น สันนิษฐานว่า อาจเรียก ขานกันตามลักษณะพิมพ์ทรงขององค์พระ คือ ไม่กลมและไม่แบน ทั้งด้านหน้าและหลังของ “พระเปิม” ตรงกลางจะนูน ส่วนด้าน ข้างลาด เพราะคำว่า “เปิม” แปลว่ากลมก็ไม่กลม แบนก็ไม่แบน เมื่อพิจารณาความเก่าของเนื้อขององค์พระแล้ว น่าจะเป็นพระที่ สร้างรุ่นหลังพระรอดและพระคง มีอายุอยู่ในราว 800 – 900 ปี

พุทธลักษณะพระเปิม องค์พระประธานประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์ ปูรองอีก ชั้นหนึ่ง พื้นหลังเป็นผนังโพธิ์ พระเศียรโล้น ปรากฏเม็ดพระศกและไรพระศกชัดเจนพุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐาน 3 ชั้น มีผ้าทิพย์ปูรองอีกชั้นหนึ่ง พื้นหลังเป็นผนังโพธิ์ พระเศียรโล้น ปรากฏเม็ดพระศกและไรพระศกชัดเจน

พระพักตร์เป็นแบบแตงโมผ่าซีก หรือเรียกว่า “หน้าแป้น” พระปรางอิ่ม พระขนงนูนและต่อกันแบบนกบิน พระเนตรนูนเกือบกลมรี ช่วงหัวและท้าย คล้ายเม็ดงา พระนาสิกบาน ไม่โด่งมาก พระโอษฐ์ปรากฏชัดเจน มีจุดสังเกตและแนวทางการพิจารณาเอกลักษณ์ แม่พิมพ์ในเบื้องต้นดังนี้                                     

                                                          

ตำหนิที่ 1 พระพักตร์เป็นแบบแตงโมผ่าซีก หรือเรียกว่า “หน้าแป้น” พระปรางอิ่ม พระขนงนูน และต่อกันแบบนกบิน พระเนตรนูนเกือบกลมรี ช่วงหัวและท้าย คล้ายเม็ดงา พระนาสิกบาน ไม่โด่งมาก พระโอษฐ์ปรากฏชัดเจน   

ตำหนิที่ 2 พระกรรณใหญ่และกว้าง เหมือนพระกรรณของพระพุทธรูป

ตำหนิที่ 3 พระวรกายค่อนข้างลํ่าสัน จีวรแบบห่มคลุม มีเส้นขอบจีวรใต้พระศอ   

ตำหนิที่ 4 พระอุระกว้างแต่แบนราบ ปรากฏพระถันทั้ง 2 ข้างชัดเจน พระนาภีบุ๋มลึก อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประการหนึ่ง                                                                                           

ตำหนิที่ 5 พระพาหาอวบท้วม ด้านซ้ายพระกัประ (ข้อศอก) ไม่กาง 

ตำหนิที่ 6 กิ่งโพธิ์มีใบโพธิ์ทุกกิ่ง ลักษณะวางหลังใบเหมือนใบลาน ส่วนใบโพธิ์มีลักษณะคล้ายใบมะยมและมีมากเป็นพิเศษ

ตำหนิที่ 7 ผ้าทิพย์เป็นเส้นวงกลม 2 เส้นขนานกัน มีเส้นรัศมีตัด 7 เส้น ลักษณะเล็กและคม       

                                         

ตำหนิที่ 8 มีฐาน 3 ชั้น ฐานชั้นบนเป็นเส้นใหญ่ มีบัวไข่ปลาประดับแถวเดียวตรงกลางเส้น

ส่วนขอบทั้ง 2 ข้างเป็นเส้นเล็กๆ ฐานชั้นกลางเป็นเส้นเล็กนูน ส่วนฐานชั้นล่างนั้น ต่อเนื่องกับสุดขอบพระปรากฏรางๆ

ส่วนพุทธคุณนั้นนับได้ว่าสูงส่งในด้านคงกระพันชาตรีเป็นที่ปรากฏเช่นเดียวกับพระคง โดยเฉพาะเรื่องอาวุธหนัก เรื่องตีรันฟันแทง นอกจากนี้ยังเด่นในด้านมหาอุดอีกด้วยครับผม