วันที่ 9 มิ.ย.67 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ โพสต์คลิปคุยกับคุณเทพชัย หย่อง เรื่องไทยในเวทีโลก (เจาะประเด็นเวทีประชุมด้านความมั่นคง Shangri-la Dialogue ที่ IISS อังกฤษจัดที่สิงคโปร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา) ในรายการ "เจาะข่าวย่อโลก" สถานีโทรทัศน์ Thai PBS 

"รศ.ดร.ปณิธาน" กล่าวว่า ต้องทำใจในระดับหนึ่งว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นในมุมมองของสหรัฐฯ ในเวทีนี้เกือบ 21 ปีแล้ว สะท้อนมาจากความเข้มแข็ง มาจากพันธมิตรที่แนบแน่น และความเข้มแข็งในความคิดของสหรัฐฯ ที่นำเสนอในที่ประชุมทุกปี ซึ่งเป็นมุมมองแรกที่สหรัฐฯเสนอให้หลายประเทศเลือกเข้ามาอยู่ในแนวความคิดนี้ และหลายประเทศทำตามขึ้นมาเรื่อยๆอย่างที่เห็นในบางลักษณะ เช่น ออสเตรเลียก็เข้ามาเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ ทางการทหาร ก่อนหน้านี้ก็ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ อินเดีย ไม่ได้เข้ามาเต็มตัว  ปีนี้เข้มข้นขึ้น ฟิลิปปินส์มีการแสดงทัศนะโดยประธานาธิบดีคนใหม่ว่า หากฟิลิปปินส์ถูกโจมตี หรือว่าปะทะกันในบริเวณทะเลจีนใต้ และมีทหารฟิลิปปินส์เสียชีวิต ประธานาธิบดีมากอสจูเนียร์จะถือว่าเป็นสถานการณ์สงครามทันที และจะเรียกร้องให้สหรัฐฯเข้าสู่สนธิสัญญาป้องกันร่วมมะนิลา ซึ่งมีไทยรวมอยู่ดด้วย เป็นจุดยืนที่ปีนี้ชัดเจนขึ้น และสหรัฐฯมีทีท่าตอบรับมากขึ้น โดยปกติสหรัฐฯจะปฏิเสธว่า ถ้ามีการยั่วยุก็จะไม่เกี่ยวกับสหรัฐฯ 

ส่วนทางที่สอง แฟนคลับทางจีน มีการนำเสนออีกมุมมองหนึ่งว่า สันติภาพอาจจะมาจากความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจมาจากการไม่ใช้กำลังเข้าไปข่มขู่คุกคามกิจการภายใน อย่างเช่น เรื่องไต้หวัน และมาจากการไม่วางกำลังในลักษณะเข้มข้น แต่เป็นการร่วมมือผ่านเส้นทางสายไหมก็ดีการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆที่จีนจะเสนอให้กับต่างประเทศซึ่งได้มีรายละเอียดออกมาแล้วในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เมื่อปีที่แล้วก็ดี แล้วก็เป็นการป้องกันตนเองแล้วก็หลีกเลี่ยงอดีตที่ขมขื่นที่เคยถูกอังกฤษ หรือว่าถูกตะวันตก ญี่ปุ่น เข้าไปยึดครองหรือว่าข่มเหง ทำร้ายอันนี้ก็เป็นอีกมุมมอง เกือบ 20 ปี ตอนแรกๆพวกเราไปประชุมจีนไม่ได้ส่งระดับสูงเท่านี้ ก็เสนอมุมมองแบบนี้ เข้มข้นขึ้น บวกด้วยอีกประเด็นหนึ่งในปีนี้ว่า จีนก็จะใช้กำลังทางการทหารด้วยในการป้องกันตนเองโดยเฉพาะกรณีไต้หวัน อันนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่ชัดเจนขึ้นว่าคงต้องทำใจแล้วก็คงต้องมองว่าทั้งสองมุมมองนี้หลายประเทศปีนี้ก็เลือกข้างมากขึ้น

เวทีใหญ่ปีนี้ ประเด็นแรกก็ยังเป็นของสหรัฐและจีนอันนั้นชัดเจน ส่วนเวทีรองตอนนี้ก็ถูกหลายประเทศขนาดกลางดึงไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับตัวเองรวมทั้งทางยูเครนจริงๆก็มีทั้งทางยุโรปหลายประเทศมาใช้เวทีตรงนี้ ออสเตรเลียก็ใช้เป็นประจำ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ส่วนประเทศเล็กๆ ได้รับความสนใจเป็นระยะๆ แล้วก็ในบางเรื่องอย่างปีนี้ 2 ประเทศในอาเซียน คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในกรณีความขัดแย้งในฉนวนกาซ่าได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจน แต่ต้องเตรียมให้ดี ผลักดันประเด็นที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศเล็กๆแล้วก็หลายประเทศก็ใช้เวทีแบบนี้เวทีนี้โดยเฉพาะทุกปี เพื่อที่จะได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เพราะว่าตัวเองเป็นประเทศเล็กแล้วก็โดยปกติระบบในระหว่างประเทศไม่ได้รับความสนใจมากมาย

สรุปให้ชัดเจนเวทีนี้แบ่งเป็น 2 ขั้ว 2 ค่ายค่อนข้างชัด เรานำเสนอว่า เราจะเป็นทางเลือกที่ 3 ก็อาจจะได้พิ้นที่น้อย อาจจะต้องบริหารจัดการให้ดีต้องการที่จะเสนอแล้วก็แยกพื้นที่เวลาอาจจะยังไม่เหมาะสมแต่ก็แนวความคิดก็น่าจะดีนะครับจริงๆ แนวความคิดนี้ถึงแม้ว่าในสุนทรพจน์รัฐมนตรีกลาโหมของเราไม่ได้ระบุโดยตรงนะครับแต่ว่าหลายท่านคงทราบนะครับว่าเมื่อปี 2015 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้พูดหลักเลยนะครับของเวทีนี้เป็นคนแรกและคนเดียวที่ไปจากเมืองไทยแล้วก็ได้นำเสนอแนวความคิดในเรื่องสมดุลใหม่ได้รับความสนใจพอสมควรนะครับแล้วเป็นขณะนี้ก็ยังไม่มีใครคนไหนที่ไปเป็นตัวแทนหลักในการกล่าวสุนทรพจน์แต่ถ้าเราจะต่อยอดแล้วก็ขยายแนวความคิดนั้นออกไปแทนที่จะเป็นพื้นที่กลางแต่ว่าหาสมดุลใหม่โดยที่ไม่ต้องไประบุว่าเป็นกลางเพราะว่าทั้งสองฝ่ายนี้เขากำลังขัดแย้งแบ่งเป็น 2 ขั้ว แต่ให้เกิดสมดุล ซึ่งจริงๆแล้ว เวทีนี้ก็พยายามทำสมดุลแห่งความกลัว สมดุลแห่งความเข้มแข็ง สมดุลแห่งความร่วมมือ ตรงนั้นจะเป็นสันติภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก มีสงครามตัวแทน แล้วก็มีสงครามคู่ขนานในโลกไซเบอร์ แต่ก็ยังไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 สงครามนิวเคลียร์ ยังไม่เกิดสงครามภูมิภาคขนาดใหญ่ ก็น่าจะเป็นไปได้ก็น่าจะต้องต่อยอดจากตรงนั้น ก็จะได้รับคความสนใจจากตรงนั้น ก็ต้องดูภาพรวม  ผู้จัดขอบคุณประเทศไทย รัฐมนตรีกลาโหมไทยที่สนับสนุนการประชุมแบบนี้มาตั้งแต่แรก ช่วงแรกๆที่จัดก็ยากลำบากมีแต่กลุ่มวิชาการอย่างของพวกผมไป แต่หลังๆนี่ก็ถือว่าผู้นำเหล่าทัพไป รัฐมนตรีกลาโหมไป เป็นสัญญาณที่ดี ที่ไทยคงเตรียมตัวที่เข้าไปใช้พื้นที่นี้มากขึ้นก็คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาแล้วก็จัดทีมให้เข้มแข็งขึ้นในการเข้าไปในพื้นที่เหล่านี้ และเราได้รับความสนใจเหมือนกัน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซียในปีนี้

3 ส่วนที่ประเมินได้ ส่วนแรก คิดว่าในเรื่องของสุนทรพจน์ค่อนข้างดี ในปีนี้สะท้อนให้เห็นว่าถ้ารัฐมนตรีก็เตรียมตัวมาพอสมควรน แล้วก็ไม่มีความผิดพลาดอะไรเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลพื้นฐาน ทีมงานที่ไปช่วยกัน บางคนไปมาหลายสิบปี ดังนั้นเรื่องข้อมูลพื้นฐานต่างๆก็ไม่ได้มีข้อผิดพลาดอะไรที่ใหญ่โตหรือว่าเป็นแต่สิ่งที่น่าไปกังวลหรือกระทบกับประเทศอันนั้นก็ถือว่าแสดงความรู้ ในวงที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยมีความรู้ เพราะว่าเป็นพลเมืองหลายคนอาจจะได้ไม่เคยได้ควบคุมบังคับบัญชาสั่งการในการรบถ้าเปรียบเทียบกับทางสหรัฐทางจีนเอ่อคนเหล่านั้นมีประสบการณ์มากกว่าเยอะนะครับแต่ว่าในแง่ข้อมูลพื้นฐานก็ถือว่าเอาตัวรอดได้

ส่วนที่สองเป็นประเด็นสำคัญในแง่ของสุนทรพจน์ที่หลายประเทศเป็นกังวลหลายประเทศต้องการให้มีการผลักดันก็ถือว่ามีการแตะประเด็นเหล่านั้นนะครับกว้างๆ ในขณะที่ค่อนข้างที่จะระวังตัวแล้วก็ปลอดภัยถือพูดง่ายๆว่าก็สะท้อนว่าเราก็ติดตามประเด็นเหล่านี้แล้วเราก็อยากจะให้ทุกอย่างราบรื่นมีสันติภาพ ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง ตรงนี้ก็ทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมดแต่ว่าอาจจะข้อเสียก็คือว่าอาจจะไม่เห็นมีใครสนับสนุนเราเต็มที่มีใครต่อต้านเราเต็มที่ ก็อาจจะไม่รับความสนใจมากมาย เพราะว่าไม่ได้ขัดแย้งกับใครไม่ได้เป็นพวกใครแต่ต้องปลอดภัยสำหรับประเทศไทย แล้วก็เหมาะสมกับประเทศไทยในอดีตค่อนข้างมากที่ระวังตัว  อนาคตก็มีการถกเถียงกันมากขึ้น ว่าเหมาะสมหรือไม่หรือว่าเสียโอกาสหรือไม่

ส่วนสุดท้ายอย่างไรก็แล้วแต่จะขัดแย้งหรือไม่ขัดแย้ง จะเลือกข้างหรือไม่เลือกข้าง ต้องมีประเด็นที่คนจำได้ว่า เราพูดอะไรสั้นก็ยังดี ทิ้งไว้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นคำคม ที่ไว้เป็นแนวความคิดไว้ไปต่อยอด อันนี้ได้ต้องคิดทั้งปี และต้องเตรียมไว้ให้ดี แต่ว่าจะได้ประโยชน์มาก และคุ้มค่าที่สุด หลายประเทศใช้ประโยคสั้น ทิ้งท้ายไว้ค่อนข้างดี ฟิลิปปินส์ปีนี้ก็เหมือนกัน เขาบอกว่าถ้าหทารฟิลิปปินส์ตายก็ถือว่าเกิดสงครามแล้ว อันนี้คนจะจำได้ตลอดไป 

เราเสนอแล้วควรจะต่อยอดไปว่า เราจะยังไงกับบาวงเรื่องให้ชัดเลย อย่างเช่นเรื่องเมียนมา ให้ไทยเป็นตัวกลาง ผ่านทางประเทศอะไรบ้าง จริงๆทำไปแล้ว นำมาเสนอได้เลยแล้วก็รอให้มีการตัดสิน ผมคิดว่าตรงนี้มันจะได้ไปไกลมากขึ้น จริงๆหลายประเทศรู้ว่าประเทศไทยเป็นตัวกลางในการเจรจาเกือบ 20 ฝ่าย ถ้ารวมชนกลุ่มน้อย 10 กว่าฝ่าย มหาอำนาจอีกหลายฝ่าย ก็นำเสนอ แต่ก่อนนำเสนอก็ไปคุยกับมหาอำนาจ ไปคุยกับชนกลุ่มน้อยให้ครบถ้วน อย่างที่หลายฝ่ายพยายามทำแล้ว มานำเสนอที่เวทีเหล่านี้ แล้วขอคำตอบว่าจะเดินแบบนี้ไหม  อันนี้ผมคิดว่าจะเป็นการส่งเสริมข้อเสนอว่า เราจะเป็นตัวกลาง ไม่ขาลอยเหมือนกับหลายท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญวิพาก์วิจารณ์ไว้