เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย บริษัท ซีพี ซีดดิ้ง โซเชียลอิมแพคท์ จำกัด เปิดประตูสู่ตลาดโลกแก่ผู้ประกอบการไทย ในช่วงงาน Thaifex Anuga Asia 2024 และงาน CP Group Global Sourcing Expo 2024 ที่จัดขึ้นโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โดย ซีพี ซีดดิ้งฯ ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานดังกล่าวในการพาทัพผู้ประกอบการไทย ผู้ผลิตสินค้าหลากหลายประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ฤดูกาลของไทยอย่างมะพร้าว, มะม่วง, ทุเรียน ผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดเมนูสุดฮิตอย่างชาไทย รวมถึงกลุ่มสินค้าซอส/ชุดเครื่องปรุงเมนูอาหารไทยสำเร็จรูป คว้าโอกาสเสนอสินค้าและรับฟังความคิดเห็นจากตลาดโดยตรงเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดการส่งออกสินค้าไทยสู่ใจคนทั่วโลก ทั้งนี้ ซีพี ซีดดิ้งฯ พุ่งเป้าความก้าวหน้าของโครงการนี้ไปที่การรวบรวมผลตอบรับจาก CP Global นานาประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย มาเลเซีย เวียดนาม จีน อเมริกา โปแลนด์ และกลุ่มประเทศอื่นๆ ในแถบยุโรป จึงมีการเตรียมความพร้อมร่วมกับทีมผู้ประกอบการไทยที่ได้รับคัดเลือกเบื้องต้นในการเตรียมเสนอสินค้าผ่าน www.cpseeding.com/cpsme-catalogues เพื่อการนำเสนอที่ตรงจุดและโดนใจผู้ซื้อโดยตรง
นายเอกชัย ตั้งรัตนาวลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ซีดดิ้ง โซเชียลอิมแพคท์ จำกัด กล่าวว่า ซีพี ซีดดิ้งฯ เล็งเห็นถึงโอกาสในการติด Springboard ให้ผู้ประกอบการไทย เพื่อให้เริ่มเข้าตลาดต่างประเทศได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ความต้องการของผู้บริโภคในหลากลายทวีปที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ร่วมกับปัจจัยด้านเทรนด์ต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไทย ทางบริษัทฯ จึงพัฒนาแผนนำเสนอสินค้าโดยใช้โจทย์ความต้องการของตลาดเป็นตัวตั้ง เพื่อลดกระบวนการนำเสนอสินค้าที่ยุ่งยากและใช้เวลานานในการรอฟังผลตอบรับ ซี่งในกิจกรรมดังกล่าว ซีพี ซีดดิ้งฯ ได้ผสานพลังร่วมกับกลุ่มค้าปลีกอย่าง CP Axtra, CP All โดยเฉพาะอย่างยิ่ง CPF และกลุ่มบริษัทจาก CP Group (Global) เพื่อต่อยอดกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพาร์ทเนอร์ผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วมโครงการ Market Testing 9 ราย ได้แก่ Itim Lamoon, Sali, PlaNeat, Im Jai, GreenVille, Sriwanna, Gin, Chaosua และ BIOBLACK รวมถึงพาร์ทเนอร์อีกหลายราย ที่ร่วมส่งสินค้าเพื่อเสนอตลาดต่างประเทศอื่นๆ รวมทั้งสิ้นเป็น 40 แบรนด์ จากผู้ประกอบการ 36 ราย นับเป็นสินค้ากว่า 199 รายการ
ทั้งนี้จัดซื้อจากหลากหลายประเทศมองว่า จุดเด่นของสินค้าไทยคือ การนำเสนอและการสื่อสารถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน มีการใช้วัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์และหาได้แค่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่งผลให้การออกแบบสินค้าและรสชาติของสินค้านั้นแสดงถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้สินค้าไทยยังเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ เนื่องจากมีคุณภาพสูงและมีราคาที่จับต้องได้ แต่จุดอ่อนสำหรับการส่งออกสินค้าคือ การมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การมีข้อมูลตลาดและการเข้าใจกระบวนการส่งออกยังไม่มากพอ ซึ่งการมีข้อมูลเหล่านี้สำคัญมากในการทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ มากไปกว่านั้น สินค้าไทยส่วนมากถูกมองว่า จำเป็นต้องพึ่งพาวัตถุดิบที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล อาจส่งผลต่อจำนวนการผลิตและราคาได้ อีกทั้งยังมีปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อกำลังการซื้อและการบริโภคที่ตลาดปลายทางอีกด้วย
โดยกลุ่มประเทศในโซนยุโรป ก็มีความสนใจสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอยู่สูงมาก และยังมีคุณภาพสินค้าที่น่าเชื่อถือมาก ส่วนคู่ค้าจากฝั่งเอเชีย เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ ฮ่องกง ยังคงมองว่าหากสินค้าไทยสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศได้ และสามารถทำราคาที่แข่งขันกับคู่แข่งในประเทศได้ จะทำให้สามารถประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันคู่ค้าจากอเมริกาใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียมีมุมมองว่า กระบวนการการส่งออกที่ซับซ้อน การเข้าใจในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกและเอกสารต่างๆ ยังคงเป็นอุปสรรคที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยยังไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังประเทศดังกล่าวได้
“โครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาสของเครือซีพี” จะเป็น Market Springboard ที่สร้างแรงกระเพื่อมด้านความต้องการสินค้าไทย และต่อยอดพาแบรนด์ไทยให้เติบโตในเวทีโลกได้อย่างมีนัยยะสำคัญ พร้อมมุ่งสนับสนุนแบรนด์ไทยให้เติบโตในเวทีโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป