สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNODC) เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ถึงแนวทางการรับมือและการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์และการละเมิดทางเพศต่อเยาวชนทางออนไลน์ ภายใต้แคมเปญ  “เช็กก่อนแชร์ (Beware the Share)” โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้ดูแล และหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลสถิติพบว่า หนึ่งในสามของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเป็นเยาวชนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงวัยเรียน อายุระหว่าง 6 ถึง 14 ปี ซึ่งใช้เวลาอยู่หน้าจอเฉลี่ยประมาณ 2.77 ชั่วโมงต่อวัน สูงกว่าระยะเวลาแนะนำ 2 ชั่วโมงต่อวัน และยังพบว่าในประเทศมาเลเซียเพียงประเทศเดียว มีเยาวชนอายุระหว่าง 13 ถึง 17 ปี มีบัญชีโซเชียลมีเดียมากกว่า 90%

อันเป็นผลมาจาก ดิจิทัลไลเซชัน (Digitalization) ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตง่ายขึ้น ส่งผลให้เยาวชนใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นนี้เผยให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามมา” โจชัว เจมส์ ผู้ประสานงานด้านการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ระดับภูมิภาคของ UNODC กล่าว

โดยตั้งแต่ปี 2562 - 2565 พบการรายงานการละเมิดทางเพศต่อเยาวชนทางออนไลน์ ดังนี้

•            ประเทศมาเลเซีย มีการรายงาน 850,000 ครั้ง เฉพาะในปี 2565 มีรายงาน 200,000 ครั้ง

•            ประเทศลาว มีรายงาน 25,000 ครั้ง

•            ประเทศเวียดนาม มีรายงานเกือบ 3 ล้านครั้ง เฉพาะในปี 2565 มีรายงาน 950,000 ครั้ง

•            ประเทศไทย มีรายงานเกือบ 2 ล้านครั้ง เฉพาะในปี 2565 มีรายงาน 525,000 ครั้ง

•            ประเทศฟิลิปปินส์ มีรายงานเกือบ 8 ล้านครั้ง เฉพาะในปี 2565 มีรายงาน 2.5 ล้านครั้ง

ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงส่วนของการสำรวจที่อ้างอิงผ่านการลงทะเบียน CyberTipline แพลตฟอร์มจากสหรัฐอเมริกาซึ่งรับแจ้งการแสวงหาประโยชน์ทางเพศต่อเยาวชนจากทั่วโลก ปัจจุบันยังมีอีกหลายล้านคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกบังคับข่มขู่ทางออนไลน์

“สถิติชวนให้น่าตกใจเหล่านี้ตอกย้ำถึงเหตุแห่งการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเยาวชนทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการที่รวดเร็วและเด็ดขาดเพื่อปกป้องเยาวชนบนโลกดิจิทัล” เจมส์ กล่าวเสริม

การแสวงหาผลประโยชน์และการละเมิดทางเพศต่อเยาวชนทางออนไลน์สร้างผลกระทบเสียหายกับตัวเยาวชน ซึ่งมักไม่ทราบถึงวิธีการวางตัวบนโลกออนไลน์ที่จะช่วยปกป้องตัวเองจากการล่วงละเมิด ดังนั้น UNODC จึงได้จัดตั้งแคมเปญ “เช็กก่อนแชร์ (Beware the Share)” โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้แก่เยาวชนและผู้ปกครองเกี่ยวกับผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวจากการมีส่วนร่วมในพฤติกรรมออนไลน์ที่สุ่มเสี่ยงและเป็นอันตราย จนอาจนำไปสู่ผลกระทบเชิงลบทางจิตใจ กฎหมาย และสังคม ทั้งต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

สาระสำคัญของแคมเปญ Beware the Share คือต้องการให้เยาวชน : คิดก่อนที่จะคลิกปุ่ม ‘แชร์’

แคมเปญมีเป้าหมายที่จะทำให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบทราบว่า :

•   การผลิต การแชร์ และการกระจายเนื้อหาที่มีลักษณะทางเพศของผู้เยาว์ รวมถึงเนื้อหาที่สร้างขึ้นโดยตนเอง เป็นความผิดทางอาญาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

•   ผู้ล่วงละเมิดและ “ผู้ล่อลวง” อาจใช้ประโยชน์และจูงใจให้เยาวชนแชร์เนื้อหาที่มีลักษณะทางเพศและบังคับข่มขู่ให้ส่งภาพเพิ่มเติมหรือแม้กระทั่งรีดไถเงินหากเยาวชนไม่ยอมทำตาม

•  มีการจัดตั้งระบบการรายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีวิธีแก้ไขสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาการถูกละเมิดทางออนไลน์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง มีทางออกจากสถานการณ์ที่เยาวชนกำลังเผชิญอยู่  มีบริการที่ดูแลเยียวยาทางจิตใจและการปฏิบัติที่เยาวชนต้องการ

แคมเปญนี้ ได้จัดทำหน้าเพจหลัก (www.unodc.org/bewaretheshare ) ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเล่นเกมและทำแบบทดสอบเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้ ตลอดจนรับชมวิดีโอในภาษาหลักของตนเองได้ โดยวิดีโอประกอบด้วยตัวละครและข้อความในรูปแบบวิดีโอเกม เพื่อทำให้เรื่องราวน่าสนใจและเข้าถึงผู้ชมกลุ่มเยาวชนได้ ในเว็บไซต์ยังมีแหล่งข้อมูลติดต่อโดยตรงที่ผู้เสียหายสามารถแจ้งเหตุได้อย่างลับๆ หากเชื่อว่าตนเองหรือคนรู้จักกำลังถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์

ด้วยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลแคนาดาและเนเธอร์แลนด์ แคมเปญนี้จะดำเนินการใน 5 ประเทศแถบภูมิภาคนี้ ได้แก่ ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม โดยเผยแพร่ผ่านอินฟลูเอนเซอร์

 

#bewaretheshare