กรมชลฯ จัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาพัฒนาฯ คลองบางไผ่และสาขา มุ่งพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน เพิ่มเสถียรภาพความมั่นคงน้ำ รองรับการเติบโตศูนย์ธุรกิจ EECและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ ด้านชาวบ้านดีใจไม่ต้องย้ายที่อยู่ ไม่ต้องพาวัวหนีได้อยู่เมืองใหม่ พร้อมเชื่อมั่นจะทำให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้น
กรมชลประทานได้มอบหมายให้นายขจร ใบพลูทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสำรวจ กรมชลประทาน เป็นประธานจัดประชุมปัจฉิมนิเทศนำเสนอผลการศึกษาโครงการพัฒนาฯคลองบางไผ่และสาขา เพื่อสร้างการรับรู้และรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนร่วม จากนั้นได้พาคณะทำงานและสื่อมวลชนเดินทางไปยังคลองหินดาดเพื่อสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาปรับปรุงทางน้ำและแหล่งเก็บกักน้ำรองรับการเติบโตศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
นายขจร ใบพลูทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสำรวจ กรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยคาดว่าในปี 2580 จะมีความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC รวม 3,089 ล้าน ลบ.ม./ปีเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีความต้องการใช้น้ำรวม 2,419 ล้าน ลบ.ม./ปี (เพิ่มขึ้น 670 ล้าน ลบ.ม/ ปี) อันเนื่องจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ 3 จังหวัด ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คิดเป็นร้อยละ 53.5 ของความต้องการใช้น้ำทั้งภาคตะวันออก ทั้งนี้ ความต้องการใช้น้ำภาคอุปโภค-บริโภคมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุด(ร้อยละ56) รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม(ร้อยละ 43) และภาคเกษตรกรรม(ร้อยละ 17) จากปริมาณความต้องการทุกภาคส่วนที่มีเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับแหล่งน้ำที่อยู่ในปัจจุบันจึงต้องการความมั่นคงด้านน้ำ(Water Security)สูงและจำเป็นต้องมีการเตรียมการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานสำคัญรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่อย่างเต็มที่ด้วยตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับ รองรับการเติบโตศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ โดยโครงการดังกล่าวตั้งงบประมาณไว้ 100-200 ล้านบาท จะเริ่มจัดตั้งของบในปีงบประมาณ 2569
ด้านนายวัชระ องค์โชติยะกุล รองผู้จัดการโครงการศึกษาพัฒนาฯ คลองบางไผ่และสาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่ แผนการปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำเพื่อแจกจ่ายรองรับการสร้างเมืองใหม่ ในระยะแรกที่ต้องการใช้น้ำจะเริ่มในปี 2570 ทางโครงการมั่นใจปริมาณน้ำที่มีจะเพียงพอให้กับประชาชนและสำหรับการสร้างเมืองต้องมีแผนในการรองรับน้ำก่อนที่จะระบายลงลำน้ำสาขา ในภาพรวมเพื่อที่จะรองรับในระยะที่ 2 ในปี 2580 ที่ปริมาณการใช้ำน้ำนั้นจะเพิ่มขึ้น เราก็จะพิจารณาในการสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่ม ว่าเราจะดำเนินการไปได้อย่างไรเพื่อที่จะอิงไปกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด มีการรักษาสภาพแวดล้อมให้ได้มากที่สุด เนื่้องด้วยพื้นที่ของเราใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรม เราจะนำต้นไม้มาปลูกล้อมรอบพื้นที่เก็บน้ำ เพื่อที่จะดูดซับมลพิษต่างๆ และเป็นการช่วยชะลอความเร็วของน้ำหากปีไหนมีปริมาณน้ำที่มากน้ำก็จะไหลลงพื้นที่ด้านล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน ทั้งนี้ จากการศึกษาของโครงการเราต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน ในการจัดกิจกรรมสัญจรนี้ขึ้นมา เพื่อวางแผน พัฒนา และออกแบบให้มีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ในขณะที่นายเล็ก แจ่มจันทร์ อายุ 71 ปี ประชาชนในพื้นที่ กล่าวว่า คนเลี้ยงวัวรู้สึกดีใจที่เมืองใหม่กำลังจะเกิดขึ้น ที่แรกกังวลว่าไม่รู้จะเอาวัวไปเลี้ยงที่ไหน แต่พอได้ฟังนโยบายแล้วก็รู้สึกดีใจที่เขาจะมาพัฒนาให้เมืองบ้านฉาง ระยอง และพื้นที่รอยต่อจังหวัดชลบุรี เจริญขึ้นพร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย และตนก็ยังสามารถเลี้ยงวัวได้เหมือนเดิม
ส่วนนายบุญทรัพย์ มานะมุ่งประเสริฐ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้าน บ้านหนองผักกูด ม.13 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งมีรอยติดต่อกับอำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง เผยว่า ตนดีใจที่เมืองใหม่ EEC จะเกิดขึ้น โครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำบางไผ่นี้ เมื่อได้รับฟังทางทีมสำรวจ ม. เกษตรศาสตร์ ก็ทราบว่าไม่กระทบต่อชาวบ้าน ชาวบ้านไม่ต้องไปหาที่อยู่ใหม่ ซึ่งชาวบ้านรู้สึกดีใจต่างรอค่อยเมืองใหม่อัจฉริยะที่จะเกิดขึ้น ทั้งเศรษฐกิจก็สามารถเดินต่อไปได้ ชาวบ้านก็ดีใจที่พื้นที่นี้จะเจริญขึ้น คาดว่า เรื่องของงานและการเป็นอยู่จะดีขึ้นตามมาไปด้วย
สำหรับ โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา” ถือเป็นโครงการนำร่องในการบริหารจัดการน้ำผ่านการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solution: NbS) ของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. ซึ่งมีแผนเริ่มดำเนินงานเป็นระยะแรก เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุน เพิ่มเสถียรภาพความมั่นคงด้านน้ำ รวมทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมโดยการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งอาจเป็นการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และอาคารกักเก็บน้ำด้านท้ายอ่างฯ ที่สามารถกักเก็บน้ำต้นทุนได้ประมาณ 2.34 ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้ศึกษาแนวทางการออกแบบองค์ประกอบโครงการทางด้านสถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ Green Design ได้แก่ การเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่แหล่งน้ำทั้งในและนอกพื้นที่ศึกษาเข้าด้วยกัน มีอาคารศูนย์การจัดประชุม นันทนาการ และกีฬา ให้สอดคล้องกับแผนดำเนินงานโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ และเป็นโครงข่ายที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเชิงฟังก์ชันการบริหารจัดการน้ำ นันทนาการ และเชิงนิเวศ เป็นต้น
อย่างไรแล้วชาวบ้านจากที่เคยต่อต้านการทำโครงกานนี้แต่พอมาฟังนโยบาย แนวคิด และแผนผังการทำโครงการโดยที่ไม่ทำลายระบบ นิเวศน์ และชาวบ้านไม่ต้องย้ายที่อยู่ ต่างก็ยินดีและดีใจที่การพัฒนานี้ทำให้เมืองเจริญขึ้นและคาดหวังว่าวเศรษฐกิจชมชุนจะดีขึ้นอีกด้วย