จังหวัดอ่างทอง  จัดกิจกรรมงานวันต้นไม้แห่งชาติ (ตรงกับวันวิสาขบูชา) และสืบสานวิถีชาวนาไทย เอามื้อสามัคคี "ลงแขกเกี่ยวข้าว"

     วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ แปลงโคก หนอง นา อารยเกษตร นางสาวยุราวัลย์ ขันทอง บ้านน้ำวน หมู่ที่ 6 ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง นายพิริยะ ฉันทดิลก รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง มอบหมายให้ นายทัศนัย  สุธาพจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานจัดกิจกรรมงานวันต้นไม้แห่งชาติ (ตรงกับวันวิสาขบูชา) และสืบสานวิถีชาวนาไทย เอามื้อสามัคคี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" โดยมี นายชลอ พงษ์ชุบ พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง  พลังงานจังหวัดอ่างทอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง นายอำเภอป่าโมก  ประธานสภาประชาชนจังหวัดอ่างทอง  นายกสมาคมคนพิการจังหวัดอ่างทอง  ประธานบริษัทอ่างทองโอทอปอินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน เครือข่ายพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม

         ด้วยจังหวัดอ่างทอง โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง ร่วมกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคีอ่างทอง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ร่วมกับ สภาเกษตรกรจังหวัดอ่างทอง สภาประชาชนจังหวัดอ่างทอง สมาคมคนพิการจังหวัดอ่างทอง สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทองและบริษัทอ่างทองโอทอป อินเตอร์ เทรดเดอร์ จำกัด กำหนดจัดกิจกรรมงานวันต้นไม้แห่งชาติ(ตรงกับวันวิสาเบูชา และสืบสานวิถีชาวนาไทยเอามื้อสามัคคี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตระหนัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ อันจะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์ และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติ รูปแบบโคก หนอง นา อารยเกษตร

        วันต้นไม้แห่งชาติ ตรงกับวันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติที่ประชาชนทุกหมู่เหล่า จะได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ไว้เป็นที่ระลึกและช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรป่าไม้ อันเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ จังหวัดอ่างทองได้ตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ และป่าไม้ จึงได้จัดกิจกรรม วันต้นไม้แห่งชาติขึ้น โดยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ช่วยกันดูแลรักษา บำรุง ปลูกต้นไม้ ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนรักและหวงแหน รวมถึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เห็นคุณค่าของการร่วมด้วยช่วยกันรักษา ไม่ทำลาย ไม่เผา ปลูกทดแทน ฟื้นฟูผืนป่าและพื้นที่สีเขียวด้วยกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างสมดุลให้ธรรมชาติ จากรุ่นสู่รุ่นในอนาคต