เมื่อวันที่ 21 พ.ค.67 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์รายการคนชนข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ TNN หัวข้อ อิหร่านเลือกตั้ง มิ.ย. หลังสูญเสีย ปธน. โดยช่วงหนึ่งกล่าวว่า "มีการคาดหมายว่าประธานาธิบดีคนต่อไปต้องการมีปรับเปลี่ยน แล้วลูกชายผู้นำสูงสุดก็ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่จะขึ้นมาแทนเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ซึ่งต้องผ่านการเลือกตั้ง มีการเตรียมการ มีการบริหารจัดการ ขณะที่ฝ่ายที่มองว่าอดีตประธานาธิบดีคนนี้มีคดี มีเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีเรื่องการปราบปรามของฝ่ายเห็นต่าง การใช้กองกำลังอิสลามปฏิวัติ น่าจะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ก็ถือว่ากรณีนี้ยุติไป แล้วก็ถือว่าการเลือกผู้นำรุ่นใหม่ก็คงจะต้องดูให้ดีว่าจะโดนแรงกดดันเหมือนเดิมหรือไม่
แต่โดยภาพรวมทั้งหมดก็นักวิเคราะห์หลายฝ่ายก็เห็นตรงกันว่า อาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เข้มข้นในเชิงอนุรักษ์นิยมของอิร่านเท่าไหร่นัก เหตุผลคือเพราะผู้นำสูงสุดของอิหร่านที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็ยังอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และความต้องการที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ก็ค่อนข้างเข้มข้นในกลุ่มผู้นำ ที่สำคัญกองกำลังปฏิวัติอิสลามในรอบหลายปีก็เข้มแข็งขึ้น ระบบของอิหร่านกองกำลังของผู้นำสูงสุดควบคู่ไปกับกองกำลังของรัฐบาลของกองทัพ และในรอบหลายปีก็ชัดเจนว่าน้ำหนัก ความสามารถและขีดความสามารถในยุโธปกรณ์ต่างๆ ก็ไปเพิ่มพูดให้กับกำลังปฏิวัติอิสลามค่อนข้างมาก ก็เลยทำให้การสืบต่ออำนาจ การควบคุมบริหารประเทศอยู่ในมือคนกลุ่มเล็ก และคงไม่มีการท้าทายความเปลี่ยนแปลงมาจากระบบการเลือกตั้งเท่าไหร่นัก"
รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวอีกว่า ในสายตาของกลุ่มประเทศตะวันตกที่เป็นปรปักษ์กับอิหร่านมองว่า อดีตประธานาธิบดีอิหร่านเป็นกลุ่มบุคคลที่ค่อนข่างสุดโต่ง ขณะเดียวกันทางฝ่ายผู้นำสูงสุดมองว่าสามารถอนุรักษ์แนวทางดั้งเดิมของอิหร่านได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่ถูกคาดหมายว่าในอนาคตน่าจะรับตำแหน่งสำคัญๆในอิหร่านเพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของผู้นำสูงสุด ซึ่งขณะนี้อายุ 85 แล้ว
เมื่อถามว่าการสูญเสียครั้งนี้ของอิหร่าน จะมีผลถึงเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลางบ้างหรือไหม รศ.ดร.ปณิธาน บอกว่า "ในภาพรวมก็อาจไม่มากนัก แต่ในทางปฏิบัติในการดำเนินการอาจมีความชะงักงันบ้าง .. แน่นอนว่าการสื่อสารผู้นำระหว่างคนรุ่นใหม่มารักษาการแทน ก็คงต้องปรึกษาหารือกันก่อนไปเจรจาหรือผลักดันในเรื่องของสันติภาพเขตฉนวนกาซ่า ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร แต่หลายฝ่ายมองว่าไม่น่าใช้เวลามาก เพราะมาจากคำสั่งของผู้นำสูงสุดอยู่ดี
เมื่อถามว่าจะมีผลต่อการสู้รบระหว่างอืสราเอลกับกลุ่มฮามาสบ้างหรือไม่ รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ระยะสั้นยังไม่น่ามีผลเพราะการปฏิบัติการของกองกำลังอิสลามคงไปในทิศทางแบบเดิม แต่ว่าอาจเป็นจุดผกผันและโอกาสให้สามารถเจราได้มากขึ้น หากผู้นำารุ่นใหม่ที่เข้ามามีภาพลักษณ์ที่ผ่อนปรนมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่หลายประเทศสื่อสารกับผู้นำสูงสุดของทางอิหร่าน เพื่อให้ผู้นำที่สุดโต่งไม่เท่าไหร่อยู่ในตำแหน่งสำคัญบางส่วนที่จะทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคคลี่คลายไป ส่วนเรื่องฟื้นความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบีย เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเป็นปัญหาหลายปี คงไม่ได้มีการพัฒนาต่อยอดจากเดิมเท่าไหร่ คงต้องรอคณะบริหารประเทศอิหร่านชุดใหม่ของอิหร่านเข้ามา และรอให้สถานการณ์ฉนวนกาซาคลี่คลายกว่านี้
"ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนว่าในภูมิภาคแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนอิสราเอล เช่น สหรัฐอเมริกา แม้จะโดนคว่ำบาตร พันธมิตรอย่างอังกฤษ จอร์แดน อิยิปต์ ซาอุดิอาระเบีย ก็จะต้องโอนอ่อนผ่อนตามสหรัฐและพันธมิตรไปด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอะระเบียกับอิหร่านไม่ดีตามเท่าไหร่ หากสถานการณ์ฉนวนกาซาไม่ได้คลี่คลาย การเจรจาหยุดยิงไม่บรรลุความสำเร็จ อิหร่านกับซาอุดิอาระเบียก็จะปรับความสัมพันธ์เข้าหากันได้อยากขึ้น ส่วนเงื่อนไขที่สอง ตัวบุคลลในการเมืองในตะวันออกกลางเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เราได้เห็นบทบาทของประธานาธิบดีของอียิปต์หลายคน ของจอร์แดนหลายคน ของกษัตริย์จอร์แดนโดยเฉพาะ ของผู้นำทางอิสราเอลหลายคนที่เข้าไปสู่การเจรจาสันติภาพ ทั้งหมดนี้คือเรื่องของการเมืองในแง่ของส่วนบุคคล ก็คงต้องดูว่าบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งจริงๆจะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นลูกชายของผู้นำสูงสุดก็ชัดเจนว่าทิศทางก็จะอยู่ที่ผู้นำสูงสุดเป็นหลัก ไม่ได้อิสระเท่าไหร่ สถานการณ์เหล่านี้เป็นตัวชี้ว่าความสัมพันธืระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียดีขึ้นหรือไม่ ทั้งสงครามในฉนวนกาซาและเรื่องของตัวบุคคลที่กำลังเข้ามา" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว
ขอบคุณ ยูทูบช่อง TNN