วันที่ 21 พ.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ชาวบ้านกว่า1000คน ร่วมสืบสานประเพณีชักพระศรีอริยเมตไตรย  วัดไลย์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในอำเภอท่าวุ้ง บ้านหมี่ ได้สรงน้ำ ปิดทอง   ระยะทางชักลากกว่า10 กิโลเมตร ตลอด2 ข้างทางมีประชาชนตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารคาวหวานตลอดเส้นทางไปกลับ

โดยมี นายวชิระ เกตุพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี  เป็นประธานฯซึ่ง “พระศรีอริยเมตไตรย” หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “พระศรีอริย์” เป็นพระพุทธรูปหล่อแบบ “พระพุทธสาวก” คือ มีเศียรโล้น ไม่มีเปลวรัศมี นั่งขัดสมาธิ คล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะสวยงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน  

ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีอัญเชิญ พระศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐานบนตะเฆ่ชนิดไม่มีล้อ ใช้แรงฉุดลากโดยพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมขบวนในปีนี้มากกว่า1พันคน  ชขักลากไปตามถนนเส้นท่าโขลง-บ้านหมี่  ถึงวัดท้องคุ้ง ระยะทางไปกลับประมาณกว่า 10  กิโลเมตร พร้อมเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำ และปิดทอง พระศรีอริยเมตไตรย ตามจุดที่กำหนด

เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็จะนำขบวนแห่กลับมายังวัดไลย์ ตลอด 2 ข้างทางมีประชาชนได้มาจัดโรงทานเลี้ยงอาหาร หวาน คาว เลี้ยงให้กับผู้ที่มาร่วมงานชักพระศรีอารย์เพื่อถวายเป็นบุญกุศลงานประเพณีดังกล่าว เกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยราชการที่ 5 เมื่อครั้ง ที่พระองค์ท่านได้อัญเชิญ องค์พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลย์ ซึ่งชำรุด เข้าไปบูรณะซ่อมแซมในพระบรมมหาราชวัง เมื่อการซ่อมแซมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จึงได้อันเชิญกลับสู่เมืองลพบุรี

โดยได้มีการพักขบวน วัดมณีชลขันธ์ พอรุ่งเช้า ได้เคลื่อนขบวนอันเชิญ พระศรีอริยเมตไตรย จากวัดมณีชลชันธ์มุ่งสู่ วัดไลย์ในครั้งนั้น ปรากฎมีประชาชนไปตั้งแถวรับ และร่วมขบวนอัญเชิญ ถวายดอกไม้ และ สรงน้ำ องค์พระศรีอริยเมตไตรย เป็นจำนวนมากพร้อมทั้งยังจัดให้มีพิธีอัญเชิญ พระศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐาน วิหารวัดไลย์ นับเป็นประเพณี ที่สืบทอดกันมา มากกว่า 100 ปี