เกษตร จ.ตราดลงพื้นที่ตรวจสอบทุอรียนตายเพราะน้ำเค็ม แนะฟื้นฟูต้น,ตัดกิ่ง ”ป้าโต“บอกได้ผลแค่ 2 ปี นำน้ำกร่อยมารดทำให้ใบร่วงเงินหายหลายหมื่น

ที่สวนทุเรียนของป้าโต หรือนางจิดา รัตนวาร เจ้าของสวนทุเรียน หมู่ 1 ต.ตะกาง อ.เมือง จ.ตราด ที่ต้นทุเรียนกว่า 30 ต้นใบร่วง ผลหล่น บางต้นเหลือแต่กิ่งก้าน และใกล้ยืนต้นตาย เพราะเหตุจากการนำน้ำกร่อยในคลองท่าเลื่อนมารดต้นทุเรียน และนำน้ำบาดาลที่มีสภาพกร่อยมาใช้ ซึ่งนายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราดนำเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด 5-6 คน เดินทางมาตรวจสอบและให้คำแนะนำในการฟื้นฟูต้นทุเรียน

ซึ่งนายวินัย ขยันยิ่ง ได้เข้ามาตรวจสอบต้นทุเรียนที่ไม่มีใบและกำลังยืนต้นตาย แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ตามกิ่งก้านสาขายังมีการแตกใบอ่อนขึ้นอยู่บ้าง แต่ในปลายกิ่งน่าจะตายแล้ว จึงแนะให้ตัดกิ่งทิ้งตั้งแต่ช่วงที่มีใบอ่อน ซึ่งได้สาธิตด้วยการนำเลืาอมาตัดกิ่งที่ไม่มีใบออก และดูแลใบอ่อนที่ขึ้นมาอย่าให้มีแมลงหรือเพลี้ยมากิน รวมทั้งอย่าให้ปุ๋ยทางราก แต่ให้ปุ๋ยทางใบจะทำให้สามารถนำสารออกเขเาต้นไดีเร็วขึ้น จาดปล่อยให้ใบแตกมา 3 ช่วงใบจะทำให้ต้นไม้ไม่ตาย แต่ในปีแรกอาจจะไม่ออกผลให้ต้องรอในปีที่ 2 

นายวินัย กล่าวว่า การดูแลต้นทุเรียนในระยะนี้เกษตรกรต้องเข้าในธรรมชาติของเขา เพราะเมื่อเกิดปัญหานี้จะต้องระวังในเรื่องการดูและใกล้ชิด เพราะว่า เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งใบที่เริ่มออกมาเป็นใบอ่อนยิ่งต้องดูแลให้ใกล้ชิด เพราะจะช่วยให้ต้นไม่ตาย พร้อมอย่าให้แมลงกินใบหรือเพลี้ยเข้ามาเกาะเพราะจะทำให้ใบหงิก และเหลือง จากนั้นตัดแต่งกิ่ง และไม่ให้ปุ๋ยทางรากแต่ให้ทางใบ พร้อมนำน้ำจืดมารดต้นทุเรียนแทน ซึ่งหากฟื้นฟูได้ดีผลจะออกใน1-2 ปี 

ขณะนางจินดา รัตนวาร หรือป้าโต กล่าวว่ามปลูกต้นทุเรียนมาหลายปี เมื่อปี 2-3 ปียังมีผลทุอรียนออกมาขายได้ เมื่อปีที่ผ่านมาขายได้ 3-4 หมื่น แต่มาปีนี้ตกใจที่ต้นทุเรียนใบร่วง และติดดอกน้อย แล้งผลก็ร่วง ซึ่งพบว่า น้ำที่นำมารดต้นทุเรียนจากคลองท่าเลื่อนมีสภาพเป็นน้ำกร่อย ทำให้ต้นทุเรียนได้รับผลกระทบใบร่วง ผลหล่น รายได้ที่เคยได้รับทุกปี ปีละ หลายหมื่นบาทหายไปทั้งหมด และบางต้นอาจจะตาย แต่เมื่อเกษตรจังหวัดมาแนะนำจึงเข้าใจและดีใจเพราะเราไม่มีความรู้ ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2567 วันนี้ได้ความรู่และคำแนะนำแล้วจะดำเนินการปลูกทุเรียนต่อไป