วันที่ 16 พ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มหากาพย์ เรือดำน้ำจึน จบแล้ว หลังการพูดคุย ของ พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา  ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม  ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรือดำน้ำจีน ของกลาโหม เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจาหาทางออก กับ ฟตัวแทน รัฐบาลจีน และกลาโหม จีน  ที่ กระทรวงกลาโหม  เมื่อ14-15 พค.2567   โดยมี  พันเอกพิเศษ Shi Xionning รอง ผอ.กรมการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหาร BOMETEC Bureau Of Military Equipment and Technical Cooperation ของจีน นำคณะ รวม 13 คน  ร่วมหารือ

โดย เมื่อ 14 พค.2567 ที่ผ่านมามีการคุยนอกรอบ ของคณะตัวแทนรัฐบาลจีน กับ กองทัพเรือ  ที่ ทร. นำโดย  พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผช.ผบ.ทร. และ ประธานคณะกรรมการเรือดำน้ำของกองทัพเรือ   และ จากนั้น มาหารือ กับคณะกรรมการ ที่มีพลเอกสมศักดิ์เป็นประธาน ที่กลาโหม มีรายงานว่า  ทั้ง2 ฝ่าย เห็นพ้องที่จะเดินหน้า ต่อเรือดำน้ำจีน S25T ลำแรก ต่อไป ทั้งนี้เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยความสัมพันธ์อันดี และเป็นความร่วมมือแบบรัฐบาลกับรัฐบาล

โดย กองทัพเรือ จะเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เรือดำน้ำ  ไม่เรียกว่าเครื่องยนต์  เพราะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นของ จีน CHD 620  ทดแทน MTU 396  ที่เยอรมัน ไม่ขายให้จีน มาใส่เรือดำน้ำ ที่ต่อให้ ทร.ไทย

ทั้งนี้ ทร. เคยส่งคณะทำงาน ไปร่วมทดสอบ สมรรถนะเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เรือดำน้ำ  จีน CHD620 มาแล้ว แม้จะเป็นเครื่องยนต์ ที่จีนพัฒนาเองและเป็นเครื่องต้นแบบ ที่ยังไม่เคยใส่ในเรือดำน้ำของชาติใด แม้แต่ของกองทัพเรือจีน ก็ตาม แต่กระทรวงกลาโหมจีน  ก็ได้ออกใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมให้แล้ว   และ สมาคมจัดชั้นเรือ ของอังกฤษ ให้การรับรอง

นอกจากนีั กองทัพเรือปากีสถาน ซึ่งประสบปัญหาเดียวกับกองทัพเรือไทย  ได้ยอมรับที่จะให้จีนใส่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เรือดำน้ำ  จีน แทนเครื่องเยอรมัน แล้วเช่นกัน

จากนีั  ทร.จะต้องจะเสนอให้กลาโหม  นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อขออนุมัติในการขยายเวลาในการต่อเรือดำน้ำลำแรกอีก 1,217 วัน

ส่วนการเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของเรือดำน้ำ (ไม่เรียกว่า เครื่องยนต์) นั้น กองทัพเรือได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้วระบุว่า  แม้เป็นสาระสำคัญ  แต่อยู่ในอำนาจกองทัพเรือ ในการดำเนินการในการ แก้ไขข้อตกลง ในการเปลี่ยนเครื่องยนต์ได้เอง  โดย เสนอให้ ครม.รับทราบ เท่านั้น

มีรายงานว่า  ทางฝ่ายจีน  ออกตัวว่า ที่ผ่านมา การแก้ปัญหายังไม่ร่วงเพราะ อยู่ในช่วงปรับโครงสร้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการขายอาวุธให้ต่างประเทศ ที่เคยมี2 หน่วยคือ The State Administration of Science, Technology and Industry for National Defense (SASTIND)  และ  The Bureau of Military Equipment and Technology Cooperation (BOMETEC) ก่อนที่ต่อมาจะยุบรวมเป็นหน่วยเดียวคือ (BOMETE

ส่วนการชดเชยนั้น ฝ่ายจีนขอไม่ใช้คำว่า ชดเชย ให้ใช้คำว่า “ให้การสนับสนุนทางการทหารเพิ่มเติม”  โดย จีน ให้ Simulator ให้ ทร. มาใช้ฝึกเรือดำน้ำ ให้กำลังพล ทร.  และการฝึก  และอะไหล่บางส่วน รวมมูลค่า ราว 200 ล้าน เท่าเดิม

ทั้งนี้ คณะกรรมการ ยึดหลัก 4 ข้อคือ 1.ไม่ว่าจะได้ทางออกทางใด ประเทศและประชาชนต้องได้ประโยชน์สอง  2. ให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือ 3. ไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ 4.แก้ไขปัญหาร่วมกันฉันมิตรโดยหลีกเลี่ยงการใช้การฟ้องร้องทางกฎหมาย