วันที่  15 พ.ค.67 ที่ อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงโม่หิน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา กรณีมีข้อพิพาท บริษัทโรงโม่หิน และหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทาง 2 ผู้บริหารบริษัทโรงโม่หิน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้เข้าพูดคุย และอธิบายข้อพิพาทที่เกิดขึ้น  ว่า บริษัทครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินติดเขาถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งเอกสารเป็น สค.1 เมื่อปี พ.ศ. 2498  ต่อมาเปลี่ยนเป็น นส 3 นส 3 ก. และเป็นโฉนดเมื่อปี พ.ศ. 2550 จึงเป็นที่ดินของบริษัทอย่างถูกต้อง เมื่อมีการออกเป็นโฉนด ซึ่งระบุพื้นที่ติดเขา หน่วยงานราชการแจ้งว่า ถนนที่ทางบริษัทปิดไว้ ตามสิทธิ์การครอบครอง และเกรงว่าอาจเกิดอันตรายหากเปิดให้มีการสัญจรไปมา เป็นทางสาธารณะตามกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2599 ที่ให้พื้นที่ไหล่เขา กว้าง 40 เมตร เป็นทางสาธารณะ ซึ่งตามความเป็นจริง บริษัทถือครองที่ดินมาก่อนกฏหมายดังกล่าว และใช้งบประมาณของทางบริษัททำเป็นถนนราดยางมะตอย ให้รถขนาดใหญ่เข้า-ออก นอกจากนั้นทางบริษัทยื่นคำร้องต่อศาลขออำนาจคุ้มครอง และยื่นเอกสารการครอบครองต่อกรมที่ดิน ซึ่งอาจจะเกิดข้อผิดพลาดการออกโฉนดให้ทางบริษัทขาดพื้นที่ไปส่วนหนึ่ง ซึ่งร้องเรียนขอให้ออกโฉนดเพิ่มแต่ภาครัฐหลายหน่วยงาน กลับเร่งรัดให้ทางบริษัทรื้อถอนรั้วที่ปิดไว้เพื่อเปิดให้ประชาชนสัญจรไป-มา  โดยอ้างว่ามีประชาชนมาร้องเรียนขอให้เปิดทางพยายามกดดัน และส่งเอกสารราชการขอความร่วมมือให้เปิดทางตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ผ่านทางไลน์ ซึ่งขั้นตอนและข้อพิพาทยังไม่จบ มีประเด็นที่ทางบริษัทสงสัย คือทำไมเจ้าหน้าที่ ปปท. เข้ามาตรวจสอบ กดดันให้ภาครัฐเร่งดำเนินการทั้งๆที่ เป็นข้อพิพาทของภาครัฐกับเอกชน ไม่ใช่ข้อพิพาทเรื่องทุจริตระหว่างภาครัฐด้วยกัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนนำระเบิดมาวางไว้ที่ป้อมยาม แต่ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือใคร ยืนยันบริษัทไม่เคยมีปัญหากับใคร ประกอบกับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายให้กับบริษัทและส่งผลกระทบกับพนักงาน ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ ส่วนสาเหตุคาดว่าอาจจะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งของคู่กรณีเกี่ยวกับเส้นทางเข้าไปในพื้นที่ 

ส่วนพนักงานบริษัท  กล่าวว่า ที่ดินผืนนี้ ออกเป็น สค 1. ปี 2498 จากนั้นเปลี่ยนเป็น นส 3 ก. มีการไต่สวนที่ข้างเคียง ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน รับรองพื้นที่ติดเขา พอรางวัดเป็นโฉนดก็ยังติดเขา แต่ที่ดินกลับเหลือน้อยลง คิดว่ากันเขตรัศมีที่ดินติดเขา 40 เมตร ตามกฏหมาย 2499 และไม่มีคำว่าทางสาธารณะ 

อย่างไรก็ตามช่วงเช้าผู้บริหารและตัวแทนบริษัทได้พูดคุยกับนาย คณัสชนม์  นายอำเภอปากช่อง เพื่ออธิบายข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และเหตุผลที่ไม่สามารถให้เปิดรั้วกั้นได้ และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว  เพื่อให้กรมที่ดินออกโฉนดที่ดินที่ขาดไปเพิ่มเติมก่อนที่จะพูดคุยข้อพิพาทกันอีกครั้ง แต่นาย คณัสชนม์  ยึดตามเอกสารราชการล่าสุดเพื่อ ขอความร่วมมือกับทางบริษัทให้เปิดทาง พร้อมเชิญสื่อมวลชนมาเสนอข่าวเป็นหลักฐาน 

ต่อมานายคณัสชนม์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่อำเภอ  เจ้าหน้าที่ อบต. หนองน้ำแดง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปากช่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน และ สื่อมวลชน กว่า 50 นาย  ลงพื้นที่ข้อพิพาทโดยนาย คณัสชนม์ อธิบายรายละเอียดข้อพิพาททั้งหมด และความเดือดร้อนที่ส่งผลกระทบที่ประชาชน และ เซ็นต์รับเอกสารของบริษัทที่ยื่นต่อศาล และกรมที่ดิน ขอความร่วมมือให้ทางบริษัทรื้อถอนรั้ว เปิดเป็นทางเดินตามหนังสือราชการ แต่ทางบริษัทไม่ยินยอม จึงจะนำเอกสารไปตรวจสอบ ดูรายละเอียด หารือทางกฏหมายอีกครั้ง ซึ่งทางอำเภอยืนยันปฏิบัติตามกฏหมาย และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ส่วนผู้แทนทางบริษัท กล่าวว่าจะให้ทาง อบต. หนองน้ำแดง ถอนแจ้งความนั้น นายอำเภอ  กล่าวว่าทางอำเภอสั่งการให้ อบต. หนองน้ำแดงไปแจ้งความตามกฎหมายเพราะมองว่าเป็นทางสาธารณะ หากพบมีการกระทำผิด จำเป็นต้องแจ้งความดำเนินคดี 


นายอำเภอปากช่อง กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ข้อพิพาทนี้ ไม่ได้อยู่ในโฉนด ซึ่งพิกัดทางสาธารณะประมาณ 1 กิโลเมตรจากรั้วที่ทางบริษัทกั้นไว้ ทางบริษัทสามารถที่จะกั้นรั้วหรือปิดทางได้ต่อจากทางสาธารณะ ส่วนการเข้ามาตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ปปท. นั้น ปปท. อาจจะต้องการมาดูเรื่องการดำเนินการของทางราชการ หลังการร้องเรียนจากประชาชน  การพูดคุยเจรจาเสร็จสิ้น ทางอำเภอเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ และไม่ได้รับผลกระทบ ลงชื่อกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม อย่างไรก็ตามยืนยันให้ความเป็นธรรมที้งสองฝ่ายโดยเข้าใจและแยกย้ายกันกลับไป