วันที่ 15 พ.ค.67 นายอนุวัติ ลาภมี ประธานสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด พร้อมสมาชิก เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)  ขอให้เยียวยาความเดือดร้อนในการไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา 2567 ซึ่งเกิดผลกระทบโตยตรงกับสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด เนื่องจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนครไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน  ผ่านไปถึงผู้เกี่ยวข้อง เช่น รมว.เกษตรฯ , ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ,อธิบดีกรมปศุสัตว์ เพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ได้รับแจ้งเรื่องการจัดสรรสิทธิ์พื้นที่จำหน่ายนมโรงเรียน (กลุ่มพื้นที่ 3) ในครั้งนี้ ศูนย์รวมนมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ไม่ได้รับการเข้าร่วมจัดสรรสิทธิ์พื้นที่จำหน่ายนมโรงเรียนเพราะตกหลักเกณฑ์ ข้อ 5.11 ที่ระบุว่าผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เป็นสหกรณ์/ส่วนราชการ ต้องมีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและโคนมเป็นของตนเอง โดยมีแม่โครีดนมไม่น้อยกว่า 200 แม่ หรือมีนมโคที่สามารถผลิตน้ำนมติบได้ไม่น้อยกว่า 3 ตัน/วัน 

ประธานสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีแม่โครีดนมเพิ่มขึ้นจำนวน 201 ตัว ทั้งนี้ ทางสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด รวบรวมน้ำนมดิบและส่งขายน้ำนมดิบให้กับศูนย์รวมนมศูนย์รวมนมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ตั้งแต่ 28 ตุลาคม 2558 สหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ด้วยดีเสมอมาสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด  ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปี การศึกษา 2567 ตามประกาศโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนประจำปี 2567 ไม่มีรายชื่อศูนย์รวมนมศูนย์รวมนมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร ซึ่งสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ได้ทำ MOU การถ่ายโอนภารกิจ ระหว่าง ศูนย์ร่วมนมสถานีวิจัยวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนครตามพระราชดำริ นั้น กับ สหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน 

"สหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด รับผิดชอบในส่วนของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบที่รับซื้อกับสมาชิกของสหกรณ์เอง เพื่อขายให้กับศูนย์รวมนมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร เพื่อไปผสิตนมโรงเรียนส่งขายให้ อบต/เทศบาล ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงที่ตั้งศูนย์รวมนมสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกตัดสิทธิพื้นที่นมโรงเรียน เนื่องด้วย ในปี 2565 เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 8 ราย เนื่องด้วยต้นทุนอาหารในการเลี้ยงโคนมสูงทำให้เกษตรกรแบกรับภาระไม่ใหว ต่อมาในปี 2566 สมาชิกสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์อีก จำนวน 14 ราย เนื่องด้วยสาเหตุเดียวกัน ทำให้โครีดนมรวมลดลงอย่างเห็นได้ชัดแต่โครีดนมส่วนใหญ่เป็นของเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด ซึ่งสหกรณ์เองก็ได้ช่วยเหลือสมาชิกโดยการจัดหาอบรม เรื่อง อาหารลดตันทุนให้กับสมาชิก และสหกรณ์ยังต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในธุรกิจรวบรวมน้ำนมดิบซึ่งคำใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ ทำให้ธุรกิจรวบรวมน้ำนมติบขาดทุน 2 ปีติดต่อกัน"

นายอนุวัติ กล่าวด้วยว่า ในทุกเดือน สหกรณ์ฯส่งนมโรงเรียนในเขต อ.เมือง จำนวนกว่า 25,000 ถุง ถุงละ 6.89 บาท เป็นเงินวันละกว่า 150,000 บาททำให้สหกรณ์ฯ จะมีรายได้จากการขายน้ำนมดิบโดยในปีล่าสุด จำนวน 11,868, 668. 35 บาท ค่ารับจ้างขนส่งนมโรงเรียนจากศูนย์รวมนมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนครปีล่าสุด จำนวน
4,619,208.45 บาท ซึ่งสหกรณ์เองก็นำรายได้ในส่วนนี้มาใช้จ่ายหมุนเวียนภายในสหกรณ์ หากสหกรณ์ขาดรายได้ใน 2 ส่วนนี้ ก็จะทำให้ขาดรายได้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้  ส่งผลต่อเกษตรกรโดยตรงทั้งนี้ สหกรณ์โคนมภูพานสกลนคร จำกัด เป็นสหกรณ์ในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

อย่างไรก็ตาม นายชัยมงคล ไชยรบ สส.สกลนคร เขต 5 พรรคพลังประชารัฐ ได้รับฟังเรื่องทั้งหมดแล้ว ได้โทรศัพท์ถึงเลขานุการ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าเรื่องที่กรมปศุสัตว์ได้ออกนโยบายมาใหม่ สร้างความเดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ถือเป็นการกีดกันผู้เลี้ยงรายย่อยและเป็นการล็อกสเปคอย่างชัดเจน อย่าลืมว่า สหกรณ์โคนมภูพาน เป็นสหกรณ์ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์อุปถัมภ์ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี หากไม่มีการแก้ไขและทบทวน เชื่อว่าเร็วๆนี้ จะมีการนำนมไปเททิ้งที่หน้ากระทรวงเกษตรฯก็ได้