ทร. เตรียมเฮ! กห.เจรจา จีน นอกรอบ วันแรก ไปต่อ เรือดำน้ำจีน ยอมเปลี่ยน ใช้ เครื่ิองยนต์จีน เพื่อรักษาความสัมพันธ์และการค้า แถม ทร.ยันต้องการ เรือดำน้ำจีน เหลือ เจรจาต่อรอง ให้จีนชดเชย ค่าเสียเวลาเพิ่มคาด ตัดจบเจรจาทางการ พรุ่งนี้ 15 พค.
ผู้สื่อข่าวรายงาน จากกระทรวงกลาโหมว่า เมื่อบ่ายวันที่ 14 พค.2567 นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ได้มอบหมายให้ พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรือดำน้ำจีน เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจาหาทางออก กับ ตัวแทน รัฐบาลจีน และกลาโหม จีน
ก่อนหน้าที่จะมาคุยนอกรอบ ที่กลาโหม คณะตัวแทนรัฐบาลจีน ได้ไป คุยนอกรอบกับ กองทัพเรือ ที่ ทร. ก่อน โดยมี พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผช.ผบ.ทร. และ ประธานคณะกรรมการเรือดำน้ำของกองทัพเรือ แต่มีรายงานว่าทางจีนไม่ยอมชดเชยเพิ่มเติม
ต่อมา จึงมีการหารือกัน นอกรอบ ที่กระทรวงกลาโหม โดยมี พันเอกพิเศษ ฉี เซียนหนิง รอง ผอ.กรมการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหาร BOMETEC ของจีน และคณะ รวม 13 คน
โดย ก่อนหน้าที่จะมาคุยนอกรอบ ที่กลาโหม คณะตัวแทนรัฐบาลจีน ได้ไป คุยนอกรอบกับ กองทัพเรือ ที่ ทร. ก่อน โดยมี พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผช.ผบ.ทร. และ ประธานคณะกรรมการเรือดำน้ำของกองทัพเรือ แต่มีรายงานว่าทางจีนไม่ยอมชดเชยเพิ่มเติม
ต่อมา จึงมีการหารือกัน นอกรอบ ที่กระทรวงกลาโหม ในวันนี้ 14 พค. ที่ถือเป็นวันแรก และเป็นการพูดคุย นอกรอบก่อน ที่จะเจรจาเต็มคณะ อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 พค. เพื่อให้ได้ข้อตกลง เพื่อที่ วันที่15 พค. จะได้ลงนาม ในผลสรุปการเจรจาได้
โดยมีรายงานว่า ทั้ง2 ฝ่าย เห็นพ้องที่จะเดินหน้า ต่อเรือดำน้ำจีน S25T ลำแรก ต่อไป และ กองทัพเรือ พร้อมที่จะเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำ เป็นเครื่องยนต์ จีน CHD 620 ทดแทน MTU 396 ที่เยอรมัน ไม่ขายให้จีน มาใส่เรือดำน้ำ ที่ต่อให้ ทร.ไทย
ทั้งนี้ เพราะ ทร. เคยส่งคณะทำงานไปร่วมทดสอบ เครื่องยนต์จีน CHD620 แล้ว แม้จะเป็นเครื่องยนต์ ที่จีนพัฒนาเองและเป็นเครื่องต้นแบบ ที่ยังไม่เคยใส่ในเรือดำน้ำของชาติใด แม้แต่ของกองทัพเรือจีนก็ตาม
แต่กระทรวงกลาโหมจีน ก็ได้ออกใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมให้แล้ว อีกทั้งกองทัพเรือปากีสถาน ซึ่งประสบปัญหาเดียวกับกองทัพเรือไทยได้ยอมรับยอมรับ ที่จะให้จีนใส่เครื่องเครื่องยนต์จีน แทนเครื่องยนต์เยอรมัน แล้วเช่นกัน
หาก เจรจาตกลงกันได้ ตามขั้นตอน ทร.จะต้องจะเสนอให้กลาโหม นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติในการขยายเวลาในการต่อเรือดำน้ำลำแรกอีก 1,217 วัน
ส่วนการเปลี่ยนเครื่องยนต์นั้น กองทัพเรือได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความแล้วระบุว่าไม่ใช่สาระสำคัญ จึงให้กองทัพเรือ สามารถดำเนินการในการเปลี่ยนเครื่องยนต์ได้เอง
อย่างไรก็ตาม การเจรจายังไม่ลงตัวทั้งหมด และ ยังไม่มีความชัดเจนว่า ทางจีนจะชดเชย เยียวยาให้ฝ่ายไทย ที่ต้องเสียเวลาไปหลายปี จากเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ เพิ่มเติมอย่างไร
หลังจากที่จีน เสนอชดเชยด้วยการฝึก และอะไหล่ฟรี รวมวงเงิน 200 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งทางคณะกรรมการกลาโหมฯ มองว่าเป็นการชดเชย ที่น้อยเกินไป
ส่วนเรื่องข้อเสนอเรือดำน้ำมือสองนั้น ทางจีนก็พร้อมที่จะให้เรือดำน้ำมือสองมา แต่เป็นรุ่นเก่าทางคณะกรรมการกลาโหม เห็นว่าไม่คุ้มค่า เพราะจะต้องมาจ่ายค่าซ่อมปรับปรุง และอะไหล่ในอนาคตอีก จีนควรจะให้เรือดำน้ำชั้นหยวน ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับที่เรากำลังจะต่อ เพื่อนำมาฝึกศึกษาในช่วงที่รอต่อเรือดำน้ำ กว่าจะเสร็จ อีกเกือบ4 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ผลการสรุปการพูดคุยหาทางออกในการแก้ปัญหาจะหารือกันอีกครั้งในการเจรจาอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ คาดว่าจะสามารถเจรจาทุกอย่างให้จบลงได้
ทั้งนี้ตามนโยบายของนายสุทินที่ให้กับคณะกรรมการ3 ข้อคือ 1.ไม่ว่าจะได้ทางออกทางใด ประเทศและประชาชนต้องได้ประโยชน์สอง 2. ให้ตรงความต้องการของกองทัพเรือ 3. ไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทั้งนี้เพราะมีรายงานว่า ทางบริษัทCSOC ที่ต่อเรือดำน้ำ ไม่เห็นด้วย ที่จะให้ยกเลิกเรือดำน้ำแล้ว เปลี่ยนเป็นเรือฟริเกต หรือเรือผิวน้ำ ตามที่ นายสุทิน ต้องการ
หลังจากที่นายสุทิน ได้พยายามยกเลิกโครงการเรือดำน้ำจีนตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งกลาโหมแรกๆเมื่อปลายปี 2566 ที่ผ่านมาแต่การเจรจากับจีนก็ไม่สำเร็จ
จนมีการพยายามอีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมาที่ นายสุทิน เดินทางไปเจรจาที่ประเทศจีนด้วยตนเอง แต่ท้ายที่สุด ก็ต้องกลับมาต่อเรือดำน้ำจีนต่อ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตไม่ยินยอม ให้ยกเลิกเรือดำน้ำ และอาจต้องมีการฟ้องร้องตามกฏหมาย กันอีกยาวไกล และอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทััง มีรายงานว่า ทางจีนพร้อมที่จะชดเชยเป็นเรื่องของการซื้อสินค้าเกษตรหรือการลงทุนต่างๆในประเทศไทยตามนโยบายการค้าต่างตอบแทนของรัฐบาลไทย โดยให้ทางกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ประสานและติดตามในเรื่องนี้