63เครือข่ายแพทย์ฯ-นักวิชาการ-ภาคปชช.ล่าชื่อส่งจม.เปิดผนึกถึงนายกฯหนุน “กัญชา” กลับสู่บัญชียาเสพติด
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด ได้ทำจดหมายเปิดผนึกเพื่อยื่นถึงรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยสนับสนุนแนวทางนำกัญชากลับคืนสู่บัญชียาเสพติด โดยมีเนื้อหาระบุว่า
เรื่อง จดมหายเปิดผนึก สนับสนุนนโยบายรัฐบาลเรื่องการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 5
เรียน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามที่เป็นข่าววันที่ 8 พ.ค. 2567 ว่าท่านนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
โดยขอให้แก้ไขปัญหายาเสพติดและนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ประเภท 5 และเร่งออกกฎกระทรวง อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการแพทย์และสุขภาพเท่านั้น โดยกำหนดไทม์ไลน์ การดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้นั้น
เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติดขอสนับสนุนนโยบายนี้ด้วยเหตุผลหกประการ คือ
(1) การปลดกัญชาเสรีด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมติคณะกรรมการ ป.ป.ส. ที่ให้กระทรวงสาธารณสุข รอการบังคับใช้ 120 วัน จนกว่าจะมีกฎหมายควบคุมกัญชาโดยเฉพาะ ออกมาบังคับใช้ และให้เลื่อนการการปลดกัญชาเสรีออกไปได้ หากกฎหมายกัญชายังไม่แล้วเสร็จ
จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อต้องให้มีมาตรการควบคุมการใช้กัญชาในทางที่ผิดที่ดีเพียงพอก่อน แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังคงเดินหน้าบังคับใช้ให้เกิดการปลดกัญชาเสรี แม้จะยังไม่มีกฎหมายกัญชา ออกมาก็ตาม จึงเป็นการปลดกัญชาเสรีที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมตามกระบวนการทางกฎหมาย ตั้งแต่ต้น
(2) การปลดกัญชาเสรีนี้ ก่อให้เกิดสถานการณ์ "กัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ" ทันที คือ ไม่มีมาตรการควบคุมเลยโดยสิ้นเชิงผู้ใดจะปลูกหรือจะเสพทำได้หมด โดยไม่มีมาตรการควบคุมใดๆ (ไม่มีประเทศใดในโลกปลดกัญชาแบบนี้) ต่อมากระทรวงสาธารณสุขทยอยออกมาตรการควบคุมตามมาจำนวนหนึ่ง แต่ก็เป็นมาตรการที่ไม่มีประสิทธิผลและบังคับใช้ยาก
เป็นผลให้เกิดการปลูกกัญชาทั่วประเทศ ทั้งแบบครัวเรือนและแบบพาณิชย์โดยไม่ต้องขออนุญาต ส่งผลให้เยาวชนเข้าถึงและเสพติดดอกกัญชาได้ง่ายจากการปลูกเอง ขโมย หรือได้รับจากเพื่อน ไม่มีการห้ามโฆษณากัญชา หากไม่ใช้ดอกกัญชามาทำการโฆษณา จำหน่ายกัญชาที่ทำจากใบกัญชาทางเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง และพกพากัญชาในที่สาธารณะได้ไม่จำกัดจำนวน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของกัญชาทั่วประเทศไทย
(3) การแพร่ระบาดของกัญชานี้ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง มีผู้เสพกัญชามากขั้นทั่วประเทศ จำนวนผู้ป่วยจิตเวชเกี่ยวกับการใช้กัญชาที่เข้ารับการรักษาในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (แต่ข้อมูลนี้ไม่ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการ) ครูและผู้ปกครองสะท้อนปัญหาเยาวชนเสพกัญชาอย่างกว้างขวางทั่วไป
(4) การนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 5 ด้วยการแก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้กัญชากลับไปอยู่ภายใต้การควบคุมของประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์อยู่แล้ว การพัฒนาให้ผู้ป่วยเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น
หรือการสนับสนุนเศรษฐกิจกัญชาทางการแพทย์ เป็นสิ่งที่ทำได้ โดยการออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพัฒนาการบริหารจัดการการให้บริการกัญชาทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องปลดกัญชาจากการเป็นยาเสพติดในแบบที่กระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลก่อนทำมา ซึ่งก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศในระยะยาว และทำให้สูญเสียคะแนนนิยมทางการเมืองอีกด้วย
(5) ข้อโต้แย้งของผู้ดำเนินธุรกิจกัญชา หรือผู้ที่ปลูกกัญชาแล้วว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เหตุผลในการหยุดยั้งนโยบายนำกัญชากลับไปเป็นยาเพสติด เนื่องจาก
(ก) ผู้ที่ดำเนินธุรกิจต้องประเมินความเสี่ยงและรับผิดชอบการกระทำของตนเองอยู่ แล้วทั้งด้านกำไรและขาดทุน
(ข) หากกำหนดบทเฉพาะกาล เช่น อนุโลม 3-6 เดือน สำหรับ กัญชาที่ปลูกไว้แล้ว แต่ไม่ให้ปลูกใหม่ กัญชาที่ปลูกไว้แล้ว จะตายไปโดยธรรมชาติ เพราะเป็นพืชล้มลุก เป็นการบรรเทาความเสียหายเชิงเศรษฐกิจที่เพียงพอแล้ว
(ค) รัฐบาลต้องคำนึงถึงคนทุกกลุ่ม ผู้ปลูกและผู้ดำเนินธุรกิจกัญชามีจำนวนเพียงหลักพันหรือหลักหมื่น แต่เยาวชนที่สมองถูกทำลายได้ด้วยกัญชา พ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ดี ครู ที่ต้องสั่งสอนลูกศิษย์ พระที่ต้องสอนศีลธรรม หมอและพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วย มีจำนวนหลายสิบล้านคน อีกทั้ง นักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ต้องไม่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระยะสั้น มาบดบังผลกระทบทางสังคมในระยะยาว
(6) การปลดดอกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นผลให้ใช้กัญชาเพื่อความบันเทิงได้ เป็นการขัดต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติด ค.ศ. 1961 ฉบับแก้ไข ที่ขณะนี้ยังคงอนุญาตให้ใช้กัญชาได้ในทางการแพทย์เท่านั้น ก่อให้เกิดผลกระทบ คือ ประเทศที่ฝ่าฝืนต่ออนุสัญญาฯนี้ มีโอกาสถูกห้ามนำเข้ายารักษาอาการปวดบางประเภท (เช่น มอร์ฟีน) ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อระบบการแพทย์และผู้ป่วยอย่างมาก
เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน ต้านภัยยาเสพติด จึงส่งจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ มาเพื่อสนับสนุนนโยบายนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 5 และการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เท่านั้นของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ณ โอกาสนี้ และจะติดตามการทำงานของรัฐบาลในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด จนกว่าบรรลุผลต่อไป
สำหรับรายชื่อที่ร่วมสนับสนุน ประกอบด้วย เครือข่ายแพทย์ นักวิชาการ และภาคประชาชน
1. นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2. ดร.วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ที่ปรกึษาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ
3. ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล นักวิทยาศาสตร์ Centre for Addiction and Mental Health, Canada
4. รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น และผู้จัดการโครงการต้นทุนชีวิต ประเทศไทย
5. ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์ ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. พล.ต.นพ.พิชัย แสงชาญชัย ประธานชมรมจิตเวชศาสตร์ การเสพติดแห่งประเทศไทย
8. รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
9. ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรสีนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย
10. ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ อายุรแพทย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
11. ศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ศาสตราจารย์สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
12. ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13. ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14. นายไฟซ้อน บุญรอด ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด
15. นายวชัรพงศ์ พุ่มชื่น นักพัฒนางานวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ
16. นพ.ไพศาล ปัณฑุกำพล สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี
17. นพ.วิทยา จารุพูนผล ข้าราชการบำนาญ รพ.ขอนเก่น
18. นพ.วิโรจน์ เยาวพลกุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
19. นพ.วัฒนา สุพรหมจักร แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
20. พล.อ.นพ.ชศูักดิ์ สุวรรณศิรกิุล แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
21. พล.อ.ท.นพ.วิศิษฏ์ ดุสิตนานนท์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
22. นพ.เจริญ ปฏิภาณเทวา แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
23. พญ.ภาพิส เสงี่ยมพรพาณิชย์ ข้าราชการบำนาญ
24. พญ.อรพินธ์ พจน์พริ้ง อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
25. พล.อ.นพ.อิสสระชัย จุลโมกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ รพ.บางโพ และอดีตผู้อำนวยการ รพ.พระมงกุฏเกล้าฯ
26. นพ.พงษ์สันติ์ ลี้สัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพ รพ.หัวเฉียว
27. นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ รพ.มหาราชนครราชสีมา
28. ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม อายุรแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี
29. นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
30. นพ.อธิคม สงวนตระกูล กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา
31. พญ.สริฐา มหาศิริมงคล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง
32. นพ.ปฏิเวช งามวิจิตวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง
33. พญ.วิภัสรา สวัสดี นายแพทย์ชำนาญการ รพ.บุรีรัมย์
34. นายยศกร ขุนภักดี ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนไม่นะกัญชาและยาเสพติด (YNAC)
35. พญ.เสาวลักษณ์ นาคะพงษ์ อดีตผู้อำนวย รพ.มหาสารคาม
36. นพ.เสถียร เตชะไพฑูรย์ แพทย์ รพ.บำรุงราษฎร์
37. นายวิฑูรย์ เตชะพัฒนสุนทร Auditor บริษัทมหาชนหลายแห่ง
38. นายวันชัย ตุลาธมุตติ วิศวกร
39. นายชัยโรจน์ วัฒนวรรณเวชช์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับกระจก
40. นายซื่อตรง เจียมจรรยา แพทย์เกษียณ อดีตอาจารย์คณะแพทย์ รามาธิบดี
41. พญ.ดวงเดือน ศิลปสุวรรณ แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทย์ ศิริราชพยาบาล
42. นพ.ธนวรรฒน์ โชติมา ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
43. นพ.นคร ภิญญาวัฒน์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
44. นพ.พรเทพ จันทวานิช ที่ปรึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
45. พอ.นพ.ศักดิ์ชัย อติโพธิ แพทย์เกษียณ กรมการแพทย์ทหารบก
46. พญ.สุรภี เรืองสุวรรณ อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
47. ศ.พญ.อังกาบ ปราการรัตน์ อดีตอาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
48. พญ.กฤษณา เพ็งสา อดีตอาจารย์คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
49. พญ.อุไภยพรรณ ลุวีระ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
50. พญ.สุนันท์ ไรวา ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
51. พล.ตรี พญ.ยุพาพิญ จุลโมกข์ แพทย์เกษียณ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
52. นพ.วรพล ชีรณานนท์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, แพทย์ รพ.สุขุมวิท
53. พญ.กาญจนา ชัยกิตติศิลป์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, แพทย์ รพ.กรุงเทพ
54. พล.อ. นพ.สีมา ศุภเกษม แพทย์เกษียณ รพ.พระมงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
55. ศ.เกียรติคุณ นพ.เกรยีงศักดิ์ จีระแพทย์ อดีตอาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
56. ผศ.นพ.เอื้อพงศ์ จตุรธำรง อดีตรองคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
57. พล.ท.หญิง ทิพย์สุรยี์ นาคประสิทธิ์ ข้าราชการเกษียณ รพ.พระมงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
58. รศ.พญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย กรรมการและเหรัญญิกราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
59. พล.ต.หญิงยุพาพิน จุลโมกข์ แพทย์ รพ.พระมุงกุฏเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
60. นพ.ภิญโญ เปลี่ยนรงัษี แพทย์โรงพยาบาลเปาโล
61. พญ.ประภาพรรณ นาควัชระ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
62. พญ.รุ่งเรือง กาญจนภูมิ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
63. นพ.สมหวัง อภิชัยรักษ์ ศิษย์เก่าคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล