สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์

“พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ” “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน” มีลักษณะคล้ายเม็ดขนุน ซึ่งนักนิยมพระรุ่นเก่ามักเรียกกันว่า “พระกำแพง เขย่ง” พบบริเวณลานทุ่งเศรษฐี แถบวัดพิกุล วัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และบริเวณทั่วๆ ไป มีจำนวน ไม่มากนักเมื่อเทียบกับ “พระกำแพงซุ้มกอ” ในสมัยก่อนค่านิยมและสนนราคาเช่าหาจึงสูงกว่าพระกำแพง ซุ้มกอมาก จนในชั้นแรกได้รับการบรรจุในชุด “เบญจภาคี” ก่อนพระกำแพงซุ้มกอ

ชี้ตำหนิพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน

ลักษณะของพระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านและเกสรดอกไม้ ทำจากเนื้อว่าน ล้วนๆ และเนื้อชิน คล้ายกับพระกำแพงซุ้มกอ องค์พระมีขนาดความสูงประมาณ 4 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. เป็นพระที่มีพระพุทธศิลปะที่งดงามหมดจดแทบไม่มีที่ติ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระพิมพ์ที่จำลอง มาจาก พระพุทธรูปปางลีลาในสมัยสุโขทัย ลักษณะการก้าวย่างอ่อนช้อย นุ่มนวล น่าจะเป็นด้วยฝีมือ ช่างหลวง พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนนั้นเท่าที่พบมีอยู่ 3 สี คือ สีแดง-สีเหลือง-สีเขียว สำหรับตำหนิ ของแม่พิมพ์พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนนั้นมีเพียงพิมพ์เดียวพุทธลักษณะลีลาก้าวย่าง โดยหันด้านข้างให้ เห็น มีขอบซุ้มเป็นเส้นลึกเข้าไปในพื้นขององค์พระอยู่บริเวณรอบองค์พระ พระประธานจะประทับ ยืนอยู่ติดผนัง เมื่อพิจารณาดูจะเหมือนกับองค์ท่านลอยออกมา เหมือนก้าวย่างได้ อีกประการหนึ่งคือ ลักษณะการก้าวย่างคล้ายดำเนินไปข้างหน้า มีชายจีวรโบกสะบัดพลิ้วไปทางด้านหลัง ส่วนด้านหน้า ผ้าจีวรแนบกับองค์พระจนแทบจะมองไม่เห็น

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน

ส่วนเอกลักษณ์แม่พิมพ์ และแนวทางในการพิจารณาพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนมีดังต่อไปนี้

ตำหนิที่ 1 บริเวณร่องที่เป็นกรอบทั้งสองด้านขององค์พระจะปรากฏร่องลึกและมีเส้นวิ่งขวาง ลักษณะคล้ายเกลียวเชือก                               

ตำหนิที่ 2 ปลายพระหนุ (คาง) จะแหลม                                                       

ตำหนิที่ 3 พระพาหาด้านขวาขององค์พระมีลักษณะอ่อนช้อย ฝ่าพระหัตถ์ใหญ่และมีเส้นแซมใต้ฝ่าพระหัตถ์ ปรากฏนิ้วพระหัตถ์ชัดเจน                                                                                              

ตำหนิที่ 4 พระกรรณทั้งสองข้างจะติดเป็นเส้นเรียวเล็ก                                              

ตำหนิที่ 5 ซอกพระพาหา (แขน) ด้านซ้ายขององค์พระที่ยกพระหัตถ์ประทานพร มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมลึก              

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน                               

ตำหนิที่ 6 ด้านบนของปลายพระบาทด้านขวามีเม็ดเป็นก้อนกลมตื้นๆ          

ตำหนิที่ 7 พระทุกองค์จะปรากฏร่องรอยการดันองค์พระออกจากแม่พิมพ์บริเวณด้านล่างสุดขององค์พระ (ก้นองค์พระ)

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน

ทางด้านพุทธคุณนั้นพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน  เป็นพระกรุเก่าของเมืองกำแพงเพชรเช่นกัน พุทธคุณจึงครบเครื่อง ทั้ง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณว่า “มีกูแล้วไม่จน”ครับผม