วันที่ 9 พ.ค.2567-ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา โพสต์บนเพจเฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ว่า   

ความสำคัญและคุณประโยชน์ของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในวงวิชาการนานาชาติ

ได้รับการเผยแพร่ผ่านบทความวิจัยเรื่อง

“The sufficiency economy philosophy and strategic HRD: a sustainable development for Thailand”

โดย Dr.  Oranuch Pruetipibultham

บทความวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศชั้นนำชื่อ วารสาร Human Resource Development International Vol. 13, No. 1, February 2010, 99–110

(วารสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นานาชาติ)
———-

เนื้อหาย่อ

บทความนี้ศึกษาทฤษฎีที่เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีต้นแบบมาจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า

และความเชื่อมโยงของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ 

เพื่อสร้างความเจริญในสังคมอย่างยั่งยืนในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอันผันผวนและรวดเร็ว 

ความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดผลกระทบทางลบที่เกิดกับองค์กรหรือชุมชนในมิติต่างๆ 

อย่างที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ Mr. Kofi Annan กล่าวยกย่องทฤษฎีนี้ว่าเป็นทฤษฎีที่สามารถช่วยให้มนุษย์มองเห็นความเชื่อมโยงของความเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัฒน์ไม่แค่ในประเทศไทย   

แต่ในหลายๆที่ในโลก ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสมดุลจากการเดินทางสายกลาง (Middle-way Approach) 

ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์การสหประชาชาตินำพาการพัฒนาที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (People centred) บนเส้นทางที่ยั่งยืน (Sustainable path) 

งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นภาพของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 

และบทบาทอันสำคัญยิ่งของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการศึกษาและน้อมนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือชุมชนที่ตนปฏิบัติงานหรืออยู่อาศัย 

บทความเน้นย้ำบทบาทที่สำคัญสามด้านของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ

-ด้านการพัฒนาสมรรถนะหลัก 

-การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบ 

และ

-การสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน