ที่บริเวณชายป่าหน่วยจัดการต้นน้ำคลองกลาย เมื่อเวลา 01.00 น.ที่ผ่านมา นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตวป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช กำลังเจ้าหน้าที่อุทยาน และนายวิโรจน์ สุประดิษฐ์ หรือที่รู้จักในชื่อ “ควาญอ็อด”ควาญช้างผู้เชี่ยวชาญผู้ใช้วิชาควาญช้างเข้าช่วยควบคุมพลายไข่นุ้ยมาตลอด 8 เดือนที่ผ่านมาหลังจากสามารถจับตัวไว้ได้และถุกคุมตัวรอการเคลื่อนย้ายที่บริเวณชายป่าแห่งนี้
โดยในที่สุดเมื่อคืนที่ผ่านกำลังเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายช้างป่า “พลายไข่นุ้ย”แล้วหลังจากช่วงเย็นพระอาทิตย์เริ่มตกดิน ได้ถูกนำตัวขึ้นรถบรรทุก 10 ล้อโดยวิธีการใช้ช้างพี่เลี้ยงคือพลายเข็มทอง ช้างพลายของควาญอ็อดเป็นพี่เลี้ยงควบคุมนำตัวพลายไข่นุ้ยขึ้นไปอยู่บนรถบรรทุก โดยมีพลายเข็มทอง ยืนเป็นพี่เลี้ยงประกบรอการเดินทางตามฤกษ์ของวิชาควาญช้างในการควบคุมช้างป่าคือเวลาตี 1 หรือ 01.00 น.ของวันนี้ และเป็นช่วงที่อากาศคลายความร้อนสะดวกกับการเดินทางของช้าง โดยก่อนออกเดินทางมีภาพประทับใจที่บีบหัวใจเจ้าหน้าที่หลายคน ทีมพี่เลี้ยงพลายไข่นุ้ยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อุทยาน คอยไปหาอาหารบรรทุกมาให้พลายไข่นุ้ยตลอด 8 เดือนกลายเป็นคนสนิทของพลายไข่นุ้ยที่ได้รับความไว้วางใจได้ยื่นงวงมาให้พี่เลี้ยงทั้งหมดที่เรียกพลายไข่นุ้ยว่า “บ่าว”(หมายถึงเด็กหนุ่ม) ได้จับงวงทุกคนคล้ายกับรู้ว่าจะออกเดินทาง เมื่อพี่เลี้ยงบอกให้เดินทางไปอยู่ในที่สบายกว่านี้พลายไข่นุ้ยกลับมีน้ำตาไหลออกมาสิ้นวิสัยช้างป่าอย่างสิ้นเชิง ยิ่งทำให้พี่เลี้ยงที่มาส่งน้ำตาซึมไปด้วยและบอกเพียงว่าเป็นความผูกพันธ์ที่อยู่ด้วยกันมา และบางคนยอมไม่มาส่งเนื่องจากความรักที่อยู่ด้วยกันมาถึง 8 เดือน อต่อย่างไรก็ตามต่างเข้าใจดีว่าพลายไข่นุ้ยจะไปถูกปล่อยในพื้นที่มีความเป็นอยู่สบายกว่าที่นี่
นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตวป่าและพันธุ์พืช ระบุว่ายืนยันว่าจากประสบการณ์นั้นการจับช้างไปปล่อยในพื้นที่ป่าจะสามารถเดินกลับมาในพื้นที่เดิมได้อีก เช่นพลายไข่นุ้ยมีวิสัยที่ผิดแปลกไปจากช้างป่าทั่วไป ยิ่งจะสร้างความเดือดร้อนอีกจึงต้องเคลื่อนย้ายไปอยู่ในพื้นที่เฉพาะที่มีการดุแลอย่างดีมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยตลอดการเดินทางจะไม่มีการใช้ยาซึมเนื่องจากเป็นห่วงภาวะข้างเคียง แต่อย่างไรก็ตามมีควาญผู้เชี่ยวชาญประกบติดตามขบวนขนย้าย มีสัตวแพทย์ มีรถน้ำคอยเติมความเย็นและให้ช้างพลายไข่นุ้ย รวมถึงช้างพี่เลี้ยงคอยประกบดูแลคือพลายเข็มทอง จนถึงที่ตัวตึงแห่งตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างความเดือดร้อนอย่างหนักในพื้นที่เกษตรกรรมผิดวิสัยช้างป่าทั่วไป โดยการเคลื่อนย้ายจะถึงคอกอนุบาลช้างป่า ที่มีพื้นที่ 4 ไร่สภาพแวดล้อมเหมาะสม ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา อ.เมืองพังงา จ.พังงา ในเวลาประมาณ 09.00 น.ของเช้าวันนี้
สำหรับคอกอนุบาลช้างป่า ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา กรมอุทยานฯ ร่วมกับมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการจัดการและการดูแลสัตว์ป่าที่ลงนามเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อร่วมมือทางวิชาการ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรช้างป่า การดูแลช้างป่าที่บาดเจ็บ การจัดหาสถานที่ดูแล รักษา และพักฟื้นช้างป่าให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ หรือปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ รวมถึงการพิจารณาแก้ไขปัญหาช้างป่ารบกวนประชาชน