วันที่ 29 เม.ย.67 นางชุติมา อาจณรงค์กร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าเสา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโรงสูบน้ำดิบจากแม่น้ำน่านพร้อมท่อส่งน้ำดิบ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสา ทั้ง 10 หมู่บ้าน ประกอบ ด้วย 1.บ้านคลองห้วยไผ่ 2.บ้านหนองบัว 3.บ้านหนองผา-นาโปร่ง 4.บ้านหนองคำฮ้อย  5.บ้านม่อนดินแดง 6.บ้านบนดง804 7.บ้านดงตะขบ 8.บ้านดงตะขบ 9.บ้านหนองหิน 10.บ้านม่อนดินแดง ประชาชนจำนวนกว่า 20,000 คน เกือบ 8,000 ครัวเรือน จะได้รับความสะดวกจากการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจากโครงการนี้ทุกครัวเรือน 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ทางเทศบาลตำบลท่าเสา ได้ดำเนินโครงการประชุมจัดเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น งบปราณ 2567 ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเสา โดยมีนายศิวัช  ฟูบินทร์ นายอำเภอเมืองอุตรดิตถ์เป็นประธาน เพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น รับฟังปัญหาความต้องการของประชาชนการเตรียมความพร้อมในการตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ในทุกมิติ การพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรง การเป็นสังคมสูงวัย ส่งผลให้ประชาชนมีความยากลำบากในการดำรงชีพ จากความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและภายใน การปรับตัว การปรับเปลี่ยนปัจจัยที่จำเป็น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวด ล้อม ตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน/ชุมชน พื้นที่ และประเทศรวมทั้งปรับทิศทางรูปแบบและแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 1-10หมู่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาล(สท.) ผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มสตรี กลุ่ม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและประชาชน เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

“วัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีเครือข่าย ในการเสนอปัญหา ความต้องการต่างๆ และวิเคราะห์ปัญหาความต้องการร่วมกัน, เพื่อให้การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561, เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาจังหวัดแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการประจำปีจังหวัด เพื่อสามารถบูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรมและงบประมาณในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนโครงการก่อสร้างโรงสูบน้ำดิบจากแม่น้ำน่านพร้อมท่อส่งน้ำดิบ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสา ทั้ง 10 หมู่บ้านนั้น ได้บรรจุอยู่ในแผนดังกล่าว และได้รับการจัดทำประชาคมผ่านการเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” นางชุติมา นายกเทศมนตรีตำบลท่าเสากล่าว 
นางชุติมา  กล่าวว่า  ปัญหาภัยแล้งและปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาเป็นสิ่งที่ประชาชนคาดหวังว่าจะเกิดความล่าช้านั้น อยากให้ตัดออกไปได้เลย เพราะความล่าช้าได้ผ่านไปแล้ว ในช่วงที่ทางเทศบาลได้ดำเนินการจัดหาวิศวกรมาดำเนินการสำรวจออกแบบ พร้อมขออนุญาตหน่วยงานต่างๆขอใช้พื้นที่ที่จะต้องวางท่อน้ำดิบจากแม่น้ำน่านผ่านตามเส้นทางดังกล่าวเข้าสู่โรงผลิตน้ำประปาหนองช้างเพรียง ประกอบด้วย กรมเจ้าท่าภูมิภาคสาขาแพร่ ซึ่งดูแลอุตรดิตถ์, ค่ายพิชัยดาบหัก มณฑลทหารบกที่35 ขออนุญาตวางท่อน้ำดิบผ่านพื้นที่, การทางรถไฟแห่งประเทศไทย(อุตรดิตถ์) จำเป็นต้องวางท่อลอดใต้เส้นทางรถไฟ, แขวงการทางอุตรดิตถ์(1) ทั้งหมดนี้ทางเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

สำหรับงบประมาณที่จะดำเนินการนั้น เป็นการจ่ายขาดเงินสะสมของทางเทศบาลตำบลท่าเสา พร้อมที่จะดำเนินการ ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเข้าสู่สภาเทศบาล ตำบลท่าเสา หากสมาชิกสภาเทศบาล (สท.) ลงมติเห็นชอบอนุมัติผ่านสภา ก็สามารถดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างพร้อมก่อสร้างได้ทันทีในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน นายกเทศมนตรีตำบลท่าเสา กล่าวว่า ในส่วนเรื่องของราคาน้ำประปา ทางคณะผู้บริหารมีความคิดในเบื้องต้นเอาไว้แล้วว่า จากปัญหาที่ทางเทศบาลขาดแคลนน้ำประปามาเป็นเวลาถึง 20 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาทางเทศบาลตำบลท่าเสา จำเป็นต้องซื้อน้ำประปาจากเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ในฐานะที่อยู่นอกเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ในอัตราราคา 9 บาท/ลูกบาศก์เมตร สูงกว่าราคาที่ขายให้กับในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อัตราราคา 7 บาท/ลูกบาศก์เมตร หรือแพงกว่า 2 บาท/ลูกบาศก์เมตร หากการดำเนินการก่อสร้างระบบประปาในเขตเทศบาลตำบลท่าเสาเสร็จสิ้นแล้ว การคิดค่าน้ำประปาให้กับประชาชนในเขตบวกลบต้นทุนการผลิต ทางเทศบาลจะต้องดำเนินคิดราคาให้ถูกกว่า 9 บาท/ลูกบาศก์เมตร 

นายกเทศมนตรีตำบลท่าเสา กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้ามาเป็นผู้บริหารนายกเทศบาลตำบลท่าเสา เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.)อุตรดิตถ์ ถึง 12 ปี ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ตำบลท่าเสา ได้พยายามผลักดันแหล่งน้ำดิบให้กับทางเทศบาลตำบลท่าเสา ด้วยการดึงน้ำจากแม่น้ำน่านเข้ามาใช้แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ นับตั้งแต่เข้ามาเป็นผู้บริหารนายกเทศมนตรี ในเดือนแรกของการทำงานได้พูดคุยกับฝ่ายข้าราชการและฝ่ายการเมืองรวมถึงประชาชน พร้อมหาวิศวกรออกแบบโรงสูบน้ำ การวางท่อน้ำดิบและท่อน้ำประปาเข้าในแต่ละพื้นที่ของหมู่บ้าน พร้อมขออนุญาตหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อย เงินงบประมาณพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการได้ทั้ง 3 โครงการเป็นที่ชัดเจนแน่นอนแล้ว

“ตลอด 20 ปี ปัญหาเรื่องน้ำประปาในเขตเทศบาลตำบลท่าเสา ถือเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่ยังแก้ไขไม่ได้ และในตลอดระยะเวลา 10 ปี เทศบาลตำบลท่าเสาได้ซื้อน้ำจากเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ หมดเงินไปเกือบ 100 ล้าน ความจำเป็นคือเทศบาลตำบลท่าเสาต้องมีสถานีสูบน้ำดิบเป็นของตัวเอง และเป็นสิ่งที่แน่นอนกว่า  ตอนนี้ได้ดำเนินการวางแผนงานเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้วางแผนล่วงหน้าไว้ถึง 10 ปี พี่น้องประชาชนจะมีน้ำประปาใช้อย่างพอเพียง น้ำประปาจะไหลแรงอย่างขึ้นอย่างแน่นอน การทำงานเมื่อรู้สึกเหนื่อยเราก็พัก เมื่อพักแล้วทำงานต่อ พร้อมที่จะสู้ต่อไปเพื่อพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลตำบลท่าเสา” นางชุติมา นายกเทศมนตรีตำบลท่าเสสา กล่าวทิ้งท้าย

ว่าที่ ร.ท.ธรรมรัตน์ สวนสุข ปลัดเทศบาลตำบลท่าเสา กล่าวว่า หลังจากที่ทางเทศบาลได้ดำเนินการโครงการประชุมจัดเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น งบปราณ 2567 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อแจ้งให้ประชาชนตำบลท่าเสาได้รับรู้รับทราบว่า ทางส่วนราชการเทศบาลตำบลท่าเสา จะดำเนินแผนงานโครงการอะไร ซึ่งแผนงานโครงการจะมีในเรื่องผลประทบกับประชาชนหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร รัฐจะทำอะไรจะต้องแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบ อีกทั้งจะได้รับรู้รับทราบปัญหาความต้องการ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในภาพรวมของทั้งตำบล กลุ่มที่เข้าร่วมประชุมนั้นจะมาจากหลากหลายอาชีพ ปัญหาของตำบลท่าเสาจะมีปัญหาในเรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาที่ติดต่อกันมานานเกือบ 20 ปี ที่ผ่านมา ตอนนี้เรามีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงได้หยิบยกเอาปัญหาเรื่องน้ำในการอุปโภคบริโภคมาแก้ไขปัญหาทั้งตำบลมาใช้ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบ หลังจากที่ประชาชนรับรู้รับทราบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะปัญหาเรื่องน้ำ หลังจากเสร็จการประชาคมแล้ว ก็จะนำไปสู่การดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาท้องถิ่นเสมือนเข็มทิศให้ผู้บริหารนำไปใช้นำไปพัฒนา จะพัฒนาทางไหนก็อยู่ที่แผน

ว่าที่ ร.ท.ธรรมรัตน์  กล่าวว่า เมื่อประชาคมเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการก็จะบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่น เมื่อแผนพัฒนาท้องถิ่นทีผลบังคับใช้แล้วจะต้องนำแผนเข้าสู่การทำงานหรือการปฏิบัติงาน การที่จะต้องปฏิบัติได้นั้นจะต้องปรากฏอยู่ในงบประมาณหรือเทศบัญญัติงบประมาณ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้จัดตั้งงบประมาณส่วนนี้เอาไว้ เนื่องจากแผนยังไม่มี ณ ปัจจุบันนี้หลังจากเสร็จสิ้นแล้ว แผนในเรื่องของงบประมาณมีการดำเนินการจัดทำในเรื่องของงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ งบประมาณที่จะนำมาใช้มีอยู่ 2 ส่วนประกอบด้วย ขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง กระทรวง ทบวง กรม หรือสำนักงบประมาณ ส่วนที่สองเงินของตัวเอง ซึ่งเป็นเงินสะสมของทางเทศบาลที่มีอยู่ แผนงานโครงการเรื่องน้ำ น่าจะใช้เงินของท้องถิ่นคือเงินสะสมของทางเทศบาลตำบลท่าเสา ซึ่งมีงบประมาณเพียงพออยู่แล้ว ปัญหาเรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชุมชนตำบลท่าเสา ปัจจุบันมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากเพิ่มขึ้น มีการก่อสร้างต่อเติมดัดแปลงขยายตัวเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เป็นผลพวงจากการทำถนนสายเลี่ยงเมือง ส่งผลต่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและความเจริญในพื้นที่ตำบลท่าเสา 

ว่าที่ ร.ท.ธรรมรัตน์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น น้ำจึงเป็นปัจจัยหลัก ระบบน้ำประปาที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงมีไม่เพียงพอกับการแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงมีความจำเป็นที่ทางเทศบาลต้องดำเนินการจัดทำระบบน้ำประปา ด้วยการก่อสร้างโรงสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน ตั้งอยู่บริเวณหน้าค่ายพิชัยดาบหัก มณฑลทหารบกที่35 นำมาเก็บไว้ที่หนองช้างเพรียง หมู่ 6 ตำบลท่าเสา เพื่อผลิตเป็นน้ำประปาออกแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสาทั้งตำบลในทุกหมู่บ้าน ได้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง
“หากแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำประปาได้ จะส่งผลทำให้ตำบลท่าเสาแกไขปัญหาเรื่องน้ำประปาไม่พอเพียงและมีปัญหาติดต่อกันมานานเกือบ 20 ปีลงได้ ประชาชนนอกพื้นที่ก็อยากเข้ามาอยู่อาศัยเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสาเพิ่ม เป็นการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้และในอนาคตข้างหน้านี้ได้” ว่าที่ ร.ท.ธรรมรัตน์ กล่าว

ปลัดเทศบาลตำบลท่าเสา กล่าวว่า ด้านงบประมาณที่จะต้องใช้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกในเรื่องของสถานีสูบน้ำดิบสูบจากแม่น้ำน่านเดินท่อมาสู่หนองช้างเพรียงแหล่งผลิตน้ำประปา ด้วยงบประมาณกว่า 22 ล้านบาท ส่วนที่สองระบบผลิตน้ำประปาขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณ 24-25 ล้านบาท ส่วนเพิ่มเติมส่วนที่สาม การวางระบบท่อจ่ายน้ำพื้นที่หมู่ 1-6  รูปแบบการดำเนินงานได้จัดเตรียมเอาไว้เกือบ 100% พร้อมที่จะนำเสนอเข้าสู่สภาเทศบาลตำบลท่าเสา เพื่อใช้งบประมาณจ่ายขาดเงินสะสมที่ทางเทศบาลตำบลท่าเสามีอยู่แล้ว และได้จัดทำรูปแบบรายการรายจ่ายงบประมาณรอไว้เบื้องต้นอยู่แล้ว

“เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะหาเงิน เมื่อสภาอนุมัติผ่านงบประมาณในสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสามารถดำเนินงานได้ทันที อยากจะฝากบอกพี่น้องประชาชนว่า สิ่งที่ประชาชนชาวตำบลท่าเสาได้รับความเดือดร้อนที่สุดโดยเฉพาะเรื่องน้ำประปา ทั้งที่ผลิตเองและซื้อน้ำจากเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ส่งผลเรื่องต้นทุนราคาน้ำประปามีราคาสูง หากเทศบาลตำบลท่าเสาดำเนินการเรื่องน้ำประปาได้เองต้นทุนราคาน้ำประปาลดลง น้ำประปาก็จะมีใช้ได้ตลอดและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และจำนวนประชากรที่จะมีเพิ่มเข้ามาในอนาคต ปัญหาเรื่องน้ำประปาขาดแคลนในพื้นที่ตำบลท่าเสาก็จะหมดไป เพราะเรามีน้ำสะอาดไหลตลอด 24 ชั่วโมง คุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลท่าเสาก็จะดีขึ้น”

นายศราวุฒิ  จินดาเลิศ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลท่าเสา กล่าวว่า ได้เข้าร่วมพร้อมรับฟังการประชาคม ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น งบปราณ 2567 ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเสาที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคหรือ