นักท่องเที่ยวคึกคัดให้ความสนใจกับการเยี่ยมชมช้าง ใน“ ปางช้างสุไหงบาลา ”เพราะเป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับการได้สัมผัสช้างอย่างใกล้ชิด ที่จังหวัดนราธิวาสวันนี้ ซึ่งตอนนี้ยังคงเป็นช่วงปิดเทอมอยู่ และที่นี่ก็ใกล้ที่สุดไม่ต้องออกเดินทางไกลในยุคน้ำมันแพงตอนนี้นอกจากนี้ สวนปางช้างสุไหงบาลา ก็ยังเป็นที่โด่งดังในจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย ก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เป็นสถานที่พึ่งเปิดให้บริการใหม่ๆสดๆ แค่ 2 อาทิตย์ แต่ยอดคนมาเที่ยวไม่ต่ำกว่า500คนต่อวัน เพราะที่นี้เป็นที่แรกที่เปิดปางช้างในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ การเดินทางสะดวก ปลอดภัย ห่างจากตัวเมืองแค่ 10 กิโลเมตร และเป็นทางผ่านไปยังจังหวัดอื่นๆ เพียงเสียเวลานิดแวะมาเยี่ยมชม อุดหนุน คนในชุมชน สนับสนุนชูสินค้าในชุมชนที่มีอยู่ ให้มีรายได้กระจัดกระจายทั้งผู้ใหญ่และเด็กวัยรุ่นที่ไม่มีงานทำ ได้มาร่วมทำ สร้างความสามัคคี
และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชน และเพื่อให้คนในพื้นที่ที่อื่นได้รับรู้ ที่สำคัญ สำหรับนักท่องเที่ยวหรือคนที่ชอบเที่ยวแบบธรรมชาติ ในอนาคต เตรียมตัวให้ดี ทุกช่วงเดือนฤดูกาลของผลไม้ ทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด ชุมชนจะเพิ่มโปรโมชั่น กินแบบบุฟเฟ่ต์ผลไม้ กินสดที่ต้นในสวนปางช้าง ซึ่งจะเป็นช่วงเดือน สิงหา-ตุลาคม มาดูกันว่า “เราจะได้กินก่อนช้างหรือช้างจะได้กินก่อนเรา” นอกจากนี้ การนั่งช้างเวียนรอบสวนผลไม้ ถ่ายรูป และอาบน้ำกับช้าง เล่น ป้อนอาหารช้างอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติล้วนๆและชุมชนยังมีกิจกรรมแสดงปักจักสีสัต ของช้างและคน มาให้ได้ชม มีอาหารช้าง อาหารคน เครื่องดื่ม ไว้จำหน่ายให้กับคนที่มาเยือนอีกด้วย
“ทั่นเวาะ” เป็นชื่อที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียก พระอาจารย์ เรวัต ถิรสัทโธ (สัมภาษณ์ 1 )เจ้าอาวาส วัดเทพนิมิต อำเภอ ปานาเระ จังหวัดปัตตานี (ทั่นเวาะ) หมอช้าง ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมงานว่า กำลังเดินเรื่องขอ อนุญาตอยู่ เรามาในนามว่า ช้างของเรามี ถ้าไม่มาก็ญาติๆไม่มาผสมผโลงกันเท่าไร มาเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ให้เขา แล้วมารวมตัวกันตั้งปางช้างขึ้นมา เพื่อให้หมู่บ้าน เรามีอะไรๆ สักอย่างให้คนในหมู่บ้านไปเที่ยวที่ไหน คนในหมู่บ้านก็จะได้ปลูกอ้อยปลูกกล้วยมาขายที่นี้ คนในพื้นที่จะได้ ขายของสุดถนนพอมีปางช้างคนเยอะ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน พึ่งเปิดหลังรายออิดิลฟิตตรี รายอปอซอ (10/4/67) ได้แค่ 2 อาทิตย์ ชื่อช้างคือ อาแด แมะเดาะ แมะโดะ และรอมฏอน ที่เราเป็นเจ้าของ แมะเดาะเป็นช้างที่เชื่องไปงานสุนัต เวลาออกงานต่างๆ นี้มันจะเชื่อง ไม่ต้องมีควาญช้าง พอหมอ ใส่แป้ง น้ำมัน ( ทำพิธีเปิดช้าง) เสร็จ มันก็จะเดินไปเองได้เลย เรียกมาๆๆๆ
ผู้สื่อจ่าวถามว่า ทำไมทั่นเวาะถึงได้มาช่วยเหลือชาวบ้านมุสลิม ทั้งๆที่ท่าน เป็นพระ ?? ทั่นเวาะ บอกว่า ทั่นเวาะ เป็นหมอช้าง เราคนเดี่ยวที่อยู่ในกลุ่มคนอิสลามมากๆเติบโตกับกลุ่มคนมุสลิม3 จังหวัดชายแดนใต้มานาน
ทีมงานก็ถามอีกว่า เป็นเพราะทั่นเวาะช่วยคนมามากเลยมีคนนับถือหรือเป็นเพราะทั่นเวาะชอบไปงานต่างๆ จึงทำให้คนมุสลิมรู้จักท่าน? ท่านบอกว่า ที่เราไปเพราะเขาเชิญเราไป เราไม่ได้ไปเอง เพราะเรานี้มีประโยชน์ที่นั่น เราเป็นหมอช้าง ปัจจุบันไม่ค่อยมีคนจะเรียนเป็นหมอช้างสักเท่าไร และทุนเดิมเราพูดอิสลามได้ เราแหลงได้ แหลงแขกได้ แหลงชัดเจน และช่วยคนมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลามมาแล้วมากต่อมาก ทุกคนนับถือเรา เราอยู่ตรงไหนก็อยู่ได้ ไม่มีการแบ่งแยกศาสนา เพียงแค่เรามีความเคารพนับถือซึ่งกันและช่วยเหลือกัน ในฐานะคนรู้จักกันที่อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทย.
“หมอช้าง” หรือโต๊ะกูแซ หมายถึง กูแซ มาจากคำว่า กุญชร ที่แปลว่า ช้าง “ โต๊ะกูแซ ”เป็นคำเรียก “ หมอช้างเพศหญิง ” เป็นภาษามลายู หากว่าเป็นเพศชาย จะเรียกว่า บอมอฆาเยาะห์ หรือหมอช้าง ทำหน้าที่คือ เป็นหมอที่มีลักษณะคล้ายๆกับหมอตำแย ไม่ได้เรียนจากที่ไหน แต่เชื่อว่า เกิดจากต้นตระกูลที่ได้รับสืบทอดวิชาเข้ามาเอง เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ใช้ในพิธีที่เกี่ยวกับช้าง เช่นพิธีต่างๆ ก่อนเดินขบวนแห่ช้าง เช่น พิธีเข้าสุนัต การแห่ช้างในงานแต่งงาน เป็นต้น พิธีการทำขวัญช้าง หรือกำราบช้างเพื่อให้คลายความดุร้ายลง “หมอช้างหรือโต๊ะกูแซ จึงมีความสำคัญ เนื่องจาก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ดูแลตั้งแต่เล็กๆ จึงมีความรอบรู้ในการดูแล ลักษณะนิสัยและมีความคุ้นเคย เป็นอย่างดี ส่วนประกอบของที่จะทำพิธี มี7 อย่าง 1. น้ำมัน ไก่ย่าง ข้าวเหนียว ขนมโค ข้าวปากหม้อ น้ำตาลแว่น หมากพลู ดาดาหรือแป้งทอดโรยน้ำตาล
คุณมูฮัมหมัดบัดรีย์ หะยีอับดุลรอแม (สัมภาษณ์ 2 )ผู้ดูแลปางช้าง เล่าว่า แต่เดิมที่นี้เป็นสวนทุเรียน ลองกอง ทุเรียนหมอนทองของเขาจะเริ่มสุก เป็นรายแรกๆเลย ขายในราคา 150 บาทต้นจะมีอยู่ข้างในจะมีถนนเข้าไป ช่วงฤดูกาลผลไม้ เราสามารถที่จะใช้ทำโปรโมชั่นบุพเฟ่ต์ผลไม้เลยก็ได้ เพราะว่าส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย เขาอยู่แต่ในที่ทำงาน เขาอาจอยากเปลี่ยนบริบท จากที่ไปซื้อให้ห้างก็ หันมากินในสวนเลยและก็บูรณาการทรัพยากรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นก็จากที่สวนลองกองเขาไม่เคยออกดอกแตกดอกก็ รอบนี้ชุมชนก็อาจจะมองเห็นค่าว่า ลองกองจะต้องได้เป็นช่อ จะได้ขายราคาแพงหน่อย ไม่ปล่อยเป็นตามมีตามเกิด เมื่อก่อนไม่มีตลาด แต่ตอนนี้ ตลาดเริ่มหามาเรา นั้นคือ “ นักท่องเที่ยวมา ก็เหมือนตลาดของเราแล้ว ” ประกอบกับหมู่บ้านสุไหงบาลานี้จะมี กลุ่มเกษตรกร มีศูนย์บ่มเพาะต้นกล้าชีวิตศูนย์เรียนรู้ เกี่ยวกับการทำเกษตร แบบใหม่ และก็ใช้พื้นที่ที่ว่างที่คนเถ้าคนแก่ปลูกนาเยอะ แต่ตอนนี้เป็นนาร้าง เราก็ปรับเป็นที่ปลูกปาล์ม พืชสวนครัวขึ้น ทำให้คนที่ไม่มีงานทำ นอกจากกรีดยางอย่างเดียวก็เสริมเป็นปลูกผักให้ช้างกินไปด้วย เป็นการต่อยอดรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่งด้วย อนาคตข้างหน้าเราก็จะจัดให้นักท่องเที่ยวได้ขี่ช้างลงเล่นน้ำในคลอง และสามารถตั้งแคมป์ ปิ้งย่าง ตามแนวริมคลองยะกังได้อีกด้วย ทุกอย่างทำเพื่อต่อยอดบูรณาการคนในชุมชนสุไหงบาลาและที่ท่านี่ จะเป็นทางผ่านของการเดินทางด้วยช้างของเจ้าเมืองสมัยก่อน และจะแวะที่นี่ แต่สมัยนี้ช้างจะทำหน้าที่ไว้ลากไม้ซุง ก็เดินขบวนออกงานต่างๆ งานตาดีกา งานแห่นาค
ส่วนควาญช้างใช้เด็กๆในพื้นที่ เพื่อให้เด็กๆที่ไม่อยากเรียนหนังได้มีงานทำ ไม่เป็นภาระของพ่อแม่ และรู้ค่าของเงินที่ได้มา ที่สำคัญจะได้ไม่เอาเวลาไปยุ่งเกี่ยวกับ อบายมุข หรือยาเสพติด
คุณ นุรฮานีฟาร์ ซอเฮาะ (สัมภาษณ์ 3)เป็นชาวบ้านที่ช่วยมาขายอาหารในปางช้าง บอกว่า วันนี้มาช่วยขายอ้อยค่ะให้ช้างคะ ปกติขายมัดละ30 บาท ส่วนใหญ่จะรับของคนในพื้นที่แต่ตอนนี้ รับจากข้างนอกเพราะอ้อยในพื้นที่ไม่พอเลยต้องรับจากข้างนอก นอกจากอ้อยแล้ว จะมีกล้วย มะขามเปียกและก็น้ำตาลแว่น มันก็ชอบเหมือนกัน (ทำไมช้างชอบมะขามเปียก) มะขามเปียกมีเกลือด้วย เวลาช้างจะเจ็บในปาก จะสามารถรักษาได้
พิกัด ปางช้างสุไหงบาลา จากนราธิวาสไปเส้นทางหลวงไปปัตตานี ประมาณ 8 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านปูตะซ้ายมือก็จะถึงทางเข้าบ้านปูตะ 1.5 กิโลเมตร ข้ามสะพานซึ่งจะเป็นรอยต่อ บ้านปูตะกับบ้านสุไหง บาลาไปอีกนิดก็ถึง และอีกเส้นทางคือ เส้นทางไปบ้านมะนังตายอ พอถึง4 แยก เลี้ยวขวาตรงมาถึง3 แยกเลี้ยวขวาอีกทีตรงมาเรื่อยๆ เจอ3 แยก เลี้ยวซ้ายตรงอีกนิดก็จะถึงปางช้าง โทรติดต่อสอบถามได้ 086-0738191 เปิดปาง เวลา 09.00-18.00 น.
ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาร่วมชมช้างใกล้บ้านเรา เราจะพัฒนา พร้อมรับคำติชม ในอนาคต ก็จะมีโครงการให้นักท่องเที่ยวได้ขี่ช้างลงไปอาบน้ำ ในคลองกับช้างและก็ มีการตั้งแคมป์ อยู่กับธรรมชาติ และก็ท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ ทางชุมชนของเราได้มีการรองรับ ฤดูผลไม้ จะเอาผลไม้ในท้องถิ่น มาให้นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่สนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนได้มีรายได้ ช่วงลองกองมังคุด ทุเรียน เราก็จะบูรณาการให้นักท่องเที่ยวได้มากินในสวนสดๆเลย ติดตามกันได้ครับ ( ช่วงฤดูกาลสิงหา-ตุลาคม) รายได้ทั้งหมดจะเข้าในชุมชน ช่วยชุมชน และชาวบ้านที่เป็นผู้สูงอายุ เด็กกำพร้า และคนยากไร้