จังหวัดอ่างทอง จัดพิธีปลงผม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

         วันที่ 21 เมษายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ หอประชุมสงฆ์ วัดอ่างทองวรวิหาร นายพิริยะ  ฉันทดิลก  ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในพิธีปลงผมตามโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมด้วย นางมณฑา ฉันทดิลก ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอ่างทอง นายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายทัศนัย สุธาพจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอ่างทอง ปลัดจังหวัดอ่างทอง หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชนเข้าร่วมพิธี โดยมีพระสุวรรณวชิราทร รองเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เจ้าอาวาสวัดอ่างทองวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ 

       

 จังหวัดอ่างทอง ได้จัดทำโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28  กรกฎาคม 2567 ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง ตลอดจนพุทธศาสนิกชนในจังหวัดร่วมกันจัดขึ้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชบูรพการีแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในระหว่างวันที่ 21 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2567 จำนวน 16 วัน โดยมีผู้เข้ารับการบรรพชา จำนวน 75 คน 

          ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในส่วนภูมิภาค จำนวน 17 วัน ณ วัดที่จังหวัดกำหนดทั้ง 76 จังหวัด เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงได้เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนไทยทั่วประเทศได้แสดงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และได้รับความรู้ในเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม ตลอดจนบิดามารดา ผู้ปกครองและพระพุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสร่วมบำเพ็ญกุศล ได้เกิดความรัก ความผูกพัน ความใกล้ชิดกับวัด และศาสนารวมถึงการสร้างความรักและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย