วันที่ 20 เม.ย.67 ที่ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการกองร้อยทหารราบ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี พล.ต.นรธิป โพยนอก ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี มอบหมายให้ ร.อ.กิตติกร จันทร์หอม นายทหารฝ่ายยุทธการ กองบังคับการควบคุมที่ 1 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการ พิเศษ กองบังคับการกองร้อยทหารราบ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง แถลงผลงานการตรวจยึดรถจักรยานยนต์ และรถยนต์โจรกรรมข้ามชาติ ตามแนวชายแดนริมน้ำโขง ในพื้นที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และรอยต่อ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ยึด รถจักรยานยนต์ จำนวน 3 คัน นอกจากนี้จากการลาดตระเวน หาข่าว หน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการกองร้อยทหารราบ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ยังสามารถตรวจยึดรถยนต์ หรูสภาพใหม่ นำมาซุกซ่อนไว้ในพื้นที่ ชายแดนแม่น้ำโขง เขต ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และรอยต่อ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร เพื่อรอลำเลียง ขนส่งทางเรือหางยาว ต่อเป็นแพขนานยนต์ ด้วยความชำนาญ นำส่งไปขาย ดัดแปลงสภาพใช้งาน ในฝั่ง สปป.ลาว มีราคา ซื้อขายประมาณคันละ 4 -5 แสนบาท จากราจริง คันละ 1 ล้านบาท ถึง 1.5 ล้านบาท
โดยการตรวจยึดครั้งนี้ เป็นรถยนต์ จำนวน 5 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ ยี่ฮ้อ อีซูซุ สีบรอนซ์เงิน 1 คัน ป้ายทะเบียน กษ 3054 สุราษฏร์ธานีรถยนต์ ยี่ฮ้อ อีซูซุ สีเทาแลมโบ 1 คัน ทะเบียน ขก 9069 นครสวรรค์ รถยนต์ ยี่ห้อ อีซูซุ รุ่นมิวเอ็กซ์ สีบอร์นเทา ทะเบียนรถ 2 ขร 9816 กรุงเทพมหานคร รถยนต์ ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ สีขาว ทะเบียนรถ ขข 7435 นครศรีธรรมราช รถยนต์ ยี่ห้อ อีซูซุ รุ่น ดีแมคซ์ สีบรอนซ์เทา เลขทะเบียน 4ขย 9461 กรุงเทพมหานคร
จากการตรวจสอบของ ร.อ.กิตติกร จันทร์หอม นายทหารฝ่ายยุทธการ กองบังคับการควบคุมที่ 1 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการ พิเศษ กองบังคับการกองร้อยทหารราบ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี ระบุว่า รถยนต์ส่วนใหญ่ที่ได้จากการตรวจยึด หลังมีการพบเบาะแส การข่าว ว่าจะลำเลียงมาพักตามอำเภอชายแดนแม่น้ำโขง เพื่อรอการลำเลียงขนส่ง จึงประสาน ทางบริษัทไฟแนนซ์ มาร่วมตรวจสอบ พบว่า รถยนต์ ทั้ง 5 คัน สภาพใหม่ มีการเช่าซื้อกับหลายธนาคาร และแหล่งเงินทุนจัดไฟแนนซ์ ส่วนใหญ่จะมีการเช้าซื้อมากว่า 2 ปี แต่มีการค้าชำระประมาณ 1 ปี คาดว่าเจ้าของขาดสภาพคล่อง จึงมีการจำนำ กับนายทุน รวมถึงบ่อนจำนำ ราคาถูกแบบไม่มีหลักฐาน คันละประมาณ 2 -3 แสนบาท โดยไม่จำให้ไฟแนนซ์ยึด ก่อนที่จะนำมาพักรอการขนส่งข้ามไปขาย สปป.ลาว นอกจากนี้ยังมีบางคัน จะมีต้นทางมาจากการโจรกรรม แต่ส่วนใหญ่จะมาจากจำนำ หนีไฟแนนซ์ เนื่องจากมีช่องว่างกฎหมาย เป็นสัญญาเช่าซื้อ เป็นคดีแพ่ง มีการฟ้องร้องภายหลัง ทำให้เจ้าของรถยนต์ หาทางออกจากช่องว่างกฎหมาย นำส่งขาย และตรวจสอบยากว่าเป็นการยักยอกทรัพย์ ทำให้บริษัทไฟแนนซ์ ต้องฟ้องค่าเสียหายทางแพ่งภายหลัง ส่วนรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะเป็นการโจรกรรม เพราะขนย้ายง่าย กว่ารถยนต์ เมื่อมีออเดอร์ประเทสเพื่อนบ้าน ทำให้ มีปัญหาการโจรกรรม และเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หนี้เสียของสถาบันการเงินตามมา ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ยังระบุเชิงลึกว่า ปัญหาสำคัญที่ปราบปรามไม่หมด เนื่องจากมีขบวนการนายทุนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่รัฐบางราย มีเอี่ยวในการดูแลเส้นทางลำเลียง ได้เคาตอบแทนสูง คาดว่าแต่ละเดือนในพื้นที่ชายแดนนครพนม มีรถยนต์โจรกรรมข้ามชาติ เกือบ 100 คัน ที่หนีการจับกุม ตรวจยึด
นอกจากนี้ จากการสอบถาม เจ้าหน้าที่ บริษัทไฟแนนซ์รถยนต์ ยอมรับว่า ปัจจุบันยอดหนี้เสีย ค้างชำระเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว รวมถึงตามหารถยนต์ไม่เจอ จำนวนมาก เชื่อว่า ถูกนำเข้าไปขบวนการจำนำ ส่งขายข้ามลาว เพราะไม่ยอมให้ไฟแนนซ์ยึด และยอมให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายหลัง เพราะไม่สามารถดำเนินคดีอาญา ในข้อหายักยอกทรัพย์ ได้ เพราะยากในขบวนการทางกฎหมาย ที่ตรวจสอบหาหลักฐานได้ อีกทั้งจากการตรวจสอบข้อมูล พบว่ารถยนต์ที่ได้คืนจากการตรวจยึดก่อนส่งข้าม สปป.ลาว ไม่มีการแจ้งหาย เพราะเจ้าของติดต่อไม่ได้ ปฏิเสธ การชำระหนี้ จึงนำไปจำนำ นายทุน และเข้าสู่ขวนการขายข้ามชาติ ทำให้หนี้สียเพิ่มมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาคือ การโจรกรรม การจำนำ เถื่อนแบบไม่มีเอกสาร เพิ่มขึ้น เพราะมีออเดอร์ส่งออกไปขาย กลายเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ในรอบนี้สามารถตรวจสอบ คืนบริษัทได้ 2 คัน โดยติดต่อเจ้าของผู้เช่าซื้อไม่ได้ เชื่อว่านำไปจำนำ ก่อนขบวนการโจรกรรม นำมาส่งขาย
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่เชื่อว่า ปัญหาการโจรกรรม ขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ข้ามชาติ จะไม่หมดไป หากโทษทางกฎหมาย ยังสามารถเอาผิดได้แค่เรียกร้องทางแพ่ง เนื่องจากผู้เช่าซื้อบางราย ไม่มีทรัพย์สิน พร้อมที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ไฟแนนซ์ ที่สำคัญหากเจ้าหน้าที่รัฐบางราย และมีนายทุนในพื้นที่ อำนวยความสะดวกเส้นทางลำเลียงขนส่ง ข้ามไปขาย สปป.ลาว ยากที่จะตัดวงจร ยิ่งหากปลายทาง มีความต้องการสูง ยิ่งจะให้มีการโจรกรรม และนรับจำนำมาส่งขายมากขึ้น