วันที่ 17 เม.ย.67 นายนพดล ผุดผ่อง เกษตรจังหวัดยโสธรเปิดเผยว่าตามที่จังหวัดยโสธรได้ออกประกาศและรณรงค์ให้ประชาชนและเกษตรกรงดเผาในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันฝุ่นPM.2.5 นั้นและทางสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธรได้ดำเนินการในเชิงรุกและดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร จังหวัดยโสธรโดยได้จัดตั้งศูนย์ประกอบด้วย 1.ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการฯ จากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในระดับตำบลระดับอำเภอรวมถึงจัดทำแผนการดำเนินงาน ประเมินความเสี่ยงและ เฝ้าระวัง เผชิญเหตุทั้งเยี่ยมเยียน ป้องปราม การเผาในพื้นที่การเกษตร รวม 9 ชุดปฏิบัติการ คือ
1.ชุดปฏิบัติการออกตรวจสอบ และเฝ้าระวังเหตุการณ์ในพื้นที่ ปฏิบัติการร่วมกับอาสาสมัครในการป้องกันและควบคุมไฟ รวมถึงประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อพบการเผา จำนวน 304 ครั้ง 2.ได้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร (3R Model) ในการทำการเกษตรแบบปลอดการเผา ผลกระทบของการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดรายได้มีเจ้าหน้าทีภาครัฐ 623 ราย อาสาสมัครเกษตร 2,220 รายและเกษตรกรและบุคคลทั่วไปอีกจำนวน 7,080 ราย 3.ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้แบบเน้นหนักและเฉพาะเจาะจง ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด Hotspot จำนวน 1,236ราย พร้อมจัดทำรายชื่อเกษตรกรที่มีการเผาในพื้นที่ย้อนหลังระหว่างปี 2564 ถึง ปี 2566 จากดาวเทียม 6 ระบบ รวม 677 ราย รวมถึงการเข้าตรวจสอบจุดความร้อนในพื้นที่การเกษตร ระหว่างเดือนมกราคมปี 2567 ถึงปัจจุบัน รวม 302 ครั้ง ในพื้นที่ 9 อำเภอ และได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเจ้าของแปลงที่พบการเผาในพื้นที่การเกษตรจริง รวม 264 ราย เพื่อที่จะพิจารณาระงับความช่วยเหลือจากภาครัฐต่อไป 4.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ Internet Facebook Social media Line หอกระจายข่าว และผ่านการบริการออกหน่วยเคลื่อนที่ 110ครั้ง 5.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุ (ไถกลบ ผลิตปุ๋ยหมัก แปรรูปเป็นอาหาร สัตว์ เชื้อเพลิงชีวมวลและผลิตภัณฑ์ การเกษตรอื่นๆรวม 258,680 ตัน 6.ดำเนินการถ่ายทอดความรู้และรณรงค์ตามแผนงาน/โครงการจากแหล่งงบประมาณต่าง ๆคือ
1.ดำเนินการโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร งบกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร พร้อมจัดอบรมความรู้พื้นฐานถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถ เป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผา ส่งเสริมให้มีจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผาทำลาย ปรับเปลี่ยนวิธีการ ผลิตจากเดิมมุ่งสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเพื่อลดพื้นที่การปลูกพืชที่เสี่ยงจะเกิดการเผา โดยเป้าหมายอบรมเกษตรกร จำนวน 230ราย และสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร รวม 9 เครือข่าย ในพื้นที่ 5 อำเภอ พร้อมดำเนินการจัดอบรมความรู้พื้นฐานให้เกษตรกรแล้ว 9 เครือข่าย เกษตรกรจำนวน 270 รายซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 และดำเนินการจัดงานรณรงค์หยุดเผาในพื้นที่การเกษตรแล้ว 1 จุด เกษตรกรเข้าร่วม 100 ราย แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2567
2.ดำเนินการโครงการเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร งบกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและส่งเสริมการแปรรูปเศษวัสดุทางการเกษตรทดแทนการเผา โดยมีเป้าหมายอบรมเกษตรกร จำนวน 4 กลุ่ม เกษตรกร 100 ราย ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอค้อวัง และอำเภอเลิงนกทา ดำเนินการถ่ายทอดความรู้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 และมีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 110 คน เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดร้อยละ 10 3.ดำเนินการโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ งบกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรพร้อมจัดอบรมความรู้พื้นฐานถ่ายทอดความรู้และจัดทำจุดเรียนรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยมีเป้าหมายอบรมเกษตรกร จำนวน450ราย และจัดทำจุดเรียนรู้ รวม 9เครือข่าย ในพื้นที่ 9 อำเภอ ดำเนินการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้พื้นฐานให้เกษตรกรแล้ว 9 เครือข่าย เกษตรกรจำนวน 450 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
นายนพดลฯยังกล่าวอีกว่าถึงแม้เรารณรงค์งดเผาแต่ยังมีเกษตรกรลักลอบเผาอีกทางจังหวัดยโสธรจึงได้ให้แจ้งความกล่าวโทษผู้ลอกลอบเผาอีกด้วย