ขณะที่ผมมองดูเหล่าผู้เกษียณอายุเต้นรำท่ามกลางแสงดวงจันทร์อยู่ริมทะเลสาบอวิ๋นตังเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมก็ต้องรู้สึกประหลาดใจว่าสถานที่แห่งนี้ต่างไปจากตอนที่ผมเห็นครั้งแรกมากแค่ไหน เมื่อปีพ.ศ. 2531 กลิ่นของทะเลสาบอวิ๋นตังแห่งนี้ย่ำแย่มากถึงขั้นว่าทุกครั้งที่ผมปั่นจักรยานผ่านก็จะต้องใช้ผ้าปิดจมูกไว้ หรือแม้กระทั่งเลี่ยงจะเข้าใกล้ทะเลสาบเท่าที่จะเป็นไปได้

โรเบิร์ต สวินโฮ ท่านกงสุลอังกฤษ ณ เมืองเซี่ยเหมินในพุทธศตวรรษที่ 25 รู้สึกประหลาดใจที่ “การ์เดนไอส์แลนด์” ของเมืองเซี่ยเหมินมีนกอยู่ถึง 174 สายพันธุ์ แต่เมื่อมาถึงปี 2523 ปลาและกุ้งในทะเลสาบอวิ๋นตังกลับตาย และนกเองก็หนีไป ผมไม่เคยจินตนาการเลยว่าในปี 2535 ทะเลสาบอวิ๋นตังจะมีการแข่งเรือมังกร และในปี 2537 โครงการทำความสะอาดทะเลสาบจะกลายเป็นสถานที่สาธิตใน “โครงการป้องกันและกำจัดมลพิษทางทะเลในทะเลเอเชียตะวันออกระดับภูมิภาค” ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่านั้นคือในปี 2545 ผมได้รับเกียรติที่ให้เป็นตัวแทนของเซี่ยเหมินในเมืองชตุทการ์ทประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในการประกวดชุมชนน่าอยู่ระดับนานาชาติ หลังจากที่ผมทำการนำเสนอไป 30 นาที หนึ่งในกรรมการนานาชาติหกคนพูดกับผมว่า “เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าที่ประเทศจีนมีเมืองเช่นนี้อยู่ เมืองเซี่ยเหมินไม่ได้เป็นเพียงอันดับหนึ่งแต่ยังห่างไกลกับเมืองอันดับสองลิบลับอีกด้วย!”

อีกทั้งเซี่ยเหมินก็ไม่ได้อาศัยเพียงเกียรติยศ สองปีต่อมา เซี่ยเหมินเป็นเมืองเดียวที่ได้รับรางวัล UN-HABITAT Scroll of Honour ประจำปี 2547 และเรื่อยมานับตั้งแต่นั้นเป็นการพิสูจน์ว่าความเจริญไม่จำเป็นต้องเสียสละธรรมชาติ

ปัจจุบันทะเลสาบอวิ๋นตังเป็น “ปอดแห่งธรรมชาติ” ของเมืองเซี่ยเหมิน เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมและการค้าของเซี่ยเหมิน ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หลายแห่งกับอพาร์ตเมนต์ที่มีราคาแพงที่สุดของนักการทูตและนักธุรกิจ ชาวจีนและชาวต่างชาติมักพากันมาที่ทะเลสาบอวิ๋นตังเพื่อเฉลิมฉลองวันหยุดหรือเล่นกิจกรรมทางน้ำอย่างสนุกสนาน เช่น การแข่งเรือมังกรนานาชาติหรือสำรวจแนวทะเลสาบอวิ๋นตังอันเต็มไปด้วยธรรมชาติ และการจิบชาหมิ่นหนานในศาลาอันงดงาม และเมื่อยามกลางคืนมาถึง ทะเลสาบอวิ๋นตังก็จะมีชีวิตชีวาขึ้นด้วยน้ำพุดนตรีที่เริงระบำร่วมกับดนตรีคลาสสิก และทะเลสาบทรงเสน่ห์ก็จะสะท้อนแสงสีต่าง ๆ ไปบนเส้นขอบฟ้าราวกับแสงออโรรา

ทะเลสาบอวิ๋นตังเป็นข้อพิสูจน์ว่าความเจริญและรักษาสิ่งแวดล้อมให้สามารถสมดุลกันได้ แต่ก็ยังเตือนเราด้วยว่า เป้าหมายและแผนที่ดีที่สุดนั้นจะไม่บังเกิด หากแต่เมืองนั้นจะมีผู้นำที่สามารถสร้างแรงกระตุ้นและให้อำนาจแก่ผู้คนในการเปลี่ยนความฝันให้กลายเป็นความจริงได้ และเมืองเซี่ยเหมินก็ได้เป็นผู้นำ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2528 เมื่อชายหนุ่มนามสีจิ้นผิงมาถึง

ก่อนหน้านั้น ทะเลสาบอวิ๋นดังเป็นที่รู้จักในฐานะท่าเรืออวิ๋นดัง แต่โครงการถมที่ดินในพ.ศ. 2513 ได้แยกดินสถานที่แห่งนี้ออกจากทะเล จนทำให้เกิดน้ำนิ่งและน้ำที่ระบายจากโรงงานกว่าร้อยแห่งรวมไปถึงสิ่งปฏิกูลก็ได้เปลี่ยนท่าเรือแห่งประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นบ่อพิษ

หลังการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเซี่ยเหมินในปีพ.ศ. 2523 เมืองเซี่ยเหมินก็ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ แต่หลงเหลือแนวคิดการบริหารปกครองสิ่งแวดล้อมอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ในปีพ.ศ. 2531 ขณะที่สีจิ้นผิงดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยเหมิน ได้เป็นผู้นำในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมืองเซี่ยเหมินตั้งแต่ปี 2528 ถึง 2543 ซึ่งรวมถึงมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อม และในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2531 ได้มีการจัดการประชุมพิเศษเนื่องด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ทะเลสาบอวิ๋นตัง ซึ่งได้มีการวางแผนขั้นตอนโดยละเอียด ดังนี้

  1. ออกและบังคับใช้กฎหมาย: สั่งห้ามการปล่อยมลพิษลงในทะเลสาบเมืองเซี่ยเหมินเพื่อการปิดหรือย้ายสถานประกอบการที่สร้างมลพิษกว่าร้อยแห่ง และเพื่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียที่ดียิ่งขึ้น
  2. ขุดลอกตะกอนสารปนเปื้อน: เนื่องจากการขุดลอกเป็นวิธีการที่สามารถทำลายระบบนิเวศอันเปราะบางได้จึงมักเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่ทะเลสาบอวิ๋นตังถือได้ว่าตายไปแล้ว ทำให้จำเป็นต้องขุดสารปนเปื้อนออกเพื่อให้สร้างความหวังในการชุบชีวิตใหม่
  3. สร้างประตูระบายน้ำบนกำแพงกั้นน้ำเพื่อสร้างชีวิตชีวาให้กับทะเลสาบ โดยการรับน้ำในช่วงน้ำขึ้นและระบายออกในช่วงน้ำลง ในปีพ.ศ. 2530 ทะเลสาบหยุนดังมีความเข้มข้นของแอมโมเนียไนโตรเจนอยู่ที่ 39.4 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าค่าความเข้มข้น 3 หรือ 4 มิลลิกรัมต่อลิตรอยู่ราว 10 เท่า และเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล แต่ภายในปีพ.ศ. 2565 สารดังกล่าวก็ได้ลดลงเหลือ 0.076 มิลลิกรัมต่อลิตร
  4. ปลูกป่าชายเลน: ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 ผู้คนหลายพันคนได้ปลูกต้นไม้ให้ป่าชายเลนหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งก็คือ “ปอดธรรมชาติแห่งมหาสมุทร” ซึ่งเคยรุ่งโรจน์มาแล้วในทะเลสาบอวิ๋นตังและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศทางทะเลที่เข้มแข็ง
  5. สร้างสภาพแวดล้อมให้สวยงาม: ความงดงามของทะเลสาบอวิ๋นตังและพื้นที่อื่น ๆ ของเมืองเซี่ยเหมินได้ตอบแทนตัวเองด้วยการหลั่งไหลเข้ามาของผู้คนและบริษัทของจีนและต่างประเทศหลายแห่งซึ่งแสวงหาโอกาสที่จะสร้างความเจริญไปพร้อมกับการได้เพลิดเพลินกับสภาพแวดล้อมอย่าง “การ์เดนไอส์แลนด์”  ดังที่นักธุรกิจหญิงชาวออสเตรเลียคนหนึ่งบอกผมว่า “หลัก ๆ แล้วฉันเคยทำธุรกิจในเซี่ยงไฮ้และกวางโจว แต่ต้องขอบคุณการคมนาคมและการสื่อสารที่ทันสมัย ฉันก็เลยได้มาประสบความสำเร็จในเมืองเซี่ยเหมินได้ขณะที่ฉันก็ได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์เช่นนี้”

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 2530 นายหง หย่งซือ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเซี่ยเหมินและเลขาธิการพรรค กล่าวกับผมว่า “เมืองเซี่ยเหมินแห่งนี้จะไม่เป็นเหมือนประเทศที่ยอมสละธรรมชาติเพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วเหล่านั้น แล้วใช้ค่อยใช้ความร่ำรวยมาฟื้นฟูระบบนิเวศ แต่เซี่ยเหมินจะอนุรักษ์ไว้ซึ่งธรรมชาติขณะที่เราเติบโต”

นายกเทศมนตรีหงเป็นผู้นำเมืองเซี่ยเหมินในการริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เช่น การเป็นเมืองแรกที่ออกรายงานคุณภาพอากาศรายวัน ปลูกต้นมะม่วงหลายพันต้นที่ช่วยเสริมความสวยงามให้กับเมืองพร้อมทั้งสร้างรายได้ให้กับพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน และเมืองเซี่ยเหมินก็มุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 2% ของ GDP รวมถึงโครงการใหม่ทั้งหมดจำเป็นต้องมีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยหากมีเพียงหนึ่งโหวตคัดค้านก็จะต้องชะงักโครงการ สวนพฤกษศาสตร์เมืองเซี่ยเหมินเป็นสวนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO แห่งแรกของจีน เกาะเปียนโนเป็นเขตบริหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO แห่งแรกของจีน และเมืองเซี่ยเหมินก็กำลังวางแผนให้กับสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วยการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและค่ายฤดูร้อนสีเขียวให้กับเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ เมืองเซี่ยเหมินยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเมืองอื่น ๆ อย่างเช่นในงาน Green Fair ประจำปีพ.ศ. 2544 โดยมีเมืองเซี่ยเหมินเป็นผู้สนับสนุนหลัก นายกเทศมนตรีกว่า 100 คนจากทั่วประเทศจีนได้ลงนามใน “ปฏิญญาด้านสิ่งแวดล้อม” และเมืองต่าง ๆ อย่างเมืองฉางไทของฝูก็จะเจริญมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ได้ทำตามตัวอย่างของเมืองเซี่ยเหมิน

ปัจจุบันฉางไทมีชื่อเสียงในฐานะ “เมืองหลวงแห่งการพายเรือคายักของจีน” แต่ตอนที่ผมเห็นงานนี้ครั้งแรกในช่วงปี 2533 แม่น้ำแห่งนี้ก็ดำและมีกลิ่นเหม็นเหมือนทะเลสาบอวิ๋นตัง แม้เมืองที่มีการเงินไม่ดีมากนักจะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยืนหยัดทำตามการนำของเซี่ยเหมินด้วยการระงับเหมืองหินที่ทำกำไรได้สูงและปิดโรงงานที่สร้างมลพิษหลายแห่ง ซึ่งหัวหน้าเทศมณฑลบอกผมว่า “เมื่อคุณผอมอยู่แล้วการรัดเข็มขัดให้แน่นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราต้องมีวิสัยทัศน์ให้กว้างไกล” และในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ก็ได้หลั่งไหลกันไปที่เมืองฉางไท สถานที่ที่ซึ่งพวกเขาสามารถเจริญรุ่งเรืองได้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมบริสุทธิ์

ปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวจากจีนและต่างประเทศเดินทางไปที่เมืองเซี่ยเหมินเพื่อรับประสบการณ์แห่งวัฒนธรรมอันเฟื่องฟูและสภาพแวดล้อมที่สวยงาม ส่วนผมเพียงแค่ต้องก้าวออกจากประตูบ้านเพื่อชื่นชมการ์เดนไอส์แลนด์ของผมเท่านั้น และเซี่ยเหมินก็เป็นเมืองที่มีความพิเศษสำหรับผมมากกว่านักท่องเที่ยว เพราะผมจำได้ดีมากจริง ๆ ว่าในช่วงปี 2520 เป็นอย่างไร และผมก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของทะเลสาบแห่งนี้ด้วยตนเอง แต่จิตวิญญาณแห่งความสมดุลและความกลมกลืนกับธรรมชาตินั้นไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศจีน

เพราะนับแต่คำกล่าวของเล่าจื๊อที่ว่า “มนุษย์ย่อมเป็นไปตามธรรมชาติ” เมื่อ 2000 ปีก่อน ชาวจีนไม่เพียงแต่แสวงหาความสามัคคีซึ่งกันและกันของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมที่สร้างให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วย และดังสิ่งที่พระเจ้าอวี่ได้เรียนรู้เมื่อราว 4000 ปีก่อนขณะที่พระองค์ขุดคูระบายน้ำตามเส้นทางแม่น้ำฮวงโหอันยิ่งใหญ่แทนที่จะพยายามสร้างเขื่อน กุญแจสู่ความสำเร็จอันยั่งยืนคือการทำงานร่วมกับธรรมชาติ แทนที่จะต่อต้านธรรมชาติ

ผมหวังว่าจะมีเมืองทั้งในและนอกจีนที่เพิ่มมากขึ้นจะได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ของจีนและจากตัวอย่างของเซี่ยเหมิน อีกทั้งผมยังหวังว่าโลกจะใส่ใจคำเตือนที่ว่า “สมบัติแท้จริง” ไม่ควรแลกกับ “สมบัติจอมปลอม” ใดก็ตามที่อาจทำลายสิ่งแวดล้อม

 

ส่งเรื่องเขียนตีพิมพ์โดย วิลเลียม บราวน์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมินคณะบริหารธุรกิจ