คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง  อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
     

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 9 เมษายน 2567 ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หน้าศาลากลาง จ.กาฬสินธุ์ (หลังเก่า) นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญสภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานและประชุมกับส่วนราชการเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 นายจำลอง ภูนวนทา ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 3 นายทินพล ศรีธเรศ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 5 นายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 6 นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกอบจ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รายงานสภาพปัญหาและให้การต้อนรับ
     

จากนั้นเวลา 13.00 น.นายศักดิ์ดา พร้อมคณะลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานที่หนองเบ็ญ-หนองอีคูณ บ้านหนองบัว ต.โพนทอง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งทางเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และเทศบาลตำบลโพนทอง เสนอโครงการหน่อยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง จากนั้นเดินทางไปศึกษาดูงานที่ฝายหนองแจ้ง ต.สงเปือย อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ นอกจากนี้นายศักดิ์ดา พร้อมคณะยังได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่อ่างเก็บน้ำห้วยจุมจัง ต.กุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อศึกษาดูงานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาภัยแล้ง และให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ อ.กุฉินารายณ์ โดยมีนายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ นายภูมินทร์ ภูมิเขตร ส.จ.อำเภอกุฉินารายณ์ นางสาววิภาวี บุญเรือง นายกเทศมนตรีตำบลกุดสิม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และประชาชนให้การต้อนรับ
     

นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญทราบว่าสถานการณ์เอลนีโญอาจส่งผลกระทบถึงช่วงเดือนมิถุนายน 2567 ดังนั้น จ.กาฬสินธุ์ได้เตรียมความพร้อมและแจ้งสั่งการให้ส่วนราชการ หน่วยงาน อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ทั้ง 9 ด้าน ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) กำหนด
ทั้งนี้ จากการสำรวจและประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจ.กาพสินธุ์ ห้วงเดือนมีนาคม2567 พบว่า พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ แบ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก จำนวน 10 อำเภอ 15 ตำบล 56 หมู่บ้าน คิดเป็น พื้นที่เสี่ยงปานกลาง จำนวน 13 อำเภอ 55ตำบล 77 หมู่บ้าน ทั้งนี้ได้จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง จ.กาฬสินธุ์ และศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยแล้งขึ้น เพื่อติดตามสถานพื้นที่อย่างใกล้ชิด และให้รายงานสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน พร้อมได้แจ้งหน่วยงานที่เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตามข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
     

ด้านนายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า วันนี้เป็นการลงพื้นที่มาร่วมกันกับทุกภาคส่วน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้งในเรื่องต่างๆ ทั้งการพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำ การปสร้างฝายชะลอน้ำ  เพื่อที่ทางคณะกรรมาธิการฯจะนำข้อมูลไปสู่การผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์กับประชาชนต่อไป