รมว.ยธ.ดันโมเดลบ้านพักใจสตูล โดยใช้ศาสนบำบัดในพื้นที่ภาคใต้คืนคนดีสู่สังคม พร้อมยอมรับการศึกษามีผลต่อการแก้ปัญหาหลังพบสถิติสูง
วันที่ 7 เมษายน 2567 พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะ เดินทางลงตรวจเยี่ยมและรับทราบปัญหายาเสพติด ที่บ้านพักใจ หมู่ที่ 2 ต.บ้านควน อ.เมืองสตูล โดยมีนายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล พร้อมด้วยปลัดจังหวัดสตูล และนายกอบต.บ้านควนและส่วนที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมพบปะมอบนโยบายการแก้ปัญหายาเสพติด ให้กับแกนนำตำบลอาสา 9 ตำบล ก่อนมอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมที่ห้องประชุมเรือนจำจังหวัดสตูล และตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของเรือนจำจังหวัดสตูล
จากนั้นพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดเผยเกี่ยวกับแนวทางภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติด เหมือนอย่างเช่นที่จุด “บ้านพักใจ” ที่เดินทางมาตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ว่า บ้านพักใจ ที่นี่เป็นสถานที่หนึ่งเป็นพักใจจริง ๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคประชาชนที่ลุกขึ้นมาร่วมแก้ปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดด้วยตัวเองจากลูกของเจ้าของสถานที่ เกี่ยวข้องไปติดยาเสพติดและต้องไปบำบัด ฟื้นฟู รักษาในสถานที่อื่น ชุมชนโดยเฉพาะในสตูลหลายแห่งก็ติดยาเสพติด ก็ลุกขึ้นมาเพื่อทำประโยชน์ต่อสังคม จึงมีสถานที่นี้ขึ้นมาเพื่อใช้ในการฟื้นฟู กลุ่มบำบัด เกี่ยวกับผู้ที่ติดยาเสพติด ที่อยากให้กำลังใจเพราะปัญหายาเสพติด เป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ปัญหา ทุกรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาลนี้ ที่ต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเข้าไปอยู่ในสังคม
เมื่อดูแล้วพบว่าสถานที่แห่งนี้ เอกชนได้ช่วยงานราชการ ส่วนราชการของบประมาณเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดถึง 28 หน่วยงาน แต่ที่นี่ไม่ได้ของบประมาณเลย แต่แก้ปัญหายาเสพติดให้เราเห็นสภาพ โดยใช้จุดแข็งคือศาสนบำบัด โดยเฉพาะที่สำคัญในฐานะ รัฐมนตรียุติธรรม อยากจะทีมงานภาคประชาชนที่ลุกขึ้นมาช่วยแก้ปัญหายาเสพติด คือทางภาครัฐทำเป็นเต็มที่แล้ว แต่ภาครัฐไม่ได้นอนในหมู่บ้าน ชุมชน ภาครัฐจะเป็นผู้หวังดี แต่ชุมชนจะเป็นผู้รู้ดี จากนี้สิ่งที่เราต้องทำก็ต้องช่วยส่งเสริมสนับสนุน ช่วยยกระดับคุณภาพโดยเฉพาะสตูลในอนาคตเป็นโอกาสของประเทศไทย คือการสร้างเศรษฐกิจที่ดี การจะมีเศรษฐกิจที่ดีจังหวัดสตูลมีความพร้อมทางด้านการท่องเที่ยว ประมง เกษตร เป็นศูนย์รวมความมั่นคงทางอาหารของโลกอยู่ที่สตูล โดยเฉพาะหลังๆเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกโลก ถ้าสังคมสตูลได้ประชากรมีขีดความสามารถในทศวรรษหน้า หากติดยาเสพติดก็จะเป็นปัญหาต่อการพัฒนามาก ก็จะส่งเสริมสนับสนุนที่พักที่นอนและการปฏิบัติศาสนกิจที่ยังขาด
ช่วงเปลี่ยนผ่านยังไม่พร้อม ไปที่ไหนก็อยากให้มีศูนย์บำบัดเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้เสพหรือผู้ป่วยไม่ไป ก็เหมือนสร้างแล้วเป็นสุสาน เพราะมันอยู่ที่ตัวคุณด้วย วันนี้ โมเดลของบ้านพักใจก็เป็นหนึ่งในโมเดลที่เราคิดว่าจะขยายไปในบริบทของจังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดในภาคใต้ ซึ่งมีชุมชนเป็นพี่น้องมุสลิม แต่ในศูนย์บำบัดที่นี่ไทยพุทธด้วยมุสลิมด้วย ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่มีประชาชนสงสัยเพราะได้คุยกับหมอชลน่านแล้ว ต่อจากนี้จะจับมือกันเดิน ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเราต้องทำมากกว่าพูด พูดในสิ่งที่ดีเราจะปรับปรุงตัว
เราพร้อมสนับสนุน ในภาคประชาชนถ้าเข้ามาช่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงยุติธรรม อย่างน้อยตัวผมสนับสนุนเต็มที่ตอนนี้มีตำบลต่าง ๆ อาสาในพื้นที่ 70 และในวันที่ 20 เดือนหน้าก็จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในภาคกลาง ลพบุรีมีนายกเก่ง โครงสร้างชุมชนในการฟื้นฟูยาเสพติด แต่เขาก้าวไปมากกว่ายาเสพติดเป็นการฟื้นฟูคนให้มีอนาคตที่ด
ผู้สื่อข่าวถามว่าให้เปอร์เซ็นต์การปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลชุดนี้อย่างไรบ้าง? รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม บอกด้วยว่า เรื่องสกัดกั้นเราทำเยอะแล้ว แต่เราอาจต้องก้าวผ่าน ถ้าประชาชนยังมีความหวาดวิตกหรือกังวลกับ ยาบ้า หรือยาเสพติด อันนั้นถือว่ารัฐบาลยังไม่ผ่าน แล้วสิ่งหนึ่งที่ผ่านมาคือเราจะเห็นข่าวอาชญากรรม พอมีข่าวมีผลมาจากยาเสพติดซึ่งคือผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งความจริงผู้ป่วยจิตเวชมีเป็นล้าน ยาเสพติดไม่เยอะ สาเหตุของจิตเวชก็มาหลายแห่ง พอผู้ก่อเหตุจากจิตเวชก็จะโยนให้ยาเสพติด เราก็ต้องทำความเข้าใจ เราก็อย่าไปปฏิเสธว่าไม่ใช่ยาเสพติด หน้าที่เราเราต้องไปรักษาคนที่ป่วยเป็นจิตเวช เพราะจิตเวชต้องรักษาด้วยยา ถ้าขาดยาเคมีไปทำลายสมอง เหมือนคนที่เป็นเบาหวานเป็นความดันอย่าไปรังเกียจเขา เราอาจจะเอาสองอันมาผนวก ต้องเสมอต้นต้นเสมอปลายในการให้ยา บางทีเรามาแยกว่าจิตเวชเพราะยาเสพติด หรือจิตเวชเพราะอื่น ๆ หมอก็ยังแยกไม่ได้ แต่สื่อมวลชนแยกแล้วก็ทำให้ยาเสพติดน่ากลัว
ผู้สื่อถามว่าการทำงานในขณะนี้ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ในการแก้ปัญหายาเสพติด? รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบว่า คิดว่าเราเดินทางมาถูกต้องแล้ว ทุกคนตระหนักถึงยาเสพติดด้วยกัน เราก็ต้องแก้ปัญหามันอาจจะหมักหมมมานานว่าปัญหายาเสพติดส่วนหนึ่ง ที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าเกิดจากคนไม่มีการศึกษา หรือการศึกษาน้อยจะถูกดำเนินคดี เพราะผู้ต้องขังในเรือนจำพบว่ามีการการศึกษาต่ำกว่าภาคบังคับประมาณ 75% นี่แสดงว่าการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยต้องให้เกิน การแก้ปัญหายาเสพติด ก็คือการแก้ปัญหาการศึกษา ทำอย่างไรให้ทุกหมู่บ้านทุกชุมชนได้เรียนจบ ม.6 ทั้งหมด อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้เพราะทุกคนได้รับเงินจากรัฐบาลผ่านกระทรวงศึกษาคนละประมาณ 5 หมื่นกว่าบาท เพื่อให้ได้รับการศึกษาก็จะช่วยลดในการแก้ปัญหายาเสพติด