เมื่อวันที่ 2 เม.ย.2567 อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ชาวต่างชาติทราบข่าวตะวันบีบแตรไล่ขบวนเสด็จ โดยระบุรายละเอียดว่า เมื่อสักครู่เรียก Uber กลับบ้าน วันนี้ไม่ได้ขับรถเข้าเมืองเพราะหาที่จอดรถยาก
น้องอิงลูกชายถามว่า ไม่กลัวเหรอที่เรียก Uber ตอนค่ำๆ
ผมตอบว่า กลัวทำไม
น้องอิงบอกว่า อิงกับม่ามี๋ไม่กล้าเรียก Uber ตอนมืดๆ
ผมตอบว่า ปกติพ่อก็ขับรถเอง โดยเฉพาะมืดๆ ค่ำๆ ไม่เคยนั่ง Uber เหมือนกัน
พอเรียก Uber ปรากฎว่าได้คนขับเป็นคนแอฟริกันผิวดำ เลยนึกถึงการทักเรื่องปลอดภัยของลูกชาย ซึ่งคนดำก็มีภาพพจน์ที่ดูน่ากลัวเป็นปกติ ก็เลยชวนคนขับรถคุย จะได้รู้ว่าเขาเป็นคนยังไง
คนดำคนนี้ขับรถคัมรี่ใหม่เอี่ยม ถามได้ความว่า เขาเป็นเจ้าของภัตตาคารอาหารไนจีเรียอยู่ใน New Town เพิ่งเลิกกิจการมาขับ Uber ได้ 3 วันเท่านั้น เพราะกิจการไม่ค่อยดี นอกจากมาขับ Uber แล้วยังทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนด้วย
พอพูดถึงเมืองจีน เขาเลยถามผมว่า เป็นคนจีนรึเปล่า
ผมตอบว่า ผมเป็นคนไทย
เขาก็พูดขึ้นทันทีว่า I love Thailand ฉันรักเมืองไทย ผู้หญิงไทยสวย
ผมเลยแซวว่า ตกลงรักเมืองไทยหรือสาวไทย
เขาตอบว่า ทั้งคู่ แล้วหัวเราะใหญ่
ผมถามว่า เคยไปที่ไหนของเมืองไทย
เขาตอบว่า บางกอก
เขาเรียกกรุงเทพว่า บางกอก แบบคนไทยชัดๆ เลย โดยไม่ได้เรียกว่า Bangkok (ผมเจอคนต่างชาติที่เรียกกรุงเทพฯ ว่าบางกอก อยู่เนืองๆ )
แล้วเขาก็พูดขึ้นว่า
ฉันเห็นข่าว ที่มีเด็กผู้หญิงบีบแตรไล่ขบวนเสด็จของ King (เขาเข้าใจผิดไปนิดนึงว่า ขบวนเสด็จของกรมสมเด็จพระเทพฯ เป็นขบวนเสด็จของ King)
ผมเลยพูดว่า คุณรู้ใช่มั้ยว่า ทุกประเทศในโลก ก็มีการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษสำหรับประมุขของชาติหรือบุคคลสำคัญ เช่น บุคคลในราชวงศ์
เขาตอบว่า ใช่ เป็นแบบนั้น
แล้วเขาก็พูดขึ้นว่า เด็กรุ่นใหม่พวกนี้ โดนชาติตะวันตกล้างสมองละมั้ง
เขายังพูดต่อไปว่า…
ทุกประเทศต่างมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของตนเอง เราต้องยึดมั่นในวัฒนธรรมของเรา ไม่ใช่เลียนแบบฝรั่งไปเสียทุกอย่าง
ฝรั่งพวกนั้นคิดแต่จะแผ่อิทธิพลไปแทรกแซงชาติต่างๆ เราไม่ควรหลงกล
โอโห้ พี่ไนจีเรีย อดีตเจ้าของภัตตาคารหมาดๆ และกำลังเริ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ที่อาศัยขับ Uber เป็นอาชีพเสริมในช่วงที่กำลังตั้งหลักใหม่ พูดถูกใจผมจริงๆ
พี่ไนจีเรีย พูดย้ำๆ อยู่หลายครั้ง เรื่องการที่พวกเรามีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เราต้องยึดมั่นเอาไว้ อย่าหลงทางไปกับฝรั่งจนลืมความเป็นตัวเรา
ผมเคยมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นคนดำจากประเทศแอฟริกาใต้หลายคนมาก่อน คนดำในแอฟริกามีวัฒนธรรมคล้ายๆ คนเอเชีย คล้ายๆ คนไทยหลายอย่าง เช่น การมีนิสัยสนุกสนานและอ่อนโยน มีวัฒนธรรมการเคารพนับถือผู้ใหญ่ เพื่อนผิวดำแอฟริกัน เรียกผมว่า กูรู ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ใหญ่ที่เขานับถือ
ส่วนคนดำที่เราเข้าใจว่าเป็นคนอันตรายนั้น ไม่ใช่คนดำจากแอฟริกา แต่เป็นคนอเมริกันแอฟริกัน คือคนผิวดำที่เป็นคนอเมริกัน ซึ่งในอเมริกาจะมีคนดำเป็นคนอันตรายที่มักก่อเหตุร้าย
ตอนที่รถวิ่งมาถึงบ้านแล้ว พี่ไนจีเรียก็ยังคุยไม่จบ พอลงรถแล้วผมเลยกดเงินให้ทิปไปหลายตังค์ด้วยความประทับใจในทัศนคติดีๆ ที่มีต่อเมืองไทย รวมทั้งคำพูดที่ว่า คนไทยควรรักษาความเป็นไทยเอาไว้ (ที่ออสเตรเลีย เราจ่ายเงินค่าสินค้าทุกอย่าง รวมทั้งค่ารถเมล์ รถเท็กซี่หรือ Uber ได้จากมือถือ จากบัตรเครดิตหรือเดบิตของธนาคาร ที่ลิงค์ผ่าน Apple Pay หรือ Google pay)
เล่าสู่กันฟัง ว่าขนาดชาวต่างชาติยังไม่เห็นด้วยกับการกระทำของตะวันต่อขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นคำที่เขาพูดซ้ำๆ อยู่หลายครั้ง
คนแอฟริกันทั้งหลายเข้าใจเรื่องพวกนี้ดี และมักแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อคนที่โดนกระทำจากฝรั่งผิวขาว เพราะชาติของพวกเขาถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือการทำตัวเป็นผู้ร้ายในคราบผู้ดีของฝรั่งผิวขาวมาก่อนอย่างยาวนาน
เริ่มต้นจากความไม่ไว้ใจ กลายเป็นความประทับใจในที่สุด