นับว่าเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับ คนรักสัตว์เป็นอย่างมาก เมื่อ ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ของ 2 ลูกหมีควาย ที่ถูกลักลอบนำข้ามชายแดนจากเมียนมาร์ มายังประเทศไทย โดยระบุข้อความว่า....
#สวัสดีวันหมีโลก... 2 ลูกหมีควาย "กองทัพ" กับ "น้ำเมย" เข้าบ้านใหม่ ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
"กองทัพ" กับ "น้ำเมย" เป็นลูกหมีควาย สัตว์ป่าของกลาง เพศผู้ อายุประมาณ 4-5 เดือน ที่ถูกลักลอบนำข้ามชายแดนจากเมียนมาร์ มายังประเทศไทย โดยเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์ป่าแม่สอด และเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู ร้อย ร.431 ได้ช่วยเหลือไว้ ที่บริเวณช่องทางธรรมชาติติดแม่น้ำเมย หมู่ที่ 4 บ้านวังแก้ว ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ขอบคุณคลิป : ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
#สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่12นครสวรรค์
#สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่14ตาก
สำหรับ หมีควาย หรือ หมีดำเอเชีย (อังกฤษ: Asian black bear, Asiatic black bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus thibetanus) จัดเป็นหมี 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งคือ หมีหมา (H. malayanus))
ลักษณะ
หมีควายมีลำตัวอ้วนใหญ่ หัวมีขนาดใหญ่ ตาเล็กและหูกลม ขาอ้วนล่ำและหนา หางสั้น มีนิ้วเท้ายาวทั้งหมดห้านิ้ว กรงเล็บสั้น ขนตามลำตัวหยาบมีสีดำ มีลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณหน้าอกเป็นรูปตัว V มีสีขาว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ ความยาวลำตัวและหัว 120–150 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5–10 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 150–160 กิโลกรัม และอาจหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม มีลักษณะคล้ายกับหมีดำ (U. americanus) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ
หมีควายมีสัณฐานวิทยาคล้ายกับหมีในยุคก่อนประวัติศาสตร์บางส่วน นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาจจะเป็นบรรพบุรุษของหมีชนิดต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ยกเว้นหมีแพนด้า (Ailuropoda melanoleuca) และหมีแว่น (Tremarctos ornatus)
แหล่งอาศัย
หมีควาย มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวางพบตั้งแต่ ภาคตะวันออกของปากีสถาน, ภาคเหนือของอินเดีย, ทิเบต, เนปาล, สิกขิม, ภูฐาน, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, คาบสมุทรเกาหลี, ญี่ปุ่น และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย มักเลือกอาศัยอยู่ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีอากาศเย็น เช่น ป่าบนภูเขาหินปูน
ข้อมูล :วิกิพีเดีย
ขอบคุณข้อมูล ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช