สตช.เตือนภัย SMS หลอกลวง ยังระบาดหนัก อ้างเป็น การไฟฟ้า ขนส่ง ธนาคาร กรมบัญชีกลาง หน่วยงานราชการ หลอกให้กดลิงก์ ประชาชนยังถูกหลอกจำนวนมาก


เนื่องด้วยได้เกิดเหตุคนร้ายส่ง SMS หลอกลวงอ้างเป็นหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กรมที่ดิน, กรมบัญชีกลาง, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , การบินไทย, การไฟฟ้า, ธนาคาร, กระทรวงยุติธรรม, และบริษัทขนส่งพัสดุ ไปยังประชาชนทำให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจพบว่าคนร้ายส่ง SMS 

โดยมีตัวอย่าง SMS หลอกลวงที่พบ ดังนี้

1.หลอกลวงเป็นการไฟฟ้า (PEA) เช่น
หลอกคืนค่ามิเตอร์ไฟฟ้า

2.แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่งพัสดุ ส่ง SMS หลอกลวงว่า พัสดุจัดส่งไม่สำเร็จหรือให้กดรับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น
หลอกว่าพัสดุจัดส่งไม่สำเร็จ หลอกให้กดรับสิทธิพิเศษ

3.แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือให้กดรับสิทธิพิเศษ
หลอกให้กดรับสิทธิพิเศษโดยส่ง SMS มาอยู่ในกล่องข้อความเดียวกันกับ SMS จริง
 
4.แอบอ้างเป็นธนาคาร แจ้งว่ามีผู้เข้าใช้งานบัญชี หรือได้รับส่วนลดและสิทธิพิเศษ ให้แก้ไข Update ข้อมูล
หลอกว่ามีผู้เข้าถึงบัญชีของเหยื่อโดยส่ง SMS มาอยู่ในกล่องข้อความเดียวกันกับ SMS จริง ชหลอกแจ้งเตือนยอดเงินเข้า-ออก หลอกให้ขอสินเชื่อโดยส่ง SMS มาอยู่ในกล่องข้อความเดียวกันกับ SMS จริง หลอกว่ามีผู้เข้าถึงบัญชีของเหยื่อโดยส่ง SMS มาอยู่ในกล่องข้อความเดียวกันกับ SMS จริง
 

5.SMS หลอกลวงในรูปแบบอื่นๆ เช่น สายการบิน, เงินกู้หรือเว็ปไซต์การพนัน
หลอกเป็น Lion Air หลอกว่าเหยื่อเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ หลอกเป็นเว็ปไซต์การพนัน
 
 
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส.ตร. และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศปอส.ตร. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจตกเป็นเหยื่อและได้รับความเสียหาย จึงขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนว่าอย่าได้หลงเชื่อข้อความ SMS ต่างๆที่ได้รับ โดยมีข้อสังเกตและวิธีป้องกัน ดังนี้

จุดสังเกต
1.ลิงก์ที่คนร้ายส่งมามักจะเป็น ลิงก์ที่ถูกย่อมา เช่น https://cutt.ly/xx หรือ https://bit.ly/cvds เป็นต้น
 2.หากเป็นลิงก์ Website ของหน่วยงานที่ถูกแอบอ้าง มักจะสะกดชื่อหน่วยงานผิด
3.Domain ของ Website ปลอมมักจะจดบน Domain Free หรือ Domain ที่ไม่น่าเชื่อถือเช่น .cc
4.SMS ปลอมในบางครั้งคนร้ายจะใช้เครื่องมือพิเศษเพื่อให้ส่ง SMS ปลอมเข้ามาอยู่ในกล่องข้อความของ SMS จริงได้
5.ปัจจุบันธนาคารยกเลิกการส่งลิงก์ผ่าน SMS ไปหาลูกค้าของธนาคารแล้ว รวมไปถึงอีกหลายๆหน่วยงานก็เริ่มดำเนินการตามแนวทางนี้แล้วเช่นกัน
6.เมื่อกดลิงก์เข้าไปจะเป็น Line หน่วยงานที่คนร้ายแอบอ้าง เมื่อเหยื่อเพิ่มเพื่อนคนร้ายในไลน์ คนร้ายจะโทรมาพูดคุยโน้มน้าวเหยื่อและส่งลิงก์ให้ติดตั้ง Application ควบคุมโทรศัพท์มือถือ ให้ติดตั้งในเครื่องเหยื่อ  พร้อมให้ตั้งรหัสผ่าน 2 ชุดไม่ซ้ำกัน ซึ่งส่วนใหญ่เหยื่อมักจะเอารหัสเดิมๆที่เคยใช้ใน Application ธนาคารใส่ไปด้วย

วิธีป้องกัน
1.ไม่กดลิงก์ใดๆที่ส่งมาใน SMS
2.หากมีข้อสงสัยให้หาช่องทางติดต่อแบบทางการของหน่วยงานนั้นๆเพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริงของ SMS ที่ได้รับ
3.พี่น้องประชาชนท่านใดที่ได้รับ SMS แล้วน่าสงสัยว่าน่าจะหลอกลวง โปรดอย่ากดลิงก์ใน SMS ดังกล่าว และส่งข้อมูลดังกล่าวโดย Capture หน้าจอ SMS ที่ท่านได้รับให้ครบถ้วนพร้อมระบุ วันที่ และเวลาที่ได้รับ SMS รวมไปถึงเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ส่ง SMS มาให้ท่าน แจ้งเบาะแสผ่านทางช่องทาง www.thaipoliceonline.go.th (ช่องทางแจ้งเบาะแส) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

สำหรับช่องทางรับรู้ข่าวสารเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้ผ่านทาง www.เตือนภัยออนไลน์.com หมายเลขโทรศัพท์สายด่วน AOC 1441 กรณีถูกคนร้ายหลอกลวงแจ้งความตำรวจผ่านระบบกรณีถูกคนร้ายหลอกลวงแจ้งความตำรวจผ่านระบบ www.thaipoliceonline.go.th