เมื่อวันที่ 15 มี.ค.67 นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้เดินทางมาเป็นประธาน"MOI Waste Bank Week-มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น1ธนาคารขยะ"ระดับจังหวัดณบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลณรงค์อ.ศรีณรงค์จ.สุรินทร์โดยมีนายกิติชัย เกตุวงษา ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ นายบุญเลี้ยง เรียมทองนายอำเภอศรีณรงค์หัวหน้าส่วนราชการท้องถิ่นอำเภอกำนันผู้ใหญ่บ้านและท้องถิ่นอำเภอศรีณรงค์

นายหนึ่ง มะโนศรีนายกอบต.ณรงค์กล่าวรายงานว่าโครงการธนาคารขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลณรงค์เดิมมีชื่อว่าโครงการธนาคารขยะเพื่อพัฒนาสังคมพัฒนาเศรษฐกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตำบลณรงค์จัดตั้งเมื่อปีพ.ศ.2559และดำเนินการมาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันครอบคลุมทั้ง13หมู่บ้าน6โรงเรียนรวมถึงวัดในเขตพื้นที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1 เพื่อให้ความรู้ในการคัดแยกประเภทขนะมุลฝอย กับชุมชนหมู่บ้าน สถานศึกษา
2 เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้มีการคัดแยกขยะและกระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ขยะรีไซรเคิลขยะอันตรายขยะทั่วไปเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน
3 เพื่อให้ชุมชนมีการคัดแยกขยะจากต้นทางเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนต่อไป
4 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน
5 เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเรือนในชุมชน
6 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพร้อมส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7 เพื่อปลูกจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ ภายในชุมชนและครัวเรือน"ภายใต้กิจกรรม3ข"คือ1ขยะสวยช่วยพัฒนารายได้ 2 ขยะออมทรัพย์ 3 ขยะกองทุนฌาปนกิจดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารเงินกองทุนธนาคารขยะโดยมีการจัดระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารขยะที่ชัดเจนและมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องออกดำเนินการรับซื้อณหมู่บ้านหมู่บ้านละ1ครั้งต่อเดือน

ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 1,800 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 91.23 มีเงินที่สมาชิกขายและฝากไว้จำนวน 516,999.30 บาท กรณีบุคคลในครัวเรือนเสียชีวิตธนาคารขยะมอบเงินฌาปนกิจจำนวน 15,570 บาท ซึ่งหักจากบัญชีขายฝากแต่ละครัวเรือนครัวเรือนละ10บาทเพื่อช่วยเหลือสมาชิกด้วยกัน และยังคงมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะให้มากที่สุดจนทำให้บริปริมาณขยะเหลือน้อยที่สุดภายใต้หลัก๓Rคือใช้น้อยใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในเขตพื้นที่สถานศึกษาองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดีพร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นหรือหน่วยงานต่างๆที่สนใจเพื่อใช้ประโยชน์ต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมต่อไป

ทางด้านนายพิจิตร บุญทันผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เผยว่าจากคำกล่าวรายงานทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการจัดงานในครั้งนี้ธนาคารขยะคือรูปแบบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีการคัดแยกขยะรีไซรเคิลโดยใช้หลักการของธนาคารมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สมาชิกนำขยะรีไซรเคิลมาขายที่ธนาคารโดยมีคณะทำงานธนาคารขยะหมู่บ้านชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกมาดำเนินการคัดแยกและชั่งน้ำหนักคำนวณเป็นมูลค่าและบันทึกข้อมูลการขายลงสมุดคู่ฝากโดยใช้ราคาที่คณะทำงานธนาคารขยะหมู่บ้านชุมชนได้ประสานงานกับผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซรเคิลเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคารายได้จากการดำเนินการธนาคารขยะจะนำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการและใช้ในการส่งเสริมกิจกรรมสวัสดิการของสมาชิกธนาคารขยะ

จังหวัดสุรินทร์ได้นำแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะของกระทรวงมหาดไทยทาสู่การปฏิบัติโดยมีการบูรณาการการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดการขยะของจังหวัดสุรินทร์"สุรินทร์รุ่งเรืองเมืองสะอาด"ที่มีเป้าหมายการดำเนินการทั้งระบบครบวงจรและครอบคลุมพื้นที่ที่ก่อให้เกิดขยะทุกพื้นที่ตั้งแต่ต้นทางกลางทางปลายทาง
และมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนภาคศาสนาภาคการศึกษาภาคประชาสังคมภาคสื่อสารมวลชนและภาคประชาชน

สำหรับการบริหารจัดการขยะรีไซรเคิลได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้มีการคัดแยกขยะรีไซรเคิลในครัวเรือนและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้หลักการ๓ช(๓Rs)คือใช้น้อย(Reduce)ใช้ซ้ำ(Reuse)และนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle)พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความรับรู้ควาข้าใจและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนในทุกพื้นที่มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซรเคิลหรือไปขายเพื่อให้มีรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและพัฒนาสู่การจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อเป้นสถานที่รวบรวมและรับซื้อขยะรีไซรเคิลจากประชาชนอนัเป้นการสร้างมุลค่าเพิ่มให้กับชุมชนและนำรายได้ไปจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่างๆซึ่งจังหวัดสุรินทร์โดยเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์จำนวน172แห่งได้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารขยะตามเป้าหมายของกระทรวงมหาดไทยและของจังหวัดสุรินทร์ครบทุกแห่งแล้วเมื่อวันที่29กุมภาพันธ์2567ที่ผ่านมา

ทางจังหวัดสุรินทร์เองขอขอบคุณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่ช่วยกันขับเคลื่อนจนสามารถจัดตั้งธนาคารขยะครบทุกแห่งตามเป้าหมายและขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอศรีณรงค์องค์การบริหารส่วนตำบลณรงค์และองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นกำนันผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ช่วยกันจัดงานในครั้งนี้และผมขอประกาศความสำเร็จที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์จำนวน172แห่งสามารถจัดตั้งธนาคารขยะครบทุกแห่งสามารถจัดตั้งธนาคารขยะครบทุกแห่ง"MOI Waste Bank Week-มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ1องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น1ธนาคารขยะ"ระดับจังหวังหวัด